1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 24 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 54,828 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 702,389 ตัน คิดเป็นร้อยละ 28.10 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ราคาข้าวเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีน้อยเพราะโรงสีเริ่มชะลอการจำหน่ายในขณะที่ผู้ส่งออกมีความต้องการข้าวเพื่อการส่งมอบให้ทันตามกำหนด สำหรับข้าวหอมมะลิราคาปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดชะลอตัว
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 11 กรกฎาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.454 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.388 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.08 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,326 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,419 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,304 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,063 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,301 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,112 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,475 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,050 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 976 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,364 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,005 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,531 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,167 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 817 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,092 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 815 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,192 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 703 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23 ,311 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 715 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 23,855 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 544 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,650 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,727 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 77 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1599 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ฟิลิปปินส์อนุมัติ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ อุดหนุนปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้อนุมัติเงินประมาณ 1 พันล้านเปโซ (22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่ออุดหนุนปุ๋ยช่วยชาวนาเพื่อหวังเพิ่มผลผลิตข้าวสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ ซึ่งการอุดหนุนปุ๋ยดังกล่าวเป็นมาตรการของกระทรวงเกษตรที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่จะผลิตข้าวเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 98 โดยงบประมาณ 947 ล้านเปโซจากงบประมาณทั้งหมด 1.29 พันล้านเปโซที่ได้จัดสรรสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ได้ถูกแจกจ่ายให้กับชาวนาเพื่อนำไปหาซื้อปุ๋ยเตรียมเพาะปลูกแล้ว ทั้งนี้ เป้าหมายการผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศอาจล่าช้าออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปี 2553 ไปเป็นปี 2556 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับราคาปุ๋ยและน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปีนี้ราคาปุ๋ยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับปีนี้ฟิลิปปินส์ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวว่าจะมีประมาณ 17.3 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิตเพียง 16.2 ล้านตัน ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งปีนี้ได้ทำสัญญานำเข้าข้าวแล้ว 2.3 ล้านตัน จากโควตาการนำเข้าที่ตั้งไว้ 2.7 ล้านตัน
2.2 สปป. ลาวก่อตั้งธนาคารข้าวแห่งชาติ
รัฐบาล สปป. ลาวต้องการก่อตั้งธนาคารข้าวแห่งชาติซึ่งจะสามารถเก็บสำรองข้าวได้ 60,000 ตัน เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ โดยรัฐบาลจะขอความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานและองค์กรด้านความมั่นคงในท้องถิ่นให้มีการเก็บสำรองข้าวด้วย โดยเผยว่ามาตรการดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นการปิดกั้นการส่งออกข้าว แต่มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าว ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศในขณะนี้ นอกจากนี้ทางการ สปป. ลาวจะกระตุ้นชาวนาให้มีการสำรองข้าวไว้ยามเกิดภัยธรรมชาติหรือเกิดภาวะการขาดแคลนข้าวในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวได้ทันท่วงที ในขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรม และพาณิชย์ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคได้ร่วมกันเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการข้าวในแต่ละพื้นที่ โดยให้องค์กรในท้องถิ่นดำเนินการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตข้าวในจังหวัดของพวกเขาเองด้วย
2.3 เวียดนามเก็บภาษีส่งออกข้าว
เวียดนามได้ประกาศมาตรการจัดเก็บภาษีส่งออกข้าวเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นี้ โดยจัดเก็บในอัตราที่ต่างกันตามราคาส่งออก คือ 1) ข้าวที่ราคาส่งออกอยู่ระหว่างตันละ 600-700 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 30 เหรียญสหรัฐฯ 2) ข้าวที่ราคาส่งออกอยู่ระหว่างตันละ 701-800 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 37 เหรียญสหรัฐฯ และ 3) ข้าวที่ราคาส่งออกตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 179 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดภาษีส่งออกปุ๋ยที่อัตรา 4,000-5,000 ดองต่อตันด้วย อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามสัปดาห์นี้ได้ปรับลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยสัปดาห์นี้พ่อค้าในเมืองโฮจิมินห์ ซิตี้ (Ho Chi Minh city) และ เขตลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เสนอราคาขายข้าวขาวคุณภาพดี 5% ที่ตันละ 725 เหรียญสหรัฐ ลดลงจาก 750 เหรียญสหรัฐของสัปดาห์ก่อน แต่ทั้งนี้ ไม่ได้มีการประกาศราคาขายข้าว 25 % เนื่องจากพ่อค้าส่วนใหญ่ยังคงรอความชัดเจนจากกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเก็บภาษีส่งออกข้าวดังกล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 24 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 54,828 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 702,389 ตัน คิดเป็นร้อยละ 28.10 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ราคาข้าวเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีน้อยเพราะโรงสีเริ่มชะลอการจำหน่ายในขณะที่ผู้ส่งออกมีความต้องการข้าวเพื่อการส่งมอบให้ทันตามกำหนด สำหรับข้าวหอมมะลิราคาปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดชะลอตัว
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 11 กรกฎาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.454 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.388 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.08 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,326 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,419 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,304 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,063 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,301 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,112 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,475 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,050 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 976 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,364 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,005 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,531 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,167 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 817 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,092 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 815 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,192 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 703 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23 ,311 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 715 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 23,855 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 544 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,650 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,727 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 77 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1599 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ฟิลิปปินส์อนุมัติ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ อุดหนุนปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้อนุมัติเงินประมาณ 1 พันล้านเปโซ (22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่ออุดหนุนปุ๋ยช่วยชาวนาเพื่อหวังเพิ่มผลผลิตข้าวสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ ซึ่งการอุดหนุนปุ๋ยดังกล่าวเป็นมาตรการของกระทรวงเกษตรที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่จะผลิตข้าวเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 98 โดยงบประมาณ 947 ล้านเปโซจากงบประมาณทั้งหมด 1.29 พันล้านเปโซที่ได้จัดสรรสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ได้ถูกแจกจ่ายให้กับชาวนาเพื่อนำไปหาซื้อปุ๋ยเตรียมเพาะปลูกแล้ว ทั้งนี้ เป้าหมายการผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศอาจล่าช้าออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปี 2553 ไปเป็นปี 2556 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับราคาปุ๋ยและน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปีนี้ราคาปุ๋ยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับปีนี้ฟิลิปปินส์ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวว่าจะมีประมาณ 17.3 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิตเพียง 16.2 ล้านตัน ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งปีนี้ได้ทำสัญญานำเข้าข้าวแล้ว 2.3 ล้านตัน จากโควตาการนำเข้าที่ตั้งไว้ 2.7 ล้านตัน
2.2 สปป. ลาวก่อตั้งธนาคารข้าวแห่งชาติ
รัฐบาล สปป. ลาวต้องการก่อตั้งธนาคารข้าวแห่งชาติซึ่งจะสามารถเก็บสำรองข้าวได้ 60,000 ตัน เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ โดยรัฐบาลจะขอความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานและองค์กรด้านความมั่นคงในท้องถิ่นให้มีการเก็บสำรองข้าวด้วย โดยเผยว่ามาตรการดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นการปิดกั้นการส่งออกข้าว แต่มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าว ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศในขณะนี้ นอกจากนี้ทางการ สปป. ลาวจะกระตุ้นชาวนาให้มีการสำรองข้าวไว้ยามเกิดภัยธรรมชาติหรือเกิดภาวะการขาดแคลนข้าวในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวได้ทันท่วงที ในขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรม และพาณิชย์ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคได้ร่วมกันเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการข้าวในแต่ละพื้นที่ โดยให้องค์กรในท้องถิ่นดำเนินการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตข้าวในจังหวัดของพวกเขาเองด้วย
2.3 เวียดนามเก็บภาษีส่งออกข้าว
เวียดนามได้ประกาศมาตรการจัดเก็บภาษีส่งออกข้าวเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นี้ โดยจัดเก็บในอัตราที่ต่างกันตามราคาส่งออก คือ 1) ข้าวที่ราคาส่งออกอยู่ระหว่างตันละ 600-700 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 30 เหรียญสหรัฐฯ 2) ข้าวที่ราคาส่งออกอยู่ระหว่างตันละ 701-800 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 37 เหรียญสหรัฐฯ และ 3) ข้าวที่ราคาส่งออกตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐ จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราตันละ 179 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดภาษีส่งออกปุ๋ยที่อัตรา 4,000-5,000 ดองต่อตันด้วย อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามสัปดาห์นี้ได้ปรับลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยสัปดาห์นี้พ่อค้าในเมืองโฮจิมินห์ ซิตี้ (Ho Chi Minh city) และ เขตลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เสนอราคาขายข้าวขาวคุณภาพดี 5% ที่ตันละ 725 เหรียญสหรัฐ ลดลงจาก 750 เหรียญสหรัฐของสัปดาห์ก่อน แต่ทั้งนี้ ไม่ได้มีการประกาศราคาขายข้าว 25 % เนื่องจากพ่อค้าส่วนใหญ่ยังคงรอความชัดเจนจากกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเก็บภาษีส่งออกข้าวดังกล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2551--
-พห-