1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ผู้เลี้ยงกุ้งขอใช้ดีเซลรัสเซียเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยเปิดเผยว่า ตามที่สมาคมได้ยื่นเรื่องขอสนับสนุนน้ำมันเขียวต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้งนั้น ล่าสุดได้หารือกับผู้อำนวยการสถาบันกุ้งไทยแล้วว่าจะแบ่งโควตาน้ำมันเขียวแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างไรให้รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการนำไปใช้ผิดประเภท ส่วนเรื่องการจัดสรรจำนวนขึ้นอยู่กับกระทรวงพลังงานที่จะเป็นผู้ดูแล ส่วนที่รัฐบาลมีแผนจะนำเข้าน้ำมันดีเซลรัสเซียนั้น ทางสมาคมก็ได้มีการยื่นเรื่องถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อขอจัดสรรน้ำมันดีเซลรัสเซียมาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วย เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าน้ำมันดีเซลในท้องตลาดจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งลงได้มาก
นายบรรจงกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ไทยชนะคดีการฟ้องร้องสหรัฐฯ ทำให้ผู้ส่งออกกุ้งของไทยไม่ต้องเสียภาษี AD นั้น ประโยชน์โดยตรงคงเป็นของผู้ส่งออก ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือเมื่อผู้ส่งออกไม่ต้องเสียภาษีก็จะทำให้ได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น การรับซื้อกุ้งในประเทศก็น่าจะมีราคาดีขึ้น แต่ข้อเสียคือถ้าสหรัฐฯ เห็นว่าผู้ส่งออกไทยไม่ต้องเสียภาษีในการส่งออก ก็อาจซื้อกุ้งไทยในราคาที่ต่ำลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยซื้อกุ้งภายในประเทศจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในราคาที่ต่ำลงไปแน่นอน กรณีนี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกได้กำไรเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วยหรือไม่ เพราะขณะนี้ผู้ส่งออก เป็นฝ่ายกำหนดราคากุ้งเองอยู่แล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 — 30 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 910.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 496.39 ตัน สัตว์น้ำจืด 414.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.31 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 17.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.83 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.07 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 128.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.14 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19 - 25 ก.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2551--
.พห-
การผลิต
ผู้เลี้ยงกุ้งขอใช้ดีเซลรัสเซียเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยเปิดเผยว่า ตามที่สมาคมได้ยื่นเรื่องขอสนับสนุนน้ำมันเขียวต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้งนั้น ล่าสุดได้หารือกับผู้อำนวยการสถาบันกุ้งไทยแล้วว่าจะแบ่งโควตาน้ำมันเขียวแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างไรให้รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการนำไปใช้ผิดประเภท ส่วนเรื่องการจัดสรรจำนวนขึ้นอยู่กับกระทรวงพลังงานที่จะเป็นผู้ดูแล ส่วนที่รัฐบาลมีแผนจะนำเข้าน้ำมันดีเซลรัสเซียนั้น ทางสมาคมก็ได้มีการยื่นเรื่องถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อขอจัดสรรน้ำมันดีเซลรัสเซียมาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วย เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าน้ำมันดีเซลในท้องตลาดจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งลงได้มาก
นายบรรจงกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ไทยชนะคดีการฟ้องร้องสหรัฐฯ ทำให้ผู้ส่งออกกุ้งของไทยไม่ต้องเสียภาษี AD นั้น ประโยชน์โดยตรงคงเป็นของผู้ส่งออก ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือเมื่อผู้ส่งออกไม่ต้องเสียภาษีก็จะทำให้ได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น การรับซื้อกุ้งในประเทศก็น่าจะมีราคาดีขึ้น แต่ข้อเสียคือถ้าสหรัฐฯ เห็นว่าผู้ส่งออกไทยไม่ต้องเสียภาษีในการส่งออก ก็อาจซื้อกุ้งไทยในราคาที่ต่ำลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยซื้อกุ้งภายในประเทศจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในราคาที่ต่ำลงไปแน่นอน กรณีนี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกได้กำไรเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งด้วยหรือไม่ เพราะขณะนี้ผู้ส่งออก เป็นฝ่ายกำหนดราคากุ้งเองอยู่แล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 — 30 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 910.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 496.39 ตัน สัตว์น้ำจืด 414.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.31 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 17.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.83 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.07 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 128.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.14 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19 - 25 ก.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2551--
.พห-