สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย ปลาดิบยังต้องการผักจากประเทศไทย ย้ำอนาคตจะมีนำเข้ามากขึ้นหากไทยเข้มงวด สามารถควบคุมคุณภาพและแก้ไขปัญหาสารตกค้างได้ ชี้ผักไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งเช่นฟิลิปปินส์ เวียดนาม และจีน
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจและรวบรวมข้อมูลผักส่งออก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว และข้าวโพดฝักอ่อน ในประเทศญี่ปุ่น โดยทำการสำรวจตลาดขายส่งผู้นำเข้า พ่อค้าและผู้บริโภคในโตเกียว โอซากา ฮิโรชิมา และฟุกุโอกะ ตลอดจนดูงานด้านกักกันพืชที่สนามบินนาริตะ รวมทั้งระบบ Logistics จากไทยไปยังผู้บริโภคในญี่ปุ่น พบว่า ผักจากประเทศไทยยังคงเป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น และจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นหากไทยสามารถควบคุมคุณภาพ รวมทั้งแก้ไขปัญหาสารตกค้าง โรคและแมลงได้ โดยราคาขายปลีกผักในญี่ปุ่นอยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือหน่อไม้ฝรั่งเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 815 บาท ข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 650 บาท และกระเจี๊ยบเขียวเฉลี่ยกิโลกรัมละ 630 บาท
โดยบริษัท Tokyo Seika Trading ซึ่งเป็นบริษัทค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แจ้งให้ทราบว่าปัจจุบันไม่มีการนำเข้าผักทุกชนิดจากประเทศไทย เพราะปัญหาเรื่องความปลอดภัยของสินค้า แต่ในอนาคตถ้าประเทศไทยสามารถรับรองความปลอดภัยของสินค้า ก็อาจจะนำเข้าได้ อย่างไรก็ตามจากการสอบถามบริษัท Fukuoka Daido Seika Trading ที่จังหวัดฟุกุโอกะ เป็นบริษัทค้าส่งอันดับ 10 ของญี่ปุ่น พบว่าปัจจุบันนำเข้าผักและผลไม้จากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยในปี 2550 นำเข้าทั้งสิ้น 140 ตัน ผักที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่ หอมหัวใหญ่ ประมาณ 70 ตัน หน่อไม้ฝรั่ง 30 ตัน ข้าวโพดฝักอ่อน 20 ตัน และกระเจี๊ยบเขียว 13 ตัน
สำหรับระบบ Logistics ในการขนส่งผักสดจากแหล่งผลิตประเทศไทยไปยังผู้บริโภคปลายทาง ใช้การขนส่งทางอากาศทั้งหมด ซึ่งประสบปัญหาขาดการดูแลที่ดีระหว่างรอการขนส่ง เช่น ขาดห้องเย็นที่สนามบิน ประสิทธิภาพการดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้คุณภาพผักเมื่อถึงประเทศญี่ปุ่นลดต่ำลง ซึ่งผู้นำเข้าเห็นว่าคุณภาพผักจากไทยจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลต้นทาง เพราะเมื่อสินค้ามาถึงญี่ปุ่นแล้วจะมีระบบ Logistics ที่ดีทำให้คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้นำเข้าญี่ปุ่นได้เน้นและให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของผักนำเข้าค่อนข้างมาก และต้องการนำเข้าผักจากเอเชียมากกว่ายุโรป โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้ตรวจพบสารเคมีในอาหารและผักที่นำเข้าจากจีนและฟิลิปปินส์ ดังนั้นหากไทยสามารถควบคุมคุณภาพผลผลิต และพัฒนาระบบ Logistics ในประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบแปลงผลผลิตและออกใบรับรอง GAP ให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง ก็จะเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดผักในญี่ปุ่น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจและรวบรวมข้อมูลผักส่งออก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว และข้าวโพดฝักอ่อน ในประเทศญี่ปุ่น โดยทำการสำรวจตลาดขายส่งผู้นำเข้า พ่อค้าและผู้บริโภคในโตเกียว โอซากา ฮิโรชิมา และฟุกุโอกะ ตลอดจนดูงานด้านกักกันพืชที่สนามบินนาริตะ รวมทั้งระบบ Logistics จากไทยไปยังผู้บริโภคในญี่ปุ่น พบว่า ผักจากประเทศไทยยังคงเป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น และจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นหากไทยสามารถควบคุมคุณภาพ รวมทั้งแก้ไขปัญหาสารตกค้าง โรคและแมลงได้ โดยราคาขายปลีกผักในญี่ปุ่นอยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือหน่อไม้ฝรั่งเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 815 บาท ข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 650 บาท และกระเจี๊ยบเขียวเฉลี่ยกิโลกรัมละ 630 บาท
โดยบริษัท Tokyo Seika Trading ซึ่งเป็นบริษัทค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แจ้งให้ทราบว่าปัจจุบันไม่มีการนำเข้าผักทุกชนิดจากประเทศไทย เพราะปัญหาเรื่องความปลอดภัยของสินค้า แต่ในอนาคตถ้าประเทศไทยสามารถรับรองความปลอดภัยของสินค้า ก็อาจจะนำเข้าได้ อย่างไรก็ตามจากการสอบถามบริษัท Fukuoka Daido Seika Trading ที่จังหวัดฟุกุโอกะ เป็นบริษัทค้าส่งอันดับ 10 ของญี่ปุ่น พบว่าปัจจุบันนำเข้าผักและผลไม้จากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยในปี 2550 นำเข้าทั้งสิ้น 140 ตัน ผักที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่ หอมหัวใหญ่ ประมาณ 70 ตัน หน่อไม้ฝรั่ง 30 ตัน ข้าวโพดฝักอ่อน 20 ตัน และกระเจี๊ยบเขียว 13 ตัน
สำหรับระบบ Logistics ในการขนส่งผักสดจากแหล่งผลิตประเทศไทยไปยังผู้บริโภคปลายทาง ใช้การขนส่งทางอากาศทั้งหมด ซึ่งประสบปัญหาขาดการดูแลที่ดีระหว่างรอการขนส่ง เช่น ขาดห้องเย็นที่สนามบิน ประสิทธิภาพการดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้คุณภาพผักเมื่อถึงประเทศญี่ปุ่นลดต่ำลง ซึ่งผู้นำเข้าเห็นว่าคุณภาพผักจากไทยจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลต้นทาง เพราะเมื่อสินค้ามาถึงญี่ปุ่นแล้วจะมีระบบ Logistics ที่ดีทำให้คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้นำเข้าญี่ปุ่นได้เน้นและให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของผักนำเข้าค่อนข้างมาก และต้องการนำเข้าผักจากเอเชียมากกว่ายุโรป โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้ตรวจพบสารเคมีในอาหารและผักที่นำเข้าจากจีนและฟิลิปปินส์ ดังนั้นหากไทยสามารถควบคุมคุณภาพผลผลิต และพัฒนาระบบ Logistics ในประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบแปลงผลผลิตและออกใบรับรอง GAP ให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง ก็จะเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดผักในญี่ปุ่น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-