สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานใน กษ. เดินหน้าร่วมผลักดัน ขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนให้มากขึ้น พร้อมสู้ปัญหาเศรษฐกิจ หวังให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเอง และมีรายได้ที่เพียงพอ สามารถพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้ามั่นคงในอนาคตได้
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะที่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องรับภาระต้นทุนการเกษตร และค่าครองชีพเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากน้ำมันเบนซินและดีเซลที่เกษตรกรต้องใช้ในไร่นาแล้ว ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรหลายรายการก็ปรับราคาสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ดังนั้น เกษตรกรหลายรายจึงเริ่มลดรายจ่ายในรายการที่สามารถลดได้ เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ เพิ่มขึ้น ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่า สำหรับกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลเกษตร เกษตรกรมีแนวโน้มลดการจ้างแรงงาน และเปลี่ยนมาใช้แรงงานแลกเปลี่ยนมากขึ้น ในหลายพื้นที่สามารถลดรายจ่ายการบริโภคของครัวเรือนได้ด้วยการเริ่มปลูกผักสวนครัวกันมากขึ้น ในบางครัวเรือนที่พอมีพื้นที่ ก็จะขุดบ่อขนาดเล็กเลี้ยงปลา สำหรับบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปัน หรือแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน
สำหรับรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถลดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือน ค่าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในบางรายการ ซึ่งมีราคาสูงขึ้น จากการสอบถามเกษตรกร และข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ สหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่ พบว่าเกษตรกรขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพื่อใช้จ่ายสำหรับต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น กับใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะค่าการศึกษา และค่าใช้จ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค หลายรายการที่ราคาสูงขึ้น เนื่องจากรายได้ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับรายจ่ายที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า สูงขึ้นประมาณ 20 — 30 %
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เดินหน้า ร่วมผลักดัน ขยายแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตร หลายโครงการที่สำคัญๆ เช่น รูปแบบเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรไร่นาสวนผสม ตลอดจนรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร เกษตรพอเพียงภายใต้เครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ยังคงเดินหน้า และผลักดัน การดำเนินงาน แผนงาน โครงการ ต่างๆ ตามแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ก้าวต่อไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถช่วยตัวเองได้ มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้เพียงพอ และสามารถพัฒนาตัวเองให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต.
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะที่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องรับภาระต้นทุนการเกษตร และค่าครองชีพเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากน้ำมันเบนซินและดีเซลที่เกษตรกรต้องใช้ในไร่นาแล้ว ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรหลายรายการก็ปรับราคาสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ดังนั้น เกษตรกรหลายรายจึงเริ่มลดรายจ่ายในรายการที่สามารถลดได้ เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ เพิ่มขึ้น ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่า สำหรับกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลเกษตร เกษตรกรมีแนวโน้มลดการจ้างแรงงาน และเปลี่ยนมาใช้แรงงานแลกเปลี่ยนมากขึ้น ในหลายพื้นที่สามารถลดรายจ่ายการบริโภคของครัวเรือนได้ด้วยการเริ่มปลูกผักสวนครัวกันมากขึ้น ในบางครัวเรือนที่พอมีพื้นที่ ก็จะขุดบ่อขนาดเล็กเลี้ยงปลา สำหรับบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปัน หรือแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน
สำหรับรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถลดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือน ค่าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในบางรายการ ซึ่งมีราคาสูงขึ้น จากการสอบถามเกษตรกร และข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ สหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่ พบว่าเกษตรกรขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพื่อใช้จ่ายสำหรับต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น กับใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะค่าการศึกษา และค่าใช้จ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค หลายรายการที่ราคาสูงขึ้น เนื่องจากรายได้ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับรายจ่ายที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า สูงขึ้นประมาณ 20 — 30 %
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เดินหน้า ร่วมผลักดัน ขยายแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตร หลายโครงการที่สำคัญๆ เช่น รูปแบบเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรไร่นาสวนผสม ตลอดจนรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร เกษตรพอเพียงภายใต้เครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ยังคงเดินหน้า และผลักดัน การดำเนินงาน แผนงาน โครงการ ต่างๆ ตามแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ก้าวต่อไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถช่วยตัวเองได้ มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้เพียงพอ และสามารถพัฒนาตัวเองให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต.
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-