สศก. ลงพื้นที่ พบ แนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีในเชียงใหม่ ลดลง กว่า 30 -40% จากปีที่แล้ว เกษตรกรหันพึ่งปุ๋ยอินทรีย์เพิ่ม ภายหลังสู้ราคาปุ๋ยเคมีไม่ไหว ด้าน กษ. ดึงโครงการปุ๋ยเคมีราคาถูกเพื่อช่วยเหลือพร้อมผลักดันการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์และแนวโน้มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ว่า จากการสอบถามเกษตรกร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จ.เชียงใหม่ เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร ในหลายพื้นที่ของจังหวัด ร่วมกับข้อมูลจากสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) พบว่า แนวโน้มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรในภาพรวมปีเพาะปลูกปีนี้ มีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้ว ประมาณ 30 — 40 % ทั้งในช่วงฤดูฝน และฤดูแล้ง ที่จะถึง อีก 3 — 4 เดือนข้างหน้า
เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ราคาปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดในรอบ 1 ปี จากเดิม ราคาที่เกษตรกรซื้อใช้ในพื้นที่ กระสอบละ 600 — 700 บาท ในช่วงปีที่แล้ว เป็น กระสอบละ 1,200 — 1,500 บาท ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปีนี้ ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น เกษตรกรจึงตัดสินใจลดการใช้ปุ๋ยเคมีและเปลี่ยนมาใช้ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ทดแทนกันมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่ง ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ ที่เกษตรกรใช้ดังกล่าว ราคาปัจจุบันในพื้นที่ ตกอยู่กระสอบละ 350 บาท ขึ้นไป จนถึง 850 บาท โดยราคาขึ้นอยู่กับยี่ห้อและสูตรผสม โดยทั่วไป เป็นลักษณะ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมี” มีส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์เป็นหลัก และมีปุ๋ยเคมีเม็ด เป็นส่วนผสมในปริมาณเล็กน้อย สามารถลดต้นทุนได้ค่อนข้างมากและให้ผลในการบำรุงดินอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนใจใช้ ปุ๋ยคอก กันมากขึ้นเพื่อต้องการบำรุงดิน และต้องการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ไปในตัว แม้ว่าการลดปุ๋ยเคมีลงในระยะแรก อาจมีผลให้ผลผลิตลดลงไปบ้าง
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ไขปัญหาราคาปุ๋ยว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โดยจัดทำโครงการปุ๋ยเคมีราคาถูกให้แก่เกษตรกร ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกนี้ ได้รับจัดสรรโควตาปุ๋ยเคมีราคาถูก ประมาณ 2,000 กว่าตัน ผ่านทางสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ นอกจากนี้ทางกระทรวง ยังมีการดำเนินงานตามนโยบายและโครงการต่างๆ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มากขึ้น เช่น การจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมแนะนำ และขยายรูปแบบการเกษตรในแนวอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร อย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัด ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ร่วมผลักดัน และดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ทั้งในส่วนของการเจรจาการค้าระดับภาคีระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบการผลิต การตลาดสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องและสามารถสนองความต้องการของตลาด รวมถึงการขับเคลื่อนโครงการต่างๆในระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร และความปลอดภัยของผู้บริโภค กับสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์และแนวโน้มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ว่า จากการสอบถามเกษตรกร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จ.เชียงใหม่ เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร ในหลายพื้นที่ของจังหวัด ร่วมกับข้อมูลจากสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) พบว่า แนวโน้มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรในภาพรวมปีเพาะปลูกปีนี้ มีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้ว ประมาณ 30 — 40 % ทั้งในช่วงฤดูฝน และฤดูแล้ง ที่จะถึง อีก 3 — 4 เดือนข้างหน้า
เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ราคาปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดในรอบ 1 ปี จากเดิม ราคาที่เกษตรกรซื้อใช้ในพื้นที่ กระสอบละ 600 — 700 บาท ในช่วงปีที่แล้ว เป็น กระสอบละ 1,200 — 1,500 บาท ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปีนี้ ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น เกษตรกรจึงตัดสินใจลดการใช้ปุ๋ยเคมีและเปลี่ยนมาใช้ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ทดแทนกันมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่ง ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ ที่เกษตรกรใช้ดังกล่าว ราคาปัจจุบันในพื้นที่ ตกอยู่กระสอบละ 350 บาท ขึ้นไป จนถึง 850 บาท โดยราคาขึ้นอยู่กับยี่ห้อและสูตรผสม โดยทั่วไป เป็นลักษณะ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมี” มีส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์เป็นหลัก และมีปุ๋ยเคมีเม็ด เป็นส่วนผสมในปริมาณเล็กน้อย สามารถลดต้นทุนได้ค่อนข้างมากและให้ผลในการบำรุงดินอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนใจใช้ ปุ๋ยคอก กันมากขึ้นเพื่อต้องการบำรุงดิน และต้องการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ไปในตัว แม้ว่าการลดปุ๋ยเคมีลงในระยะแรก อาจมีผลให้ผลผลิตลดลงไปบ้าง
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ไขปัญหาราคาปุ๋ยว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โดยจัดทำโครงการปุ๋ยเคมีราคาถูกให้แก่เกษตรกร ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกนี้ ได้รับจัดสรรโควตาปุ๋ยเคมีราคาถูก ประมาณ 2,000 กว่าตัน ผ่านทางสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ นอกจากนี้ทางกระทรวง ยังมีการดำเนินงานตามนโยบายและโครงการต่างๆ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มากขึ้น เช่น การจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมแนะนำ และขยายรูปแบบการเกษตรในแนวอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร อย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัด ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ร่วมผลักดัน และดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ทั้งในส่วนของการเจรจาการค้าระดับภาคีระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบการผลิต การตลาดสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องและสามารถสนองความต้องการของตลาด รวมถึงการขับเคลื่อนโครงการต่างๆในระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร และความปลอดภัยของผู้บริโภค กับสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-