สศก. คาดราคากุ้งในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น หลังรัฐบาลไฟเขียวงบกว่า 320 ล้านบาท รับจำนำกุ้งจากผู้เลี้ยง เผยผลจากไทยชนะคดีเมืองลุงแซมที่กีดกันเรื่องการส่งออก จะยิ่งทำให้ราคาสูงขึ้น พร้อมกับการส่งออกที่ไร้ปัญหากีดกันทางการค้า
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจเขต 8 (สศข. 8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกุ้งมีราคาตกต่ำ ในขณะที่ปัจจัยการผลิตก็มีราคาสูงขึ้นจนผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อน รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเบื้องต้นด้วยการรับจำนำกุ้งจำนวน 10,000 ตัน ในวงเงิน 320 ล้านบาทไปแล้วนั้น ประกอบกับเมื่อคณะอุทธรณ์ องค์การการค้าโลก ได้ประกาศตัดสินให้ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐอเมริกาในองค์การการค้าโลก ซึ่งสหรัฐฯ ใช้วิธีคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดมาใช้กับการเก็บอากรการทุ่มตลาดกุ้งไทยและเรียกเก็บหลักประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับการนำเข้าสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยถือว่าเป็นการกระทำขัดกับหลักการค้าระหว่างประเทศและไม่สอดคล้องกับระเบียบองค์การการค้าโลก ทำให้สหรัฐฯ ต้องคิดคำนวณอากรการทุ่มตลาดวิธีใหม่ ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยได้ประโยชน์และจะเสียอากรการทุ่มตลาดลดลงหรือบางรายอาจจะไม่ต้องเสีย ซึ่งปัจจุบันสหรัฐฯเรียกเก็บในอัตรา 5.29 — 6.82 % และจะลดภาระไม่ต้องเสียค่าประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดอีกปีละประมาณ 2,550 ล้านบาท
นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และผลการตรวจสอบโรงงานผลิตและส่งออกกุ้งของไทยจากสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะทราบในเดือนกันยายนมีแนวโน้มในเชิงบวก ทำให้ขณะนี้ทุกโรงงานได้เริ่มกลับมาเร่งการผลิตมากขึ้น หลังจากชะลอตัวมาตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้การส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และราคากุ้งในประเทศก็เริ่มขยับตัวสูงขึ้น และคาดว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปลายปีนี้ โดยราคากุ้งขาวแวนาไมขนาด 41-50 ตัวต่อกก. เดือนกรกฎาคม ราคา 126 บาทต่อกก. สูงขึ้นจากเดือน ต้นเดือนมิถุนายน ที่กก.ละ 114 บาท ประมาณร้อยละ 9.7
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจเขต 8 (สศข. 8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกุ้งมีราคาตกต่ำ ในขณะที่ปัจจัยการผลิตก็มีราคาสูงขึ้นจนผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อน รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเบื้องต้นด้วยการรับจำนำกุ้งจำนวน 10,000 ตัน ในวงเงิน 320 ล้านบาทไปแล้วนั้น ประกอบกับเมื่อคณะอุทธรณ์ องค์การการค้าโลก ได้ประกาศตัดสินให้ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐอเมริกาในองค์การการค้าโลก ซึ่งสหรัฐฯ ใช้วิธีคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดมาใช้กับการเก็บอากรการทุ่มตลาดกุ้งไทยและเรียกเก็บหลักประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับการนำเข้าสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยถือว่าเป็นการกระทำขัดกับหลักการค้าระหว่างประเทศและไม่สอดคล้องกับระเบียบองค์การการค้าโลก ทำให้สหรัฐฯ ต้องคิดคำนวณอากรการทุ่มตลาดวิธีใหม่ ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยได้ประโยชน์และจะเสียอากรการทุ่มตลาดลดลงหรือบางรายอาจจะไม่ต้องเสีย ซึ่งปัจจุบันสหรัฐฯเรียกเก็บในอัตรา 5.29 — 6.82 % และจะลดภาระไม่ต้องเสียค่าประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดอีกปีละประมาณ 2,550 ล้านบาท
นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และผลการตรวจสอบโรงงานผลิตและส่งออกกุ้งของไทยจากสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะทราบในเดือนกันยายนมีแนวโน้มในเชิงบวก ทำให้ขณะนี้ทุกโรงงานได้เริ่มกลับมาเร่งการผลิตมากขึ้น หลังจากชะลอตัวมาตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้การส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และราคากุ้งในประเทศก็เริ่มขยับตัวสูงขึ้น และคาดว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปลายปีนี้ โดยราคากุ้งขาวแวนาไมขนาด 41-50 ตัวต่อกก. เดือนกรกฎาคม ราคา 126 บาทต่อกก. สูงขึ้นจากเดือน ต้นเดือนมิถุนายน ที่กก.ละ 114 บาท ประมาณร้อยละ 9.7
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-