1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 63,786 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 928,269 ตัน คิดเป็นร้อยละ 37.13 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ การค้าข้าวค่อนข้างทรงตัว ผู้ส่งออกมีข้าวเพียงพอกับความต้องการจึงชะลอการรับซื้อลง ส่งผลให้ราคาข้าวส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 กรกฎาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.718 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.607 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.82 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,037 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,326 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,414 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,304 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,189 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,301 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,270 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,475 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,199 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 976 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,364 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,165 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,543 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 817 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,092 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.33 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 549 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 684 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,751 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 703 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 23,311 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 560 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,605 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,650 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2613 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ซาอุดิอาระเบียกระตุ้นการนำเข้าข้าวเพิ่ม รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้กระตุ้นผู้นำเข้าข้าวให้มีการนำเข้าข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในสต็อคของประเทศอีกร้อยละ 50 ซึ่งจะสร้างความมั่นใจว่าปริมาณข้าวสำรองมีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียได้นำเข้าข้าวแล้วจำนวน 958,000 ตัน ส่งผลให้ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้เปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ในการสำรองข้าว และต้องการเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในระยะยาว
2.2 ญี่ปุ่นเตรียมเปิดการประมูลข้าว รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังตระเตรียมการเปิดประมูลซื้อข้าวจากต่างประเทศ หลังจากที่ได้มีการหยุดดำเนินการนานกว่า 3 เดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณปีนี้ ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการรับซื้อข้าวจากต่างประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่นจะต้องดำเนินการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงของการค้าระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่ามีการจำหน่ายข้าวที่นำเข้าให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศไปแล้วจำนวน 600,000 ตัน ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อข้าวจากต่างประเทศเพื่อนำมาสำรองไว้ในสต็อคข้าวของประเทศ สถิติของปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการจำหน่ายข้าวที่ได้นำเข้าให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์ซึ่งเป็นการช่วยระบายข้าวในสต็อคของประเทศได้ประมาณหนึ่งในสามของจำนวนข้าวทั้งหมด 1.29 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 63,786 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 928,269 ตัน คิดเป็นร้อยละ 37.13 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ การค้าข้าวค่อนข้างทรงตัว ผู้ส่งออกมีข้าวเพียงพอกับความต้องการจึงชะลอการรับซื้อลง ส่งผลให้ราคาข้าวส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 กรกฎาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.718 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.607 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.82 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,037 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,326 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,414 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,304 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,189 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,301 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,270 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,475 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,199 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 976 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,364 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,165 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,543 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 817 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,092 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.33 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 549 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 684 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,751 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 703 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 23,311 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 560 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,605 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,650 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2613 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ซาอุดิอาระเบียกระตุ้นการนำเข้าข้าวเพิ่ม รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้กระตุ้นผู้นำเข้าข้าวให้มีการนำเข้าข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในสต็อคของประเทศอีกร้อยละ 50 ซึ่งจะสร้างความมั่นใจว่าปริมาณข้าวสำรองมีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียได้นำเข้าข้าวแล้วจำนวน 958,000 ตัน ส่งผลให้ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้เปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ในการสำรองข้าว และต้องการเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในระยะยาว
2.2 ญี่ปุ่นเตรียมเปิดการประมูลข้าว รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังตระเตรียมการเปิดประมูลซื้อข้าวจากต่างประเทศ หลังจากที่ได้มีการหยุดดำเนินการนานกว่า 3 เดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณปีนี้ ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการรับซื้อข้าวจากต่างประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่นจะต้องดำเนินการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงของการค้าระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่ามีการจำหน่ายข้าวที่นำเข้าให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศไปแล้วจำนวน 600,000 ตัน ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อข้าวจากต่างประเทศเพื่อนำมาสำรองไว้ในสต็อคข้าวของประเทศ สถิติของปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการจำหน่ายข้าวที่ได้นำเข้าให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์ซึ่งเป็นการช่วยระบายข้าวในสต็อคของประเทศได้ประมาณหนึ่งในสามของจำนวนข้าวทั้งหมด 1.29 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2551--
-พห-