1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงจัดอบรมเทคนิคการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำแก่เจ้าหน้าที่
แม้ว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกุ้งไทยจะมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก จนก้าวสู่การเป็นประเทศผู้นำทั้งด้านการผลิตและการส่งออกกุ้งเป็นอันดับหนึ่งมากกว่าสิบปี แต่ปัจจุบันสถานการณ์การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยยังต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าหลายประการ เช่น การแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มาตรการกีดกันทางการค้า ราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาโรคระบาดในกุ้งทะเลที่เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของกุ้ง อัตรารอดและปริมาณผลผลิต อันเกี่ยวเนื่องกับผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับก็ลดน้อยลงไปด้วย ทำให้เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจำนวนมากต้องประสบกับภาวะขาดทุนและต้องเลิกกิจการไป ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการตรวจวินิจฉัยโรคและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาโรคสัตว์น้ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ สามารถให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยสามารถยืนหยัดเป็นผู้นำการผลิตและการส่งออกสินค้ากุ้งได้อย่างมั่นคงตลอดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 7 ก.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 911.64 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 555.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 356.46 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.73 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 103.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.70 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.76 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 2.19 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. — 1 ส.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2551--
-พห-
การผลิต
กรมประมงจัดอบรมเทคนิคการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำแก่เจ้าหน้าที่
แม้ว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกุ้งไทยจะมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก จนก้าวสู่การเป็นประเทศผู้นำทั้งด้านการผลิตและการส่งออกกุ้งเป็นอันดับหนึ่งมากกว่าสิบปี แต่ปัจจุบันสถานการณ์การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยยังต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าหลายประการ เช่น การแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มาตรการกีดกันทางการค้า ราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาโรคระบาดในกุ้งทะเลที่เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของกุ้ง อัตรารอดและปริมาณผลผลิต อันเกี่ยวเนื่องกับผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับก็ลดน้อยลงไปด้วย ทำให้เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจำนวนมากต้องประสบกับภาวะขาดทุนและต้องเลิกกิจการไป ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการตรวจวินิจฉัยโรคและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาโรคสัตว์น้ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ สามารถให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยสามารถยืนหยัดเป็นผู้นำการผลิตและการส่งออกสินค้ากุ้งได้อย่างมั่นคงตลอดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 7 ก.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 911.64 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 555.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 356.46 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.73 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 103.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.70 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.76 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 2.19 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. — 1 ส.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2551--
-พห-