สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดสถานการณ์กุ้งปีนี้ จะมีผลผลิตลดลง เหตุเพราะสภาพอากาศแปรปรวน และต้นทุนปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคากุ้งค่อนข้างทรงตัว เผยข่าวดีด้านการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดแดนมังกร ประเดิม 5 เดือนแรก ส่งออกแล้วกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นตัน
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิตกุ้งปี 2551 คาดว่าผลผลิตกุ้งทั้งประเทศจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 15% เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวนทำให้ผลผลิตกุ้งได้รับความเสียหาย ประกอบกับปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น อาหารกุ้งปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้ราคาสูงขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 20 - 50% และน้ำมันดีเซลปรับราคาสูงขึ้นจากปีก่อนประมาณ 30 % ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ในขณะที่ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวหรือลดลง ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง เกษตรกรบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชุมพร หลายรายเลิกเลี้ยงหันไปปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราแทน
สำหรับเกษตรกรที่ยังเลี้ยงอยู่ก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตลงโดยการดัดแปลงแก๊สหุงต้มมาใช้กับเครื่องให้อากาศแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้บ้าง ด้านการให้อาหารกุ้งก็ควบคุมอย่างใกล้ชิดมิให้อาหารเหลือ เป็นต้น เกษตรกรบางกลุ่มได้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงมาเป็นเชิงชีวภาพ โดยการนำสาหร่ายใส้ไก่มาช่วยบำบัดน้ำและเป็นอาหารแก่ลูกกุ้งในช่วง 60 วันแรกเพื่อลดค่าอาหาร รวมทั้งปล่อยลูกกุ้งให้มีความหนาแน่นน้อยประมาณ 50,000-60,000 ตัว/ไร่หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการปล่อยเลี้ยงทั่วไป อย่างไรก็ตามการเลี้ยงด้วยวิธีชีวภาพนี้ก็ยังมีต้นทุนการผลิตกุ้งต่อกิโลกรัมสูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไป เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่ได้ต่อไร่น้อยลง แต่กุ้งที่ผลิตได้มีขนาดใหญ่ ขายได้ราคาดีกว่า และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังเผชิญกับภาวะการผลิตที่ไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ในด้านการส่งออกกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี ไทยส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งปรุงแต่งปริมาณ 121,152 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.8% ทั้งนี้เนื่องจากจีนมีความต้องการนำเข้ากุ้งเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในงานกีฬาโอลิมปิค ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยนำเข้าน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา อย่างไรก็ตามการที่ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯ ต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในการนำวิธีการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด (Zeroing)มาใช้กับการคำนวณอากรตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) และการเรียกเก็บหลักประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือซีบอนด์กับการนำกุ้งแช่แข็งจากไทย ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องปรับมาตรการซีบอนด์ให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ WTO ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าค้ำประกันของผู้ส่งออกของไทยปีละหลายพันล้านบาท และสหรัฐฯ ต้องคำนวณอัตราเอดีใหม่ ซึ่งน่าจะทำให้อัตราเอดีของผู้ส่งออกไทยลดลง และทำให้กุ้งไทยสามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้น นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิตกุ้งปี 2551 คาดว่าผลผลิตกุ้งทั้งประเทศจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 15% เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวนทำให้ผลผลิตกุ้งได้รับความเสียหาย ประกอบกับปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น อาหารกุ้งปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้ราคาสูงขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 20 - 50% และน้ำมันดีเซลปรับราคาสูงขึ้นจากปีก่อนประมาณ 30 % ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ในขณะที่ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวหรือลดลง ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง เกษตรกรบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชุมพร หลายรายเลิกเลี้ยงหันไปปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราแทน
สำหรับเกษตรกรที่ยังเลี้ยงอยู่ก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตลงโดยการดัดแปลงแก๊สหุงต้มมาใช้กับเครื่องให้อากาศแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้บ้าง ด้านการให้อาหารกุ้งก็ควบคุมอย่างใกล้ชิดมิให้อาหารเหลือ เป็นต้น เกษตรกรบางกลุ่มได้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงมาเป็นเชิงชีวภาพ โดยการนำสาหร่ายใส้ไก่มาช่วยบำบัดน้ำและเป็นอาหารแก่ลูกกุ้งในช่วง 60 วันแรกเพื่อลดค่าอาหาร รวมทั้งปล่อยลูกกุ้งให้มีความหนาแน่นน้อยประมาณ 50,000-60,000 ตัว/ไร่หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการปล่อยเลี้ยงทั่วไป อย่างไรก็ตามการเลี้ยงด้วยวิธีชีวภาพนี้ก็ยังมีต้นทุนการผลิตกุ้งต่อกิโลกรัมสูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไป เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่ได้ต่อไร่น้อยลง แต่กุ้งที่ผลิตได้มีขนาดใหญ่ ขายได้ราคาดีกว่า และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังเผชิญกับภาวะการผลิตที่ไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ในด้านการส่งออกกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี ไทยส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งปรุงแต่งปริมาณ 121,152 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.8% ทั้งนี้เนื่องจากจีนมีความต้องการนำเข้ากุ้งเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในงานกีฬาโอลิมปิค ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยนำเข้าน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา อย่างไรก็ตามการที่ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯ ต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในการนำวิธีการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด (Zeroing)มาใช้กับการคำนวณอากรตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) และการเรียกเก็บหลักประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือซีบอนด์กับการนำกุ้งแช่แข็งจากไทย ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องปรับมาตรการซีบอนด์ให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ WTO ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าค้ำประกันของผู้ส่งออกของไทยปีละหลายพันล้านบาท และสหรัฐฯ ต้องคำนวณอัตราเอดีใหม่ ซึ่งน่าจะทำให้อัตราเอดีของผู้ส่งออกไทยลดลง และทำให้กุ้งไทยสามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้น นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-