สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ชี้ท่าเรือชายฝั่งภาคใต้มีบทบาทสำคัญต่อการขนส่งสินค้าเกษตร แนะหากมีการพัฒนาปรับปรุงให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จะสามารถรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหารทะเล ไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เผยจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และขยายการส่งออกได้มากขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ท่าเรือชายฝั่งภาคใต้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าเกษตรฝั่งตะวันออก บริหารจัดการโดยเอกชนโดยได้รับสัมปทานจากรัฐ ได้แก่ ท่าเรือ เอ็น พี มารีน จ. สุราษฎร์ธานี บริหารจัดการโดย บริษัท เอ็น พี มารีน จำกัด มีศักยภาพเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังในภาคตะวันออก และท่าเรือสงขลา จ.สงขลา บริหารจัดการโดยบริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด มีศักยภาพเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Regional Port) แต่การดำเนินงานยังคงประสบปัญหาที่ทำให้ท่าเรือไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และรอการแก้ไขหลายประการ เช่น ปัญหาร่องน้ำตื้นเขินทำให้เรือต้องรอเวลาน้ำขึ้นเพื่อเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่า ทำให้ไม่สามารถบรรทุกสินค้าได้เต็มความสามารถ
เนื่องจากไม่ให้เรือกินน้ำลึกเกินความลึกของร่องน้ำ และการค้าสินค้าออกมากกว่าสินค้าเข้าทำให้ต้องนำตู้เปล่าจากแหลมฉบังเข้ามาเพื่อบรรจุสินค้าส่งออก ทำให้ต้นทุนค่าระวางเรือสูง รวมทั้งมีการใช้ท่าเทียบเรือชายฝั่งเป็นท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ ทำให้เรือชายฝั่งต้องไปใช้ท่าเทียบเรืออื่น เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายยกตู้และลากตู้จากจุดจอดไปยังเรือขนสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงรัฐบาลให้สัมปทานเช่าท่าเรือระยะสั้นเพียง 5 ปี ทำให้ผู้ประกอบการไม่มั่นใจในการลงทุนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การติดตั้งเครน และเกิดความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น ภาครัฐจะต้องมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งให้เต็มศักยภาพ เช่น การขยายระยะเวลาการให้สัมปทาน การขุดลอกขยายร่องน้ำ รวมทั้งให้ความสำคัญกับเรือชายฝั่งที่ใช้บริการ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง การปรับลดค่าบริการใช้ท่าเรือ ค่ายกตู้สินค้า และที่สำคัญคือการวางระบบการขนส่งต่อเนื่องเชื่อมต่อถนน-เรือ-ถนน กระตุ้นให้ผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขนส่งจากถนนมาใช้ท่าเรือชายฝั่งมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างบทบาทของท่าเรือชายฝั่งและความแข็งแกร่งโลจิสติกส์ทั้งระบบ นายอภิชาต กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ท่าเรือชายฝั่งภาคใต้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าเกษตรฝั่งตะวันออก บริหารจัดการโดยเอกชนโดยได้รับสัมปทานจากรัฐ ได้แก่ ท่าเรือ เอ็น พี มารีน จ. สุราษฎร์ธานี บริหารจัดการโดย บริษัท เอ็น พี มารีน จำกัด มีศักยภาพเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังในภาคตะวันออก และท่าเรือสงขลา จ.สงขลา บริหารจัดการโดยบริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด มีศักยภาพเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Regional Port) แต่การดำเนินงานยังคงประสบปัญหาที่ทำให้ท่าเรือไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และรอการแก้ไขหลายประการ เช่น ปัญหาร่องน้ำตื้นเขินทำให้เรือต้องรอเวลาน้ำขึ้นเพื่อเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่า ทำให้ไม่สามารถบรรทุกสินค้าได้เต็มความสามารถ
เนื่องจากไม่ให้เรือกินน้ำลึกเกินความลึกของร่องน้ำ และการค้าสินค้าออกมากกว่าสินค้าเข้าทำให้ต้องนำตู้เปล่าจากแหลมฉบังเข้ามาเพื่อบรรจุสินค้าส่งออก ทำให้ต้นทุนค่าระวางเรือสูง รวมทั้งมีการใช้ท่าเทียบเรือชายฝั่งเป็นท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ ทำให้เรือชายฝั่งต้องไปใช้ท่าเทียบเรืออื่น เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายยกตู้และลากตู้จากจุดจอดไปยังเรือขนสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงรัฐบาลให้สัมปทานเช่าท่าเรือระยะสั้นเพียง 5 ปี ทำให้ผู้ประกอบการไม่มั่นใจในการลงทุนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การติดตั้งเครน และเกิดความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น ภาครัฐจะต้องมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งให้เต็มศักยภาพ เช่น การขยายระยะเวลาการให้สัมปทาน การขุดลอกขยายร่องน้ำ รวมทั้งให้ความสำคัญกับเรือชายฝั่งที่ใช้บริการ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง การปรับลดค่าบริการใช้ท่าเรือ ค่ายกตู้สินค้า และที่สำคัญคือการวางระบบการขนส่งต่อเนื่องเชื่อมต่อถนน-เรือ-ถนน กระตุ้นให้ผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขนส่งจากถนนมาใช้ท่าเรือชายฝั่งมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างบทบาทของท่าเรือชายฝั่งและความแข็งแกร่งโลจิสติกส์ทั้งระบบ นายอภิชาต กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-