สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยอนาคตผลผลิตสับปะรดภาคตะวันออกของไทยมีแนวโน้มลดลง เหตุเพราะถูกแย่งพื้นที่จากพืชเศรษฐกิจอื่น บวกกับปัจจัยการผลิตแพงขึ้น อีกทั้งขาดแคลนแรงงาน ขณะที่ภาคการส่งออกยังขยายตัว ย้ำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวัตถุดิบต่อไป
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์สับปะรด ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และตราด พบว่าเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง มากขึ้นโดยการปลูกสับปะรดแซมในร่องสวนยางลดลง เพราะค่าลงทุนปลูกมันสำปะหลังต่ำกว่าสับปะรด และให้ผลตอบแทนที่สูง ประกอบกับปัจจัยการผลิตสับปะรดมีราคาสูงได้แก่ ปุ๋ย สารเคมี
ทั้งนี้ หลังจากยางมีอายุ 3 ปีไปแล้วไม่สามารถปลูกสับปะรดแซมในพื้นที่ดังกล่าวได้ ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นสับปะรดโรงงาน ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนเมษายน — พฤษภาคม โดยการรับซื้อผลผลิตของโรงงานแปรรูป ในจังหวัดชลบุรี และระยอง ที่มีจำนวน 4 โรง พบว่า โรงงานรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก ประมาณ 70 % และรับซื้อจากพ่อค้ารวบรวม ประมาณ 30 % โดยโรงงานสามารถรับซื้อผลผลิตได้ประมาณ 2,300 — 2,500 ตัน/วัน ซึ่งปัจจุบันโรงงานแปรรูปประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอทั้งปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้ารวบรวมผลผลิตในพื้นที่เพื่อส่งโรงงานแปรรูปใน จ.ประจวบ ศีรีขันธ์ โดยจะได้ค่าขนส่งเพิ่มกิโลกรัมละ 0.30 — 0.50 บาท
สำหรับราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรขายได้ตั้งแต่ปี 2550 — ต้นปี 2551 กิโลกรัมละ 4 - 5 บาท และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2551 เป็นต้นมา เนื่องจากผลผลิตทะลักออกสู่ตลาดมาก ซึ่งโรงงานแปรรูปได้ช่วยเหลือเกษตรกรโดยกำหนดราคารับซื้อกิโลกรัมละ 3.50 บาท ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในภาคตะวันออกไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2551 ราคาสับปะรดโรงงานเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาหน้าโรงงานแปรรูป ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 กิโลกรัมละ 7.00 บาท ในขณะที่พ่อค้ารวบรวมรับซื้อกิโลกรัมละ 5.70 — 6.20 บาท ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ประมาณ 2.50 -3.00 บาท/หน่อ (ไร่ละ 7,000 — 8,000 หน่อ) แยกเป็นค่าวัสดุ (พันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง) ประมาณร้อยละ 55 - 60 ค่าแรงงานประมาณร้อยละ 30 และค่าเช่าที่ดินและอื่นๆ ประมาณร้อยละ 10 — 15 โดยปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ราคาปัจจัยการผลิตสูงได้แก่ ปุ๋ย สารเคมี ค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพพื้นที่สูงขึ้น และแรงงานหายากและค่าจ้างแรงงานสูง
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า พื้นที่ปลูกสับปะรดทั้งประเทศจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตสับปะรดในปี 2552 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรมีการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกร โรงงานแปรรูป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ รวมทั้งจะส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นอาชีพที่ยั่งยืน นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์สับปะรด ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และตราด พบว่าเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง มากขึ้นโดยการปลูกสับปะรดแซมในร่องสวนยางลดลง เพราะค่าลงทุนปลูกมันสำปะหลังต่ำกว่าสับปะรด และให้ผลตอบแทนที่สูง ประกอบกับปัจจัยการผลิตสับปะรดมีราคาสูงได้แก่ ปุ๋ย สารเคมี
ทั้งนี้ หลังจากยางมีอายุ 3 ปีไปแล้วไม่สามารถปลูกสับปะรดแซมในพื้นที่ดังกล่าวได้ ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นสับปะรดโรงงาน ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนเมษายน — พฤษภาคม โดยการรับซื้อผลผลิตของโรงงานแปรรูป ในจังหวัดชลบุรี และระยอง ที่มีจำนวน 4 โรง พบว่า โรงงานรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก ประมาณ 70 % และรับซื้อจากพ่อค้ารวบรวม ประมาณ 30 % โดยโรงงานสามารถรับซื้อผลผลิตได้ประมาณ 2,300 — 2,500 ตัน/วัน ซึ่งปัจจุบันโรงงานแปรรูปประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอทั้งปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้ารวบรวมผลผลิตในพื้นที่เพื่อส่งโรงงานแปรรูปใน จ.ประจวบ ศีรีขันธ์ โดยจะได้ค่าขนส่งเพิ่มกิโลกรัมละ 0.30 — 0.50 บาท
สำหรับราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรขายได้ตั้งแต่ปี 2550 — ต้นปี 2551 กิโลกรัมละ 4 - 5 บาท และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2551 เป็นต้นมา เนื่องจากผลผลิตทะลักออกสู่ตลาดมาก ซึ่งโรงงานแปรรูปได้ช่วยเหลือเกษตรกรโดยกำหนดราคารับซื้อกิโลกรัมละ 3.50 บาท ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในภาคตะวันออกไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2551 ราคาสับปะรดโรงงานเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาหน้าโรงงานแปรรูป ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 กิโลกรัมละ 7.00 บาท ในขณะที่พ่อค้ารวบรวมรับซื้อกิโลกรัมละ 5.70 — 6.20 บาท ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ประมาณ 2.50 -3.00 บาท/หน่อ (ไร่ละ 7,000 — 8,000 หน่อ) แยกเป็นค่าวัสดุ (พันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง) ประมาณร้อยละ 55 - 60 ค่าแรงงานประมาณร้อยละ 30 และค่าเช่าที่ดินและอื่นๆ ประมาณร้อยละ 10 — 15 โดยปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ราคาปัจจัยการผลิตสูงได้แก่ ปุ๋ย สารเคมี ค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพพื้นที่สูงขึ้น และแรงงานหายากและค่าจ้างแรงงานสูง
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า พื้นที่ปลูกสับปะรดทั้งประเทศจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตสับปะรดในปี 2552 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรมีการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกร โรงงานแปรรูป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ รวมทั้งจะส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นอาชีพที่ยั่งยืน นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-