สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย การประชุมองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อตกลงข้อผูกพันการเจรจาเกษตรและเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮา ระดับรัฐมนตรีประสบความล้มเหลว สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอินเดีย ในเรื่องการใช้มาตรการปกป้องตลาดของประเทศกำลังพัฒนา
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อย WTO อย่างไม่เป็นทางการ ณ สำนักงาน WTO กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม 2551 เพื่อเร่งให้ได้รูปแบบข้อผูกพัน (Modalities) ของการเจรจาการเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮา นั้น ผลปรากฏว่าไม่สามารถจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยสาเหตุสำคัญมาจากความขัดแย้งกันของสหรัฐฯ และอินเดียในเรื่องของการใช้มาตรการปกป้องตลาดของประเทศกำลังพัฒนา (Special Safeguard Mechanism: SSM) ซึ่งมาตรการฯ ดังกล่าว จะยอมให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเก็บภาษีปกป้องเพิ่มได้ หากมีการทะลักเข้ามาของสินค้านำเข้า โดยสหรัฐอเมริกาและอินเดีย ไม่สามารถตกลงกันได้ในระดับการนำเข้าที่เป็นเกณฑ์แสดงถึงความเสียหาย (Trigger) โดยอินเดียต้องการกำหนดระดับ Trigger ที่ต่ำ ในขณะที่สหรัฐฯ เห็นว่ากำหนดระดับ Trigger ที่ต่ำเกินไปจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้มาตรการนี้ได้บ่อยครั้ง และอาจกลายเป็นมาตรการปกป้องทางการค้าในที่สุด
ทั้งนี้ จากการเจรจาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้ผ่อนปรนท่าทีของตนลงอย่างมากเพื่อให้สามารถสรุปรอบการเจรจาครั้งนี้ให้ได้ โดยยอมลดการอุดหนุนภายในลงถึงร้อยละ 70 และ 80 ตามลำดับ และประเทศพัฒนาแล้วจะลด/เลิกการอุดหนุนการส่งออกลงภายใน 7 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ตกลงกันได้แล้วจะเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินการเจรจาต่อไป เพื่อที่จะสรุปท่าทีสุดท้ายของรูปแบบข้อผูกพัน (Modalities) ของการเจรจาเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาให้ได้ แม้จะต้องใช้เวลานานออกไปอีกระยะหนึ่งก็ตาม ในขณะที่สหภาพยุโรป เห็นว่าผลการเจรจาครั้งนี้สามารถตกลงกันในสาระได้เป็นส่วนใหญ่ จะเหลือเพียงเรื่อง SSM ระหว่างสหรัฐฯ และอินเดียเท่านั้น จึงยังมีช่องทางให้มีการเจรจาในช่วงเดือนกันยายนนี้อีกครั้ง แต่หากไม่สามารถจัดขึ้นได้ จะส่งผลให้การเจรจารอบโดฮาจะระงับไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อันมีสาเหตุมาจากการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ในประเทศสมาชิกสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอินเดีย
นายมณฑล ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ในส่วนของไทยนั้น เป็นที่น่าเสียดายมาก เนื่องจากประเด็น SSM ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เปรียบเสมือนการสะดุดยอดหญ้าหกล้มในช่วงเข้าโค้งสุดท้าย ซึ่งได้ส่งผลต่อประเด็นหลักในการเจรจาที่ตกลงกันได้แล้วด้วย กล่าวคือ การลดการอุดหนุนภายใน และการลด/เลิกการอุดหนุนการส่งออกของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจะทำให้การค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีความเป็นธรรมมากขึ้น ทำให้ไทยเสียโอกาสในการค้าสินค้าเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลายประเทศจะหันมาเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) เพิ่มขึ้น โดยจะใช้ข้อสรุปในประเด็นหลักที่สามารถตกลงกันได้แล้วจากการเจรจารอบที่ผ่านมานี้เป็นพื้นฐานในการเจรจาด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อย WTO อย่างไม่เป็นทางการ ณ สำนักงาน WTO กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม 2551 เพื่อเร่งให้ได้รูปแบบข้อผูกพัน (Modalities) ของการเจรจาการเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮา นั้น ผลปรากฏว่าไม่สามารถจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยสาเหตุสำคัญมาจากความขัดแย้งกันของสหรัฐฯ และอินเดียในเรื่องของการใช้มาตรการปกป้องตลาดของประเทศกำลังพัฒนา (Special Safeguard Mechanism: SSM) ซึ่งมาตรการฯ ดังกล่าว จะยอมให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเก็บภาษีปกป้องเพิ่มได้ หากมีการทะลักเข้ามาของสินค้านำเข้า โดยสหรัฐอเมริกาและอินเดีย ไม่สามารถตกลงกันได้ในระดับการนำเข้าที่เป็นเกณฑ์แสดงถึงความเสียหาย (Trigger) โดยอินเดียต้องการกำหนดระดับ Trigger ที่ต่ำ ในขณะที่สหรัฐฯ เห็นว่ากำหนดระดับ Trigger ที่ต่ำเกินไปจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้มาตรการนี้ได้บ่อยครั้ง และอาจกลายเป็นมาตรการปกป้องทางการค้าในที่สุด
ทั้งนี้ จากการเจรจาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้ผ่อนปรนท่าทีของตนลงอย่างมากเพื่อให้สามารถสรุปรอบการเจรจาครั้งนี้ให้ได้ โดยยอมลดการอุดหนุนภายในลงถึงร้อยละ 70 และ 80 ตามลำดับ และประเทศพัฒนาแล้วจะลด/เลิกการอุดหนุนการส่งออกลงภายใน 7 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ตกลงกันได้แล้วจะเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินการเจรจาต่อไป เพื่อที่จะสรุปท่าทีสุดท้ายของรูปแบบข้อผูกพัน (Modalities) ของการเจรจาเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาให้ได้ แม้จะต้องใช้เวลานานออกไปอีกระยะหนึ่งก็ตาม ในขณะที่สหภาพยุโรป เห็นว่าผลการเจรจาครั้งนี้สามารถตกลงกันในสาระได้เป็นส่วนใหญ่ จะเหลือเพียงเรื่อง SSM ระหว่างสหรัฐฯ และอินเดียเท่านั้น จึงยังมีช่องทางให้มีการเจรจาในช่วงเดือนกันยายนนี้อีกครั้ง แต่หากไม่สามารถจัดขึ้นได้ จะส่งผลให้การเจรจารอบโดฮาจะระงับไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อันมีสาเหตุมาจากการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ในประเทศสมาชิกสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอินเดีย
นายมณฑล ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ในส่วนของไทยนั้น เป็นที่น่าเสียดายมาก เนื่องจากประเด็น SSM ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เปรียบเสมือนการสะดุดยอดหญ้าหกล้มในช่วงเข้าโค้งสุดท้าย ซึ่งได้ส่งผลต่อประเด็นหลักในการเจรจาที่ตกลงกันได้แล้วด้วย กล่าวคือ การลดการอุดหนุนภายใน และการลด/เลิกการอุดหนุนการส่งออกของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจะทำให้การค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีความเป็นธรรมมากขึ้น ทำให้ไทยเสียโอกาสในการค้าสินค้าเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลายประเทศจะหันมาเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) เพิ่มขึ้น โดยจะใช้ข้อสรุปในประเด็นหลักที่สามารถตกลงกันได้แล้วจากการเจรจารอบที่ผ่านมานี้เป็นพื้นฐานในการเจรจาด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-