1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนสิงหาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.694 ล้านตัน หรือร้อยละ 7.90 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 48.97
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 7 ส.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 78,920 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 1,168,064 ตัน คิดเป็นร้อยละ 46.72 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ การค้าข้าวยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดภายในและตลาดส่งออกค่อนข้างชะลอตัว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 1 สิงหาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.884 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.725 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.69 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,011 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,037 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,419 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,414 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,355 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,189 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,490 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,270 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 935 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,201 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,199 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 794 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,496 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 26,543 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 47 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 681 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,725 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 684 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 22,751 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,598 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,605 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3700 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 เวียดนามอาจจะตัดภาษีส่งออกข้าว องค์กรอาหารของเวียดนาม(Vietnam Food Association : VFA) ได้เสนอต่อรัฐบาลเวียดนามให้ตัดหรือปรับภาษีส่งออกข้าวที่เก็บอยู่ในอัตราระหว่าง 500,000 ด็อง (หรือ 29.90 เหรียญสหรัฐ) ถึง 2.9 ล้านด็อง (หรือ ประมาณ 173.70 เหรียญสหรัฐ) ต่อตันลง เนื่องจากราคาสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งราคาข้าวภายในประเทศได้ลดลง โดยรายงานว่าขณะนี้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ระหว่าง 620 — 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะเดียวกันราคาข้าวในตลาดโลกอยู่ระหว่าง 750 — 780 เหรียญสหรัฐต่อตัน อนึ่งจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามคาดว่าในเดือนสิงหาคมนี้จะส่งออกข้าวประมาณ 500,000 ตัน โดยในเจ็ดเดือนแรกของปีนี้เวียดนามได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงร้อยละ 6.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.6
2.2 คูเวตเช่าที่ทำนาของกัมพูชา นายคาเล็ด อัลจารัลเลาะห์ (Khaled Al-Jarallah) เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศของคูเวตเปิดเผยว่า คูเวตได้เช่าที่นาหลายแปลงในกัมพูชาซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการบริโภคภายใน ประเทศและจะส่งออกข้าวส่วนที่เกินสู่ตลาด ในการนี้ ทางการคูเวตยังได้เจรจากับกัมพูชาเรื่องการลงทุนด้านน้ำมัน อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวอีกด้วย เนื่องจากวิกฤติอาหารโลกทำให้คูเวตซึ่งเป็นประเทศนำเข้าอาหารประสบปัญหาราคาอาหารแพงขึ้นส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อร้อยละ 11 เมื่อเดือน เมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา และการที่คูเวตมีความต้องการที่จะลงทุนเกี่ยวกับไก่และพืชไร่อื่น ๆ นั้นเนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการอาหารแห่งชาติ (National food plan) รวมทั้งการวางแผนที่จะนำเข้าอาหารจากประเทศในแถบเอเชีย อนึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายอาหมัด บาเคอร์ (Ahmad Baqer) รัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรม ได้เสนอต่อรัฐบาลคูเวตว่าควรจะมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศในกลุ่มอ่าวอาหรับ (Gulf Arab states) ในการลงทุนด้านอาหารและฟาร์มเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้เสนอว่าควรจะมีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นในประเทศซูดาน อียิปต์ ยูเครน ปากีสถานและตุรกี เกี่ยวกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง ข้าวและฟางหรือหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนสิงหาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.694 ล้านตัน หรือร้อยละ 7.90 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 48.97
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 7 ส.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 78,920 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 1,168,064 ตัน คิดเป็นร้อยละ 46.72 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ การค้าข้าวยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดภายในและตลาดส่งออกค่อนข้างชะลอตัว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 1 สิงหาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.884 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.725 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.69 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,011 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,037 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,419 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,414 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,355 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,189 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,490 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,270 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 935 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,201 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,199 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 794 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,496 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 26,543 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 47 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 681 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,725 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 684 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 22,751 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,598 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,605 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3700 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 เวียดนามอาจจะตัดภาษีส่งออกข้าว องค์กรอาหารของเวียดนาม(Vietnam Food Association : VFA) ได้เสนอต่อรัฐบาลเวียดนามให้ตัดหรือปรับภาษีส่งออกข้าวที่เก็บอยู่ในอัตราระหว่าง 500,000 ด็อง (หรือ 29.90 เหรียญสหรัฐ) ถึง 2.9 ล้านด็อง (หรือ ประมาณ 173.70 เหรียญสหรัฐ) ต่อตันลง เนื่องจากราคาสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งราคาข้าวภายในประเทศได้ลดลง โดยรายงานว่าขณะนี้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ระหว่าง 620 — 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะเดียวกันราคาข้าวในตลาดโลกอยู่ระหว่าง 750 — 780 เหรียญสหรัฐต่อตัน อนึ่งจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามคาดว่าในเดือนสิงหาคมนี้จะส่งออกข้าวประมาณ 500,000 ตัน โดยในเจ็ดเดือนแรกของปีนี้เวียดนามได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงร้อยละ 6.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.6
2.2 คูเวตเช่าที่ทำนาของกัมพูชา นายคาเล็ด อัลจารัลเลาะห์ (Khaled Al-Jarallah) เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศของคูเวตเปิดเผยว่า คูเวตได้เช่าที่นาหลายแปลงในกัมพูชาซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการบริโภคภายใน ประเทศและจะส่งออกข้าวส่วนที่เกินสู่ตลาด ในการนี้ ทางการคูเวตยังได้เจรจากับกัมพูชาเรื่องการลงทุนด้านน้ำมัน อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวอีกด้วย เนื่องจากวิกฤติอาหารโลกทำให้คูเวตซึ่งเป็นประเทศนำเข้าอาหารประสบปัญหาราคาอาหารแพงขึ้นส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อร้อยละ 11 เมื่อเดือน เมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา และการที่คูเวตมีความต้องการที่จะลงทุนเกี่ยวกับไก่และพืชไร่อื่น ๆ นั้นเนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการอาหารแห่งชาติ (National food plan) รวมทั้งการวางแผนที่จะนำเข้าอาหารจากประเทศในแถบเอเชีย อนึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายอาหมัด บาเคอร์ (Ahmad Baqer) รัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรม ได้เสนอต่อรัฐบาลคูเวตว่าควรจะมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศในกลุ่มอ่าวอาหรับ (Gulf Arab states) ในการลงทุนด้านอาหารและฟาร์มเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้เสนอว่าควรจะมีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นในประเทศซูดาน อียิปต์ ยูเครน ปากีสถานและตุรกี เกี่ยวกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง ข้าวและฟางหรือหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2551--
-พห-