สศก.ลงพื้นที่ประเมินผลการจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ
กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “อัญเชิญแม่โพสพคืนนา” เพื่อร่วมเฉลิมพระชนมพรรษา 76 พรรษาพระราชินี ที่อ่างทอง รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้าน สศก. เผยผลการประเมินพบผู้ร่วมงานส่วนใหญ่พอใจ กว่า 80 % รู้สึกรัก ผูกพัน และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทำนามากขึ้น
นายพลเวท ท้าวมหาวษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดงาน “อัญเชิญแม่โพสพคืนนา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 76 พรรษา ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมในพิธีอัญเชิญแม่โพสพคืนนา พร้อมพระราชทานขวัญข้าวขึ้นยุ้ง พันธุ์ข้าวแก่เกษตรกร รวมทั้งองค์จำลองแม่โพสพแก่นายกรัฐมนตรี ผู้แทนจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวนาไทย เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2551 และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้าวตลอดจนเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและยึดถือเป็นแนวทางในการดำนินชีวิต
ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ประเมินผลการจัดงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านข้าวและชาวนาไทย นิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ กิจกรรมการแสดงศิปวัฒนธรรมประเพณีข้าว โดยเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว 4 ภาค จัดเป็นพิธีจริงเพื่อให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของวิถีชีวิตของชาวนาไทย รวมทั้งเวทีชาวนาในการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 4 เวที เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ในประเด็นด้านข้าวโดยผู้เกี่ยวข้อง
โดยการประเมินผล พบว่า มีจำนวนผู้มารับเสด็จและร่วมกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 7,000 ราย โดยเป็นเกษตรกรประมาณ 5,000 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 79 เป็นชาวนาซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี เกษตรกรที่ได้รับชมพิธีกรรม วัฒนธรรม และประเพณีเกี่ยวกับข้าว ทุกราย (ร้อยละ 100) มีความพึงพอใจที่ได้ชมพิธีกรรมต่างๆ ร้อยละ 81 รู้สึกรัก ผูกพัน และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทำนามากขึ้น และร้อยละ 73 เห็นว่าการจัดพิธียังช่วยให้ไม่ลืมเลือนประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าว และเป็นการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ด้านการทำพิธีกรรมของเกษตรกร ร้อยละ 46 เคยทำพิธีกรรมมาก่อน หลังจากดูพิธีกรรมแล้วคิดว่าจะนำไปทำ ร้อยละ 55
ส่วนผู้ที่คิดว่าจะไม่ทำเห็นว่าการทำพิธีกรรมดังกล่าวเหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาปี ซึ่งตนเองทำนาปีละ 2 - 3 ครั้ง เกษตรกรอยากให้ขยายการจัดทำพิธีไปในภาคต่างๆ พร้อมทั้งจัดหาพ่อหมอแม่หมอพื้นบ้านทำพิธีด้วย นอกจากนี้ยังมีเวทีชาวนา เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น แนวทางในการปรับปรุงและวางนโยบายด้านข้าวและชาวนาต่อไป ส่วนผลการทัศนศึกษาชมกิจกรรมต่างๆ ภายในฟาร์มตัวอย่างฯ เกษตรกรที่มาทัศนศึกษาส่วนใหญ่คือร้อยละ 51 คิดว่าได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในระดับมาก ร้อยละ39 ระดับปานกลาง โดยเกษตรกรร้อยละ 59 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมที่ชุมชนของตนเอง แสดงให้เห็นถึงความสนใจของเกษตรกรที่ต้องการนำความรู้ไปใช้จริงในการประกอบอาชีพของตน นายพลเวท กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “อัญเชิญแม่โพสพคืนนา” เพื่อร่วมเฉลิมพระชนมพรรษา 76 พรรษาพระราชินี ที่อ่างทอง รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้าน สศก. เผยผลการประเมินพบผู้ร่วมงานส่วนใหญ่พอใจ กว่า 80 % รู้สึกรัก ผูกพัน และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทำนามากขึ้น
นายพลเวท ท้าวมหาวษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดงาน “อัญเชิญแม่โพสพคืนนา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 76 พรรษา ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมในพิธีอัญเชิญแม่โพสพคืนนา พร้อมพระราชทานขวัญข้าวขึ้นยุ้ง พันธุ์ข้าวแก่เกษตรกร รวมทั้งองค์จำลองแม่โพสพแก่นายกรัฐมนตรี ผู้แทนจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวนาไทย เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2551 และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้าวตลอดจนเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและยึดถือเป็นแนวทางในการดำนินชีวิต
ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ประเมินผลการจัดงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านข้าวและชาวนาไทย นิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ กิจกรรมการแสดงศิปวัฒนธรรมประเพณีข้าว โดยเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว 4 ภาค จัดเป็นพิธีจริงเพื่อให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของวิถีชีวิตของชาวนาไทย รวมทั้งเวทีชาวนาในการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 4 เวที เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ในประเด็นด้านข้าวโดยผู้เกี่ยวข้อง
โดยการประเมินผล พบว่า มีจำนวนผู้มารับเสด็จและร่วมกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 7,000 ราย โดยเป็นเกษตรกรประมาณ 5,000 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 79 เป็นชาวนาซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี เกษตรกรที่ได้รับชมพิธีกรรม วัฒนธรรม และประเพณีเกี่ยวกับข้าว ทุกราย (ร้อยละ 100) มีความพึงพอใจที่ได้ชมพิธีกรรมต่างๆ ร้อยละ 81 รู้สึกรัก ผูกพัน และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทำนามากขึ้น และร้อยละ 73 เห็นว่าการจัดพิธียังช่วยให้ไม่ลืมเลือนประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าว และเป็นการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ด้านการทำพิธีกรรมของเกษตรกร ร้อยละ 46 เคยทำพิธีกรรมมาก่อน หลังจากดูพิธีกรรมแล้วคิดว่าจะนำไปทำ ร้อยละ 55
ส่วนผู้ที่คิดว่าจะไม่ทำเห็นว่าการทำพิธีกรรมดังกล่าวเหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาปี ซึ่งตนเองทำนาปีละ 2 - 3 ครั้ง เกษตรกรอยากให้ขยายการจัดทำพิธีไปในภาคต่างๆ พร้อมทั้งจัดหาพ่อหมอแม่หมอพื้นบ้านทำพิธีด้วย นอกจากนี้ยังมีเวทีชาวนา เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น แนวทางในการปรับปรุงและวางนโยบายด้านข้าวและชาวนาต่อไป ส่วนผลการทัศนศึกษาชมกิจกรรมต่างๆ ภายในฟาร์มตัวอย่างฯ เกษตรกรที่มาทัศนศึกษาส่วนใหญ่คือร้อยละ 51 คิดว่าได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในระดับมาก ร้อยละ39 ระดับปานกลาง โดยเกษตรกรร้อยละ 59 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมที่ชุมชนของตนเอง แสดงให้เห็นถึงความสนใจของเกษตรกรที่ต้องการนำความรู้ไปใช้จริงในการประกอบอาชีพของตน นายพลเวท กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-