สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรโคราช พบ ระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดในช่วงการปลูกมันสำปะหลังใหม่ๆ ของต้นฤดูฝนหรือฤดูแล้ง จนกว่าฝนตามธรรมชาติจะตกอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มผลผลิตเกือบเท่าตัวจากเดิม 4 — 5 ตัน เป็น 8 ตันต่อไร่ โดยลงทุนเพียงปีละ 1,300 บาทต่อไร่
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอหนองบุญมาก อำเภอเสิงสาง และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พบวิธีแก้ปัญหามันสำปะหลังขาดน้ำในช่วงอายุหลังปลูกใหม่ๆ โดยการนำเทคโนโลยี การให้น้ำ แบบน้ำหยด มาใช้โดยเฉพาะเมื่อประสบปัญหาฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นผลทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต และการให้น้ำแก่มันสำปะหลังแบบน้ำหยดจะนิยมให้เฉพาะช่วงปลูกใหม่ๆ ในช่วงต้นฤดูฝนหรือฤดูแล้ง ปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายในพื้นที่ดังกล่าวได้นำวิธีการให้น้ำแบบหยดมาทดลองใช้กับการปลูกมันสำปะหลังแล้ว เป็นเวลานานถึง 4 — 5 ปี และประสบผลสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลังเป็นอย่างดี ซึ่งพบว่า มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับมันสำปะหลังที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ทำให้มีรายได้จากการขายผลผลิตมันสำปะหลังคุ้มกับการลงทุน ยิ่งปัจจุบัน ราคามันสำปะหลังสด มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 1.50 — 2.00 บาท/กิโลกรัม ยิ่งทำให้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถให้น้ำหยดได้จะต้องมีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอ เช่น แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำบาดาล และบ่อน้ำตื้น เป็นต้น
นายอุดมกล่าวว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์นายเลิศ ชุดกระโทก เกษตกรผู้ปลูกมันสำปะหลังโดยการให้น้ำแบบน้ำหยด ที่ได้ทดลองปลูกในพื้นที่ 15 ไร่ มาเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม และใช้น้ำจากการปั๊มจากบ่อน้ำที่ขุดในแปลงปลูกมันสำปะหลังจะให้น้ำแบบหยดในช่วงแรกทุกวัน วันละ 1 ครั้ง หรือ 2 วันต่อ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน ให้น้ำไปจนกว่าฝนตามธรรมชาติจะตกอย่างสม่ำเสมอ และมันสำปะหลังตั้งตัวได้ดีแล้วซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 — 4 เดือน ทั้งนี้ ระยะเวลาการให้น้ำจะขึ้นอยู่กับการตกของฝนธรรมชาติ วิธีดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังในช่วงหลังปลูกไม่ขาดน้ำ การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ แตกต่างจากมันสำปะหลังที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อครบอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 12 เดือน ผลผลิตจากเคยได้ 4 — 5 ตันต่อไร่ จะเพิ่มเป็นประมาณ 8 ตันต่อไร่ ส่วนการลงทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งสายยาง ท่อน้ำพีวีซี และวาล์ว ในปีแรกประมาณ 6,500 บาทต่อไร่ สามารถใช้ได้เป็นเวลา ประมาณ 5 ปี (5 รุ่น) เฉลี่ยค่าลงทุน วัสดุอุปกรณ์ปีละ 1,300 บาทต่อไร่ หากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังท่านใดสนใจ วิธีการดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือไปศึกษาดูงานจาก นายเลิศ ชุดกระโทก ได้ที่บ้านหนองตะลุมปุ๊ก ตำบลหนองไม้ไผ่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา เบอร์ โทรศัพท์ 087 244 7109
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอหนองบุญมาก อำเภอเสิงสาง และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พบวิธีแก้ปัญหามันสำปะหลังขาดน้ำในช่วงอายุหลังปลูกใหม่ๆ โดยการนำเทคโนโลยี การให้น้ำ แบบน้ำหยด มาใช้โดยเฉพาะเมื่อประสบปัญหาฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นผลทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต และการให้น้ำแก่มันสำปะหลังแบบน้ำหยดจะนิยมให้เฉพาะช่วงปลูกใหม่ๆ ในช่วงต้นฤดูฝนหรือฤดูแล้ง ปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายในพื้นที่ดังกล่าวได้นำวิธีการให้น้ำแบบหยดมาทดลองใช้กับการปลูกมันสำปะหลังแล้ว เป็นเวลานานถึง 4 — 5 ปี และประสบผลสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลังเป็นอย่างดี ซึ่งพบว่า มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับมันสำปะหลังที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ทำให้มีรายได้จากการขายผลผลิตมันสำปะหลังคุ้มกับการลงทุน ยิ่งปัจจุบัน ราคามันสำปะหลังสด มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 1.50 — 2.00 บาท/กิโลกรัม ยิ่งทำให้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถให้น้ำหยดได้จะต้องมีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอ เช่น แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำบาดาล และบ่อน้ำตื้น เป็นต้น
นายอุดมกล่าวว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์นายเลิศ ชุดกระโทก เกษตกรผู้ปลูกมันสำปะหลังโดยการให้น้ำแบบน้ำหยด ที่ได้ทดลองปลูกในพื้นที่ 15 ไร่ มาเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม และใช้น้ำจากการปั๊มจากบ่อน้ำที่ขุดในแปลงปลูกมันสำปะหลังจะให้น้ำแบบหยดในช่วงแรกทุกวัน วันละ 1 ครั้ง หรือ 2 วันต่อ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน ให้น้ำไปจนกว่าฝนตามธรรมชาติจะตกอย่างสม่ำเสมอ และมันสำปะหลังตั้งตัวได้ดีแล้วซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 — 4 เดือน ทั้งนี้ ระยะเวลาการให้น้ำจะขึ้นอยู่กับการตกของฝนธรรมชาติ วิธีดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังในช่วงหลังปลูกไม่ขาดน้ำ การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ แตกต่างจากมันสำปะหลังที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อครบอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 12 เดือน ผลผลิตจากเคยได้ 4 — 5 ตันต่อไร่ จะเพิ่มเป็นประมาณ 8 ตันต่อไร่ ส่วนการลงทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งสายยาง ท่อน้ำพีวีซี และวาล์ว ในปีแรกประมาณ 6,500 บาทต่อไร่ สามารถใช้ได้เป็นเวลา ประมาณ 5 ปี (5 รุ่น) เฉลี่ยค่าลงทุน วัสดุอุปกรณ์ปีละ 1,300 บาทต่อไร่ หากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังท่านใดสนใจ วิธีการดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือไปศึกษาดูงานจาก นายเลิศ ชุดกระโทก ได้ที่บ้านหนองตะลุมปุ๊ก ตำบลหนองไม้ไผ่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา เบอร์ โทรศัพท์ 087 244 7109
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-