1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เตรียมขยายกำลังการผลิตปลานิลเพื่อส่งออกต่างประเทศ
ดร. จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้กรมประมงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ สำรวจการเพาะเลี้ยงปลานิลของเกษตรกรว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด และได้มาตรฐานหรือไม่ รวมทั้งรูปแบบการเลี้ยง เพื่อที่จะนำมาเป็นข้อมูลในการขยายกำลังการผลิตป้อนโรงงาน เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ตามนโยบายการผลักดันปลานิลเพื่อการส่งออก ซึ่งที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการทำแผนโครงการต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตปลานิลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อบรมเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาการผลิตปลานิลให้ได้คุณภาพดี
ท่านรองฯ ได้กล่าวอีกว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตนและคณะนักวิชาการประมงก็ได้เดินทางลงพื้นที่ไปดูฟาร์มของคุณพรชัย บัวประดิษฐ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจังหวัดชลบุรี รวมทั้งได้มีการหารือกับกลุ่มเกษตรกรรายอื่นๆ ทำให้ได้ทราบว่า ขณะนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจังหวัดชลบุรี จำนวน 93 ราย ได้มีการรวมกลุ่มกันผลิตปลานิลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในการส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงมาก เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถผลิตปลานิลส่งโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกได้ถึง 30 ตัน/เดือน เป็นการสร้างรายได้อย่างมากมายให้กับพวกเขา ไม่เพียงแต่กลุ่มเกษตรกรที่ชลบุรีเท่านั้น ที่จังหวัดเชียงราย และสุพรรณบุรี ก็มีการรวมกลุ่มเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งกรมประมงก็ให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบซื้อขายโดยตรง ระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและผู้ประกอบการด้านการแปรรูป ถือเป็นการบริหารจัดการให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อได้มีที่รองรับในการซื้อขาย อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การผลิตปลานิลและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 ก.ค. — 5 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 825.74 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 520.43 ตัน สัตว์น้ำจืด 305.31 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.11 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.80 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 97.24 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.79 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.36 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 29 ส.ค.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 - 31 สิงหาคม 2551--
-พห-
การผลิต
เตรียมขยายกำลังการผลิตปลานิลเพื่อส่งออกต่างประเทศ
ดร. จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้กรมประมงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ สำรวจการเพาะเลี้ยงปลานิลของเกษตรกรว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด และได้มาตรฐานหรือไม่ รวมทั้งรูปแบบการเลี้ยง เพื่อที่จะนำมาเป็นข้อมูลในการขยายกำลังการผลิตป้อนโรงงาน เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ตามนโยบายการผลักดันปลานิลเพื่อการส่งออก ซึ่งที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการทำแผนโครงการต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตปลานิลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อบรมเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาการผลิตปลานิลให้ได้คุณภาพดี
ท่านรองฯ ได้กล่าวอีกว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตนและคณะนักวิชาการประมงก็ได้เดินทางลงพื้นที่ไปดูฟาร์มของคุณพรชัย บัวประดิษฐ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจังหวัดชลบุรี รวมทั้งได้มีการหารือกับกลุ่มเกษตรกรรายอื่นๆ ทำให้ได้ทราบว่า ขณะนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจังหวัดชลบุรี จำนวน 93 ราย ได้มีการรวมกลุ่มกันผลิตปลานิลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในการส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงมาก เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถผลิตปลานิลส่งโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกได้ถึง 30 ตัน/เดือน เป็นการสร้างรายได้อย่างมากมายให้กับพวกเขา ไม่เพียงแต่กลุ่มเกษตรกรที่ชลบุรีเท่านั้น ที่จังหวัดเชียงราย และสุพรรณบุรี ก็มีการรวมกลุ่มเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งกรมประมงก็ให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบซื้อขายโดยตรง ระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและผู้ประกอบการด้านการแปรรูป ถือเป็นการบริหารจัดการให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อได้มีที่รองรับในการซื้อขาย อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การผลิตปลานิลและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 ก.ค. — 5 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 825.74 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 520.43 ตัน สัตว์น้ำจืด 305.31 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.11 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.80 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 97.24 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.79 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.36 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 29 ส.ค.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 - 31 สิงหาคม 2551--
-พห-