สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย ญี่ปุ่นนำเข้าแป้งดิบและแป้งแปรรูปปีละ 4.0 — 4.5 แสนตัน โดยนำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 60 คาด อีก 5 ปี ญี่ปุ่นมีความต้องการอยู่ในระดับ 3.4 ล้านตัน แนะพัฒนาพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิต พร้อมผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกแป้งมันสำปะหลังในตลาดญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นมีความต้องการใช้แป้งประมาณปีละ 3.0 — 3.2 ล้านตัน โดยสามารถผลิตแป้งจากมันฝรั่งและมันเทศ ได้ประมาณ 3 แสนตัน หรือ ร้อยละ 9 ของความต้องการใช้ทั้งหมด และนำเข้าเมล็ดข้าวโพด เพื่อผลิตแป้งอีกประมาณร้อยละ 74 ที่เหลือเป็นการนำเข้าในรูปแป้ง ทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป โดยมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในรูป corn syrup, glucose syrup, maltodextrin ประมาณร้อยละ 57 ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษประมาณร้อยละ 16 — 20 ที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ
สำหรับการนำเข้า ญี่ปุ่นนำเข้าแป้งดิบและแป้งแปรรูปปีละ 4.0 — 4.5 แสนตัน โดยนำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 60 ของแป้งนำเข้าทั้งหมด ในปี 2550 นำเข้าแป้งดิบจากไทย 138,000 ตัน ซึ่งผู้นำเข้าแป้งดิบจะได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าโดยไม่เสียภาษีนำเข้า แต่ต้องรับซื้อแป้งมันฝรั่งและมันเทศที่ผลิตในประเทศรวมถึงจ่ายภาษีเพิ่มเติม (levy) ที่คำนวณจากส่วนต่างของค่าเฉลี่ยของราคาแป้งนำเข้าและแป้งในประเทศ สำหรับแป้งแปรรูปตามความตกลง JTEPA ไทย ได้รับโควตาจำนวน 200,000 ตันโดยไม่เสียภาษี ซึ่งในปี 2550 นำเข้าแป้งแปรรูปจากไทย 240,000 ตัน ส่วนที่เกินโควตาต้องเสียภาษีร้อยละ 6.8
โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการแป้งของญี่ปุ่นอยู่ในระดับ 3.4 ล้านตัน ส่วนราคาข้าวโพด มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในปีนี้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบข้าวโพดของญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลนจากการนำข้าวโพดไปใช้เป็นวัตถุดิบพลังงานทดแทนจำนวนมาก ขณะที่การผลิตขยายตัวได้ไม่ทันกับความต้องการ โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอร์รี่และอาหารแช่เย็นแช่เข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจและปัจจุบันผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้อาหารมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า (shelf life) ยาวนานขึ้น โดยแป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่น คือ ปราศจากสีและกลิ่น มีความบริสุทธิ์สูง มีความเหนียวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้เป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน
และเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไทยในตลาดญี่ปุ่นให้มากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ และประโยชน์แก่เกษตรกร จำเป็นต้องดำเนินการ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแป้งมันให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ พัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อการผลิตแป้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่มันสำปะหลังให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับแป้งข้าวโพดได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการใช้แป้งมันไทย (Application) ในอุตสาหกรรมอาหาร และการเจรจาและผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกแป้งมันสำปะหลังในตลาดญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นมีความต้องการใช้แป้งประมาณปีละ 3.0 — 3.2 ล้านตัน โดยสามารถผลิตแป้งจากมันฝรั่งและมันเทศ ได้ประมาณ 3 แสนตัน หรือ ร้อยละ 9 ของความต้องการใช้ทั้งหมด และนำเข้าเมล็ดข้าวโพด เพื่อผลิตแป้งอีกประมาณร้อยละ 74 ที่เหลือเป็นการนำเข้าในรูปแป้ง ทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป โดยมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในรูป corn syrup, glucose syrup, maltodextrin ประมาณร้อยละ 57 ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษประมาณร้อยละ 16 — 20 ที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ
สำหรับการนำเข้า ญี่ปุ่นนำเข้าแป้งดิบและแป้งแปรรูปปีละ 4.0 — 4.5 แสนตัน โดยนำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 60 ของแป้งนำเข้าทั้งหมด ในปี 2550 นำเข้าแป้งดิบจากไทย 138,000 ตัน ซึ่งผู้นำเข้าแป้งดิบจะได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าโดยไม่เสียภาษีนำเข้า แต่ต้องรับซื้อแป้งมันฝรั่งและมันเทศที่ผลิตในประเทศรวมถึงจ่ายภาษีเพิ่มเติม (levy) ที่คำนวณจากส่วนต่างของค่าเฉลี่ยของราคาแป้งนำเข้าและแป้งในประเทศ สำหรับแป้งแปรรูปตามความตกลง JTEPA ไทย ได้รับโควตาจำนวน 200,000 ตันโดยไม่เสียภาษี ซึ่งในปี 2550 นำเข้าแป้งแปรรูปจากไทย 240,000 ตัน ส่วนที่เกินโควตาต้องเสียภาษีร้อยละ 6.8
โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการแป้งของญี่ปุ่นอยู่ในระดับ 3.4 ล้านตัน ส่วนราคาข้าวโพด มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในปีนี้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบข้าวโพดของญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลนจากการนำข้าวโพดไปใช้เป็นวัตถุดิบพลังงานทดแทนจำนวนมาก ขณะที่การผลิตขยายตัวได้ไม่ทันกับความต้องการ โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอร์รี่และอาหารแช่เย็นแช่เข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจและปัจจุบันผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้อาหารมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า (shelf life) ยาวนานขึ้น โดยแป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่น คือ ปราศจากสีและกลิ่น มีความบริสุทธิ์สูง มีความเหนียวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้เป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน
และเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไทยในตลาดญี่ปุ่นให้มากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ และประโยชน์แก่เกษตรกร จำเป็นต้องดำเนินการ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแป้งมันให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ พัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อการผลิตแป้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่มันสำปะหลังให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับแป้งข้าวโพดได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการใช้แป้งมันไทย (Application) ในอุตสาหกรรมอาหาร และการเจรจาและผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-