สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ร่วมกับจังหวัดหนองคาย ผลักดันโครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศโรงงาน ภายใต้การแบ่งเขตพื้นที่ตามความเหมาะสม พร้อมส่งสริมการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อพัฒนาผลผลิต และภาคการตลาด ระหว่างเกษตรกรกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า มะเขือเทศ ถือเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้คุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าจะมีการทำ Contract ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศกับเกษตรกรแล้วก็ตาม จะเห็นได้ว่าผลผลิตมะเขือเทศจังหวัดหนองคายในปี 2550 มีจำนวน 28,490 ตัน ความต้องการของโรงงานในจังหวัดหนองคาย รวม 105,000 ตัน แต่โรงงานทำContract กับเกษตรกรเพียงร้อยละ 60 ของผลผลิตทั้งหมด เนื่องจากผลผลิตไม่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของโรงงาน
จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ได้จัดประชุมหารือ โครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศโรงงาน ภายใต้การแบ่งเขตพื้นที่ตามความเหมาะสมของจังหวัดหนองคาย ณ โรงแรมหนองคายแกรนด์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาระหว่างภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมมะเขือเทศ เกษตรกรผู้ผลิต และหน่วยงานราชการในจังหวัดหนองคาย เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศ ในเขตพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานแปรรูปที่เพิ่มขึ้น และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
ซึ่งที่ประชุมได้สรุปร่วมกันว่า การจัดทำโครงการนำร่องฯ จะดำเนินการในรูปคณะทำงานฯ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เป็นเลขานุการ พร้อมด้วยภาคราชการ ภาคเอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงงานแปรรูป และเกษตรกร ร่วมกันกำหนดเขตพื้นที่ตามความเหมาะสม มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ควบคุมการใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่เหมาะสมปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ได้ใบรับรองคุณภาพ(GAP) อีกทั้งส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มทั้งที่เป็นทางการ (ในรูปของสหกรณ์) และไม่เป็นทางการ (กลุ่มเกษตรกร) เพื่อง่ายต่อการวางแผนการผลิตและมีอำนาจในการต่อรองด้านราคา ซึ่งคาดว่า การดำเนินงานโครงการฯจะทำให้การผลิตมะเขือเทศมีผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงาน เกิดผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศอย่างยั่งยืน และยังเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า มะเขือเทศ ถือเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้คุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าจะมีการทำ Contract ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศกับเกษตรกรแล้วก็ตาม จะเห็นได้ว่าผลผลิตมะเขือเทศจังหวัดหนองคายในปี 2550 มีจำนวน 28,490 ตัน ความต้องการของโรงงานในจังหวัดหนองคาย รวม 105,000 ตัน แต่โรงงานทำContract กับเกษตรกรเพียงร้อยละ 60 ของผลผลิตทั้งหมด เนื่องจากผลผลิตไม่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของโรงงาน
จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ได้จัดประชุมหารือ โครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศโรงงาน ภายใต้การแบ่งเขตพื้นที่ตามความเหมาะสมของจังหวัดหนองคาย ณ โรงแรมหนองคายแกรนด์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาระหว่างภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมมะเขือเทศ เกษตรกรผู้ผลิต และหน่วยงานราชการในจังหวัดหนองคาย เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศ ในเขตพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานแปรรูปที่เพิ่มขึ้น และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
ซึ่งที่ประชุมได้สรุปร่วมกันว่า การจัดทำโครงการนำร่องฯ จะดำเนินการในรูปคณะทำงานฯ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เป็นเลขานุการ พร้อมด้วยภาคราชการ ภาคเอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงงานแปรรูป และเกษตรกร ร่วมกันกำหนดเขตพื้นที่ตามความเหมาะสม มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ควบคุมการใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่เหมาะสมปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ได้ใบรับรองคุณภาพ(GAP) อีกทั้งส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มทั้งที่เป็นทางการ (ในรูปของสหกรณ์) และไม่เป็นทางการ (กลุ่มเกษตรกร) เพื่อง่ายต่อการวางแผนการผลิตและมีอำนาจในการต่อรองด้านราคา ซึ่งคาดว่า การดำเนินงานโครงการฯจะทำให้การผลิตมะเขือเทศมีผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงาน เกิดผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศอย่างยั่งยืน และยังเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-