แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (6-12 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 717.76 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 464.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 253.32 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.64 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.40 ตัน
การตลาด
ชุมนุมสหกรณ์ร่วมกับบริษัทฮาร์เนตฯ ส่งออกกุ้งชีวภาพตลาดญี่ปุ่น
นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดโรดโชว์นิทรรศการสินค้ากุ้งชีวภาพ (Bio-Shrimp) ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคได้รับทราบและมั่นใจในสินค้ากุ้งชีวภาพของไทยภายใต้แบรนด์ Siam Bio-shrimp พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าของญี่ปุ่นได้พบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกไทยด้วย ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ Bio-shrimp ได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าและผู้บริโภคญี่ปุ่นมาก
ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยูกับ Mr. Frank D.Hart ประธานบริษัท ฮาร์เนต คอร์ปอร์เรชั่น (Harnet Corp.) เพื่อแต่งตั้งให้บริษัทดังกล่าว เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้ากุ้ง Siam Bio-shrimp ในประเทศญี่ปุ่น โดยระบุให้บริษัท ฮาร์เนตฯ เป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายในช่วงระยะเวลา 2 ปี ช่วงปีแรกที่คาดว่าจะมีการส่งออกได้ประมาณ 500 ตัน มูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท ปัจจุบันสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำจันทบุรี จำกัด มีการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามแบบชีวภาพป้อนตลาด โดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะทุกชนิด ซึ่งผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย นายสรพล กล่าวว่าแนวโน้มกุ้ง Bio-shrimp ของไทยจะได้รับความนิยม ในตลาดญี่ปุ่น ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากญี่ปุ่นมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหารมาก ซึ่ง มกอช. จะพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดมาตรฐานต่อไป
นายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไทยผลิตกุ้งชีวภาพ ได้น้อยเพียง 3,000 ตันต่อปี ขณะที่กุ้งทั่วไปมีผลผลิตสูงถึง 5 แสนตัน ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงกุ้งชีวภาพมีขั้นตอนที่ยุ่งยากโดยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และปริมาณการเลี้ยงน้อยกว่ากุ้งทั่วไป เราหารือกับญี่ปุ่นเพื่อจะส่งออกกุ้งมีชีวิต จากปัจจุบันที่ส่งออกกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง ซึ่งอาจจะทำให้รสชาติกุ้งเปลี่ยนไป เขาต้องการกุ้งสดจริงๆ ซึ่งจะทำให้กุ้งชีวภาพของไทยมีราคาสูงขึ้น และตลาดญี่ปุ่นยังให้สิทธิจากความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจหรือเจเทปาด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.36 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 ส.ค. - 5 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1 - 7 กันยายน 2551--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (6-12 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 717.76 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 464.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 253.32 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.64 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.40 ตัน
การตลาด
ชุมนุมสหกรณ์ร่วมกับบริษัทฮาร์เนตฯ ส่งออกกุ้งชีวภาพตลาดญี่ปุ่น
นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดโรดโชว์นิทรรศการสินค้ากุ้งชีวภาพ (Bio-Shrimp) ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคได้รับทราบและมั่นใจในสินค้ากุ้งชีวภาพของไทยภายใต้แบรนด์ Siam Bio-shrimp พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าของญี่ปุ่นได้พบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกไทยด้วย ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ Bio-shrimp ได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าและผู้บริโภคญี่ปุ่นมาก
ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยูกับ Mr. Frank D.Hart ประธานบริษัท ฮาร์เนต คอร์ปอร์เรชั่น (Harnet Corp.) เพื่อแต่งตั้งให้บริษัทดังกล่าว เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้ากุ้ง Siam Bio-shrimp ในประเทศญี่ปุ่น โดยระบุให้บริษัท ฮาร์เนตฯ เป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายในช่วงระยะเวลา 2 ปี ช่วงปีแรกที่คาดว่าจะมีการส่งออกได้ประมาณ 500 ตัน มูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท ปัจจุบันสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำจันทบุรี จำกัด มีการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามแบบชีวภาพป้อนตลาด โดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะทุกชนิด ซึ่งผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย นายสรพล กล่าวว่าแนวโน้มกุ้ง Bio-shrimp ของไทยจะได้รับความนิยม ในตลาดญี่ปุ่น ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากญี่ปุ่นมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหารมาก ซึ่ง มกอช. จะพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดมาตรฐานต่อไป
นายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไทยผลิตกุ้งชีวภาพ ได้น้อยเพียง 3,000 ตันต่อปี ขณะที่กุ้งทั่วไปมีผลผลิตสูงถึง 5 แสนตัน ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงกุ้งชีวภาพมีขั้นตอนที่ยุ่งยากโดยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และปริมาณการเลี้ยงน้อยกว่ากุ้งทั่วไป เราหารือกับญี่ปุ่นเพื่อจะส่งออกกุ้งมีชีวิต จากปัจจุบันที่ส่งออกกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง ซึ่งอาจจะทำให้รสชาติกุ้งเปลี่ยนไป เขาต้องการกุ้งสดจริงๆ ซึ่งจะทำให้กุ้งชีวภาพของไทยมีราคาสูงขึ้น และตลาดญี่ปุ่นยังให้สิทธิจากความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจหรือเจเทปาด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.36 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 ส.ค. - 5 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1 - 7 กันยายน 2551--
-พห-