สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา เดินหน้าจัดเก็บข้อมูลทางการเกษตรของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ด้วยเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informaties : GI) ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ วอนเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องร่วมมือ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านการเกษตรต่อไป
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทางการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณการเพาะปลูกและผลผลิตของพืชและสัตว์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ ไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทเรียน มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน ยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน พืชไร่พืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ทานตะวัน ปอแก้ว / ปอกระเจา ฝ้าย หอมแดง กระเทียม พืชผัก อ้อยและมันสำปะหลังโรงงาน ภายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
สำหรับการเก็บข้อมูลครั้งนี้ จะใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า (Geo — Informaties : GI) โดยการรวมเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (Remote sensing : RS) มาช่วยในการประมวลผลของเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต ให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุแหล่งเพาะปลูก หรือเนื้อที่เพาะปลูกด้วยภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Survey) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางพื้นดิน แล้วนำไปแปลงและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในการหาปริมาณการเพาะปลูกรวมทั้งผลผลิตต่อไป ตลอดจนเพื่อให้การปฏิบัติงานดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย สศข.5 จึงขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้โปรดให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านการเกษตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทางการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณการเพาะปลูกและผลผลิตของพืชและสัตว์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ ไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทเรียน มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน ยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน พืชไร่พืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ทานตะวัน ปอแก้ว / ปอกระเจา ฝ้าย หอมแดง กระเทียม พืชผัก อ้อยและมันสำปะหลังโรงงาน ภายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
สำหรับการเก็บข้อมูลครั้งนี้ จะใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า (Geo — Informaties : GI) โดยการรวมเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (Remote sensing : RS) มาช่วยในการประมวลผลของเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต ให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุแหล่งเพาะปลูก หรือเนื้อที่เพาะปลูกด้วยภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Survey) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางพื้นดิน แล้วนำไปแปลงและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในการหาปริมาณการเพาะปลูกรวมทั้งผลผลิตต่อไป ตลอดจนเพื่อให้การปฏิบัติงานดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย สศข.5 จึงขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้โปรดให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านการเกษตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-