ศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 ณ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย บุรีรัมย์ ขอนแก่น สมุทรสาคร เพชรบุรี และกระบี่ พบเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพให้มีรายได้เพิ่ม
นายพลเวท ท้าวมหาวงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 ดำเนินการในพื้นที่ของนิคมสหกรณ์ 53 นิคมสหกรณ์ 32 จังหวัด เป็นการอบรมสมาชิกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีการคัดเลือกสมาชิกสหกรณ์แล้ว 4,164 ราย คิดเป็นร้อยละ 95 ของเป้าหมาย 4,390 ราย โดยปี 2551 ได้รับงบประมาณดำเนินการประมาณ 48 ล้าน 9 แสนบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 24. เข้าร่วมโครงการเพราะต้องการนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.75 ต้องการทราบแนวทางปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 17.86 ต้องการลดรายจ่าย / ต้นทุนการผลิต ร้อยละ 15.18 เจ้าหน้าที่แนะนำ / ชักชวน ร้อยละ 15.18 ต้องการรู้วิธีเพิ่มรายได้ ร้อยละ 8. เห็นว่าโครงการมีประโยชน์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 0.89 ต้องการมีที่ดินทำกิน ผลที่เกิดขึ้นหลังจากเกษตรกรเข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการโดยภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเกษตรกรร้อยละ 99 ได้นำความรู้ไปปฏิบัติแล้วเห็นผลจริง โดยเกษตรกรร้อยละ 79.5 เห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้วทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ร้อยละ 75.7 สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 71.9 มีสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 68.1 สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ร้อยละ 56.78 มีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 15.14 ช่วยแก้ปัญหาด้านการตลาดได้ มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 0.94 เท่านั้นที่นำไปปฏิบัติแล้วแต่ยังไม่เห็นผลเนื่องจากเพิ่งเริ่มลงมือปฏิบัติ
นายพลเวท กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานที่ผ่านมา เกษตรกรให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะให้เกษตรกรไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และขาดเจ้าหน้าที่ / วิทยากรที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความชำนาญ ส่วนเกษตรกรที่นำความรู้ไปปฏิบัติประสบปัญหาโรคระบาดและแมลงรบกวน ขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตร และขาดปัจจัยการผลิต ซึ่งหากโครงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมในด้านการจัดการแปลง การส่งเสริมอาชีพ และการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จัดสรรงบประมาณให้ทันเวลาและเหมาะสมกับสภาวการณ์ รวมทั้งกระตุ้นเจ้าหน้าที่ให้เห็นความสำคัญของการติดตามและนิเทศงานในพื้นที่ จะส่งผลให้โครงการฯ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างแท้จริง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพลเวท ท้าวมหาวงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 ดำเนินการในพื้นที่ของนิคมสหกรณ์ 53 นิคมสหกรณ์ 32 จังหวัด เป็นการอบรมสมาชิกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีการคัดเลือกสมาชิกสหกรณ์แล้ว 4,164 ราย คิดเป็นร้อยละ 95 ของเป้าหมาย 4,390 ราย โดยปี 2551 ได้รับงบประมาณดำเนินการประมาณ 48 ล้าน 9 แสนบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 24. เข้าร่วมโครงการเพราะต้องการนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.75 ต้องการทราบแนวทางปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 17.86 ต้องการลดรายจ่าย / ต้นทุนการผลิต ร้อยละ 15.18 เจ้าหน้าที่แนะนำ / ชักชวน ร้อยละ 15.18 ต้องการรู้วิธีเพิ่มรายได้ ร้อยละ 8. เห็นว่าโครงการมีประโยชน์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 0.89 ต้องการมีที่ดินทำกิน ผลที่เกิดขึ้นหลังจากเกษตรกรเข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการโดยภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเกษตรกรร้อยละ 99 ได้นำความรู้ไปปฏิบัติแล้วเห็นผลจริง โดยเกษตรกรร้อยละ 79.5 เห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้วทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ร้อยละ 75.7 สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 71.9 มีสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 68.1 สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ร้อยละ 56.78 มีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 15.14 ช่วยแก้ปัญหาด้านการตลาดได้ มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 0.94 เท่านั้นที่นำไปปฏิบัติแล้วแต่ยังไม่เห็นผลเนื่องจากเพิ่งเริ่มลงมือปฏิบัติ
นายพลเวท กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานที่ผ่านมา เกษตรกรให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะให้เกษตรกรไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และขาดเจ้าหน้าที่ / วิทยากรที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความชำนาญ ส่วนเกษตรกรที่นำความรู้ไปปฏิบัติประสบปัญหาโรคระบาดและแมลงรบกวน ขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตร และขาดปัจจัยการผลิต ซึ่งหากโครงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมในด้านการจัดการแปลง การส่งเสริมอาชีพ และการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จัดสรรงบประมาณให้ทันเวลาและเหมาะสมกับสภาวการณ์ รวมทั้งกระตุ้นเจ้าหน้าที่ให้เห็นความสำคัญของการติดตามและนิเทศงานในพื้นที่ จะส่งผลให้โครงการฯ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างแท้จริง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-