1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนกันยายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.060 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.68 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 91.38
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม (ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 10 ก.ย. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 201,324 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 2,757,319 ตัน คิดเป็นร้อยละ 110.29 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี 2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ 16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงนี้ ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกยังคงมีความต้องการข้าวเพื่อการส่งมอบ ในขณะที่ผลผลิตในตลาดเริ่มมีน้อยลง อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะตลาด ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 5 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.774 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 5.447 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.72 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,191 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,393 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,997 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,491 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.40
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,625 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,030 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,170 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.06
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 892 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,649 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 897 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,618 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,976 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 760 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,942 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 637 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,887 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 640 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 21,846 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 41 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 784 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,938 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 789 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,931 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3595 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ปากีสถานเตรียมส่งออกข้าว 4 ล้านตัน นายมูฮัมหมัด อาซฮาร์ (Muhammad Azhar) ประธานสมาพันธ์ส่งออกข้าว (Rice Exporters Association : REA) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนกรกฎาคม — สิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานได้ส่งออกข้าวแล้วมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กำลังเตรียมจะส่งออกข้าวภายในปีงบประมาณนี้อีกจำนวน 4 ล้านตัน มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของผลผลิตส่วนเกินของปีนี้ ขณะนี้ราคาข้าวตลาดขายปลีกภายในประเทศได้ลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่พ่อค้าขายปลีกไม่ได้ลดราคาข้าวที่จำหน่ายอยู่ตามไปด้วย อนึ่งผลผลิตข้าวปีนี้ของปากีสถานคาดว่าจะออกมาประมาณ 5.5 ล้านตัน
2.2 เวียดนามกำลังสร้างแบรนด์ให้ข้าวหอมเวียดนาม ถึงแม้ว่าเวียดนามเป็นประเทศหลักที่ส่งออกข้าว แต่ตลาดข้าวภายในประเทศกลับมีข้าวไทยวางจำหน่ายหลายประเภทด้วยกัน เนื่องจากข้าวเวียดนามยังไม่มีชื่อยี่ห้อและสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
ตั้งแต่ราคาข้าวสูงขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ราคาข้าวโดยทั่วไปได้ลดลงแล้ว โดยข้าวเวียดนาม 5 % ราคาได้ลดลงเหลือ 540 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ข้าวหอมเวียดนามยังคงมีราคาสูง ราว ๆ 7,200 — 7,300 เวียดนามดองต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวขาวธรรมดามีราคาเพียง 4,700 เวียดนามดองต่อกิโลกรัม
โฮ มิน ไค (Ho Minh Khai) ผู้อำนวยการบริษัทเกษตรโคโด (Co Do Agriculture Company) เปิดเผยว่าพื้นที่ปลูกข้าวหอมเวียดนามจะลดลงในฤดูกาลเพาะปลูกฤดูหนาว - ฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจาก ชาวนาต้องการปลูกข้าวธรรมดาซึ่งสามารถจำหน่ายได้ง่ายกว่า อีกทั้งต้นทุนการผลิตและภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ข้าวหอมมะลิของไทยและกัมพูชาคงจะเต็มตลาดเวียดนาม
ขณะนี้ ผู้ผลิตข้าวหอมเวียดนามกำลังประสบปัญหาการจำหน่ายในตลาดภายในประเทศเนื่องจากตลาดข้าวหอมค่อนข้างแคบ(ผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่มีกำลังหาซื้อบริโภคได้) ในขณะที่ข้าวหอมมะลิของคู่แข่งวางจำหน่ายทุกแห่ง
ผู้อำนวยการบริษัทเกษตรโคโด เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ได้มีการเตรียมที่จะพัฒนาตลาดข้าวหอมเวียดนามภายในประเทศ โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับตลาดค้าปลีกของโคอ็อป (Co-op mart chain) เมื่อมีนาคม 2551 ที่ผ่านมาแรกเริ่มสองบริษัทนี้ตกลงกันที่จะรับผิดชอบร่วมกันด้านค่าใช้จ่ายและกำไร แต่ต่อมาบริษัทเกษตรโคโดได้เปลี่ยนข้อตกลงเนื่องจากความผันผวนของราคา โดยบริษัทเกษตรโคโดจะผลิตข้าวในขณะที่ โคอ็อปจัดการด้านบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะมียี่ห้อหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
บริษัทเกษตรโคโด มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 35,400 ไร่ ซึ่งร้อยละ 70 — 80 ของพื้นที่ดังกล่าวได้สำรองไว้สำหรับการปลูกข้าวหอมพันธุ์ 85 , พันธุ์ VD 20และพันธุ์ ST1 โดยแต่ละปีบริษัทฯ สามารถผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายได้ประมาณ 45,000 — 50,000 ตัน นอกเหนือจากนี้ ทางบริษัทฯยังมีคลังสำรองข้าวซึ่งมีความจุ 20,000 ตัน ห้องอบแห้ง 63 ห้อง พื้นที่สำหรับตากข้าว 100,000 ตารางเมตร และห้องสำหรับปฏิบัติการ 5 ห้อง ที่มีความจุ 600 — 700 ตันต่อวัน ซึ่งบริษัทฯมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายให้กับร้านค้าขายปลีกได้
นับตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ข้าวหอมมะลิเชาปู (Jasmine Chau Phu) หนึ่งในข้าวหอมมะลิซึ่งปลูกในจังหวัดอังเกียง (An Giang Province) ได้วางจำหน่ายในร้านค้าปลีกของโคอ็อปถึง 29 สาขาด้วยกัน การสร้างยี่ห้อสำหรับข้าวหอมเวียดนามและการจำหน่ายข้าวโดยผ่านพ่อค้าขายปลีกที่เชื่อถือได้ เช่น ร้าน ค้าปลีก โคอ็อป จะทำให้การจำหน่ายข้าวในตลาดภายในประเทศเป็นลู่ทางใหม่สำหรับผู้ผลิตข้าว อย่างไรก็ตามผู้ผลิตข้าวก็ยังคงหวังที่จะจำหน่ายข้าวหอมเวียดนามไปยังตลาดต่างประเทศโดยอาศัยการทำสัญญาส่งออกระหว่างรัฐบาลด้วยกัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 กันยายน 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนกันยายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.060 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.68 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 91.38
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม (ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 10 ก.ย. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 201,324 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 2,757,319 ตัน คิดเป็นร้อยละ 110.29 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี 2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ 16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงนี้ ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกยังคงมีความต้องการข้าวเพื่อการส่งมอบ ในขณะที่ผลผลิตในตลาดเริ่มมีน้อยลง อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะตลาด ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 5 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.774 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 5.447 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.72 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,191 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,393 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,997 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,491 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.40
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,625 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,030 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,170 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.06
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 892 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,649 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 897 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,618 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,976 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 760 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,942 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 637 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,887 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 640 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 21,846 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 41 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 784 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,938 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 789 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,931 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3595 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ปากีสถานเตรียมส่งออกข้าว 4 ล้านตัน นายมูฮัมหมัด อาซฮาร์ (Muhammad Azhar) ประธานสมาพันธ์ส่งออกข้าว (Rice Exporters Association : REA) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนกรกฎาคม — สิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานได้ส่งออกข้าวแล้วมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กำลังเตรียมจะส่งออกข้าวภายในปีงบประมาณนี้อีกจำนวน 4 ล้านตัน มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของผลผลิตส่วนเกินของปีนี้ ขณะนี้ราคาข้าวตลาดขายปลีกภายในประเทศได้ลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่พ่อค้าขายปลีกไม่ได้ลดราคาข้าวที่จำหน่ายอยู่ตามไปด้วย อนึ่งผลผลิตข้าวปีนี้ของปากีสถานคาดว่าจะออกมาประมาณ 5.5 ล้านตัน
2.2 เวียดนามกำลังสร้างแบรนด์ให้ข้าวหอมเวียดนาม ถึงแม้ว่าเวียดนามเป็นประเทศหลักที่ส่งออกข้าว แต่ตลาดข้าวภายในประเทศกลับมีข้าวไทยวางจำหน่ายหลายประเภทด้วยกัน เนื่องจากข้าวเวียดนามยังไม่มีชื่อยี่ห้อและสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
ตั้งแต่ราคาข้าวสูงขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ราคาข้าวโดยทั่วไปได้ลดลงแล้ว โดยข้าวเวียดนาม 5 % ราคาได้ลดลงเหลือ 540 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ข้าวหอมเวียดนามยังคงมีราคาสูง ราว ๆ 7,200 — 7,300 เวียดนามดองต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวขาวธรรมดามีราคาเพียง 4,700 เวียดนามดองต่อกิโลกรัม
โฮ มิน ไค (Ho Minh Khai) ผู้อำนวยการบริษัทเกษตรโคโด (Co Do Agriculture Company) เปิดเผยว่าพื้นที่ปลูกข้าวหอมเวียดนามจะลดลงในฤดูกาลเพาะปลูกฤดูหนาว - ฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจาก ชาวนาต้องการปลูกข้าวธรรมดาซึ่งสามารถจำหน่ายได้ง่ายกว่า อีกทั้งต้นทุนการผลิตและภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ข้าวหอมมะลิของไทยและกัมพูชาคงจะเต็มตลาดเวียดนาม
ขณะนี้ ผู้ผลิตข้าวหอมเวียดนามกำลังประสบปัญหาการจำหน่ายในตลาดภายในประเทศเนื่องจากตลาดข้าวหอมค่อนข้างแคบ(ผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่มีกำลังหาซื้อบริโภคได้) ในขณะที่ข้าวหอมมะลิของคู่แข่งวางจำหน่ายทุกแห่ง
ผู้อำนวยการบริษัทเกษตรโคโด เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ได้มีการเตรียมที่จะพัฒนาตลาดข้าวหอมเวียดนามภายในประเทศ โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับตลาดค้าปลีกของโคอ็อป (Co-op mart chain) เมื่อมีนาคม 2551 ที่ผ่านมาแรกเริ่มสองบริษัทนี้ตกลงกันที่จะรับผิดชอบร่วมกันด้านค่าใช้จ่ายและกำไร แต่ต่อมาบริษัทเกษตรโคโดได้เปลี่ยนข้อตกลงเนื่องจากความผันผวนของราคา โดยบริษัทเกษตรโคโดจะผลิตข้าวในขณะที่ โคอ็อปจัดการด้านบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะมียี่ห้อหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
บริษัทเกษตรโคโด มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 35,400 ไร่ ซึ่งร้อยละ 70 — 80 ของพื้นที่ดังกล่าวได้สำรองไว้สำหรับการปลูกข้าวหอมพันธุ์ 85 , พันธุ์ VD 20และพันธุ์ ST1 โดยแต่ละปีบริษัทฯ สามารถผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายได้ประมาณ 45,000 — 50,000 ตัน นอกเหนือจากนี้ ทางบริษัทฯยังมีคลังสำรองข้าวซึ่งมีความจุ 20,000 ตัน ห้องอบแห้ง 63 ห้อง พื้นที่สำหรับตากข้าว 100,000 ตารางเมตร และห้องสำหรับปฏิบัติการ 5 ห้อง ที่มีความจุ 600 — 700 ตันต่อวัน ซึ่งบริษัทฯมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายให้กับร้านค้าขายปลีกได้
นับตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ข้าวหอมมะลิเชาปู (Jasmine Chau Phu) หนึ่งในข้าวหอมมะลิซึ่งปลูกในจังหวัดอังเกียง (An Giang Province) ได้วางจำหน่ายในร้านค้าปลีกของโคอ็อปถึง 29 สาขาด้วยกัน การสร้างยี่ห้อสำหรับข้าวหอมเวียดนามและการจำหน่ายข้าวโดยผ่านพ่อค้าขายปลีกที่เชื่อถือได้ เช่น ร้าน ค้าปลีก โคอ็อป จะทำให้การจำหน่ายข้าวในตลาดภายในประเทศเป็นลู่ทางใหม่สำหรับผู้ผลิตข้าว อย่างไรก็ตามผู้ผลิตข้าวก็ยังคงหวังที่จะจำหน่ายข้าวหอมเวียดนามไปยังตลาดต่างประเทศโดยอาศัยการทำสัญญาส่งออกระหว่างรัฐบาลด้วยกัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 กันยายน 2551--
-พห-