1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เกษตรยืนยันกุ้งไทยได้มาตรฐานโลก
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ได้รายงานให้ทราบว่าสื่อมวลชนในออสเตรเลียได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งของประเทศในแถบเอเชียว่าไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเวียดนาม จีน และไทยนั้น ซึ่งความจริงแล้วไทยเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานถูกสุขอนามัย และมีคุณภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนได้รับการยอมรับจากผู้นำเข้าหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ รวมถึงออสเตรเลียด้วย โดยปี 2550 ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงถึง 82,004 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมประมง ร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์รา เตรียมแผนเร่งชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งและแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยว่ามีสุขอนามัย และได้มาตรฐานอย่างดี พร้อมจัดงาน โรดโชว์สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในออสเตรเลีย เพื่อแสดงศักยภาพการผลิต การแปรรูป และการตรวจสอบก่อนการส่งออก โดยจะจัดจำหน่ายให้ผู้บริโภคในออสเตรเลียได้ทดลองบริโภค เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้ากุ้งไทยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคาดว่าผู้บริโภคชาวออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ จะยอมรับกระบวน การผลิตและคุณภาพมาตรฐานสินค้ากุ้งไทย คาดว่าจะช่วยให้ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะกุ้งดิบปีละประมาณร้อยละ 20 -30 ของที่ส่งออกทั้งหมด ถือว่าเป็นการขยายช่องทางการตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักเดิมที่ไทยมีการส่งออกมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (13-20 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 936.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 599.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 337.48 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 109.60 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.29 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.53 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.61 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 - 12 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 กันยายน 2551--
-พห-
การผลิต
เกษตรยืนยันกุ้งไทยได้มาตรฐานโลก
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ได้รายงานให้ทราบว่าสื่อมวลชนในออสเตรเลียได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งของประเทศในแถบเอเชียว่าไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเวียดนาม จีน และไทยนั้น ซึ่งความจริงแล้วไทยเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานถูกสุขอนามัย และมีคุณภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนได้รับการยอมรับจากผู้นำเข้าหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ รวมถึงออสเตรเลียด้วย โดยปี 2550 ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงถึง 82,004 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมประมง ร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์รา เตรียมแผนเร่งชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งและแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยว่ามีสุขอนามัย และได้มาตรฐานอย่างดี พร้อมจัดงาน โรดโชว์สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในออสเตรเลีย เพื่อแสดงศักยภาพการผลิต การแปรรูป และการตรวจสอบก่อนการส่งออก โดยจะจัดจำหน่ายให้ผู้บริโภคในออสเตรเลียได้ทดลองบริโภค เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้ากุ้งไทยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคาดว่าผู้บริโภคชาวออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ จะยอมรับกระบวน การผลิตและคุณภาพมาตรฐานสินค้ากุ้งไทย คาดว่าจะช่วยให้ไทยสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะกุ้งดิบปีละประมาณร้อยละ 20 -30 ของที่ส่งออกทั้งหมด ถือว่าเป็นการขยายช่องทางการตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักเดิมที่ไทยมีการส่งออกมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (13-20 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 936.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 599.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 337.48 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 109.60 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.29 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.53 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.61 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 - 12 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 กันยายน 2551--
-พห-