สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการปลูกปาล์มน้ำมัน ในจังหวัดหนองคาย ตามนโยบายส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล พบ เกษตรกรประสบปัญหาขาดความรู้ในด้านการผลิต ปุ๋ยราคาแพง ขาดแหล่งน้ำ และยังไม่มีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดหนองคาย นับเป็นจังหวัดนำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรทำการปลูกปาล์มน้ำมัน มากกว่า 16,000 ไร่ และมีแนวโน้มจะปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อายุปาล์มน้ำมันที่ปลูกอยู่ในช่วง 1 - 4 ปี และจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพื้นที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสมมีศักยภาพในการผลิตต่ำ ได้แก่ ที่นาน้ำท่วม ที่นาดอน คิดเป็นร้อยละ 44.93 ปลูกในพื้นที่พืชไร่/พืชสวน คิดเป็นร้อยละ 29.16 และปลูกในพื้นที่ว่างเปล่า คิดเป็นร้อยละ 25.91 สำหรับปัญหาในการปลูกปาล์มน้ำมันที่พบ อาทิ เกษตรกรไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในด้านการผลิต เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ในภูมิภาคนี้ ปุ๋ยเคมีราคาแพง ขาดแหล่งน้ำ ที่สำคัญคือยังไม่มีแหล่งรับซื้อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจังหวัดหนองคาย วอนขอให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ พาไปดูงานในแหล่งปลูกอื่นๆ รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่คอยติดตามให้คำแนะนำในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันภาคอีสานเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณซื้อเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และเครื่องผลิตไบโอดีเซลไว้ใช้ในชุมชน เนื่องจากปัจจุบันปาล์มน้ำมันได้ให้ผลผลิตบ้างแล้ว จากแนวทางการช่วยเหลือดังกล่าวจะส่งผลให้การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคอีสานให้ยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดหนองคาย นับเป็นจังหวัดนำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรทำการปลูกปาล์มน้ำมัน มากกว่า 16,000 ไร่ และมีแนวโน้มจะปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อายุปาล์มน้ำมันที่ปลูกอยู่ในช่วง 1 - 4 ปี และจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพื้นที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสมมีศักยภาพในการผลิตต่ำ ได้แก่ ที่นาน้ำท่วม ที่นาดอน คิดเป็นร้อยละ 44.93 ปลูกในพื้นที่พืชไร่/พืชสวน คิดเป็นร้อยละ 29.16 และปลูกในพื้นที่ว่างเปล่า คิดเป็นร้อยละ 25.91 สำหรับปัญหาในการปลูกปาล์มน้ำมันที่พบ อาทิ เกษตรกรไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในด้านการผลิต เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ในภูมิภาคนี้ ปุ๋ยเคมีราคาแพง ขาดแหล่งน้ำ ที่สำคัญคือยังไม่มีแหล่งรับซื้อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจังหวัดหนองคาย วอนขอให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ พาไปดูงานในแหล่งปลูกอื่นๆ รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่คอยติดตามให้คำแนะนำในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันภาคอีสานเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณซื้อเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และเครื่องผลิตไบโอดีเซลไว้ใช้ในชุมชน เนื่องจากปัจจุบันปาล์มน้ำมันได้ให้ผลผลิตบ้างแล้ว จากแนวทางการช่วยเหลือดังกล่าวจะส่งผลให้การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคอีสานให้ยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-