1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนกันยายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.060 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.68
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 91.38
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 4.5 ล้านตัน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 และ 16 กันยายน 2551 รวมวงเงินรับจำนำ 58,000 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ตั้งเป้าไว้ 2.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การดำเนินงานด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิม คือ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 17 ก.ย. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 231,873 ราย ปริมาณข้าวเปลือก
3,125,380 ตัน คิดเป็นร้อยละ 69.45 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี
2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ
16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาค
ใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงนี้ จากการที่มีภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมทำให้โรงสีบางส่วนเร่งระบายข้าวออกจำหน่ายเพื่อ
หลีกเลี่ยงความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม และชะลอการรับซื้อข้าวเปลือกซึ่งมีความชื้นสูง ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดส่งออกและการอ่อนตัวลง
ของราคาข้าวในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวลดลง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 5 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.774 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
5.447 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.72 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,045 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,191 บาท ของสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 1.11
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,933 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,997 บาท ของสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 0.53
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,090 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,800 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.02
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 22,030 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 879 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,065 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 892 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,649บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 584 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 745 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,481 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,976 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 495 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,480 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 637 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 21,887 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 407 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 774 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,473 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 784
ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,938 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 465 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2033 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
คาดผลผลิตข้าวอเมริกาเสียหายจากพายุ ผลจากการที่พายุเฮอริเคน Gustav ได้พัดผ่านมลรัฐหลุยเซียน่า และอาคันซอ ซึ่งเป็นแหล่ง
ผลิตข้าวที่สำคัญของสหรัฐฯในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ คาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าวและทำให้การเก็บเกี่ยวล่าช้าออกไป
ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ในขณะนี้ ผลการประมาณการผลผลิตล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 คาดว่าผลผลิตข้าว
ปี 2551 จะมีจำนวน 9.4 ล้านตัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบจากพายุ ซึ่งคาดว่าจะประเมินความเสียหายได้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม นี้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 กันยายน 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนกันยายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 0.060 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.68
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 91.38
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 4.5 ล้านตัน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 และ 16 กันยายน 2551 รวมวงเงินรับจำนำ 58,000 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ตั้งเป้าไว้ 2.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การดำเนินงานด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิม คือ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 17 ก.ย. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 231,873 ราย ปริมาณข้าวเปลือก
3,125,380 ตัน คิดเป็นร้อยละ 69.45 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี
2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ
16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาค
ใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงนี้ จากการที่มีภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมทำให้โรงสีบางส่วนเร่งระบายข้าวออกจำหน่ายเพื่อ
หลีกเลี่ยงความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม และชะลอการรับซื้อข้าวเปลือกซึ่งมีความชื้นสูง ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดส่งออกและการอ่อนตัวลง
ของราคาข้าวในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวลดลง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 5 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7.774 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
5.447 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.72 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,045 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,191 บาท ของสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 1.11
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,933 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,997 บาท ของสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 0.53
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,090 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,800 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.02
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 22,030 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 879 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,065 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 892 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,649บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 584 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 745 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,481 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,976 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 495 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,480 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 637 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 21,887 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 407 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 774 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,473 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 784
ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,938 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 465 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2033 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
คาดผลผลิตข้าวอเมริกาเสียหายจากพายุ ผลจากการที่พายุเฮอริเคน Gustav ได้พัดผ่านมลรัฐหลุยเซียน่า และอาคันซอ ซึ่งเป็นแหล่ง
ผลิตข้าวที่สำคัญของสหรัฐฯในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ คาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าวและทำให้การเก็บเกี่ยวล่าช้าออกไป
ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ในขณะนี้ ผลการประมาณการผลผลิตล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 คาดว่าผลผลิตข้าว
ปี 2551 จะมีจำนวน 9.4 ล้านตัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบจากพายุ ซึ่งคาดว่าจะประเมินความเสียหายได้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม นี้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 กันยายน 2551--
-พห-