1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ราคาน้ำมันแพงส่งผลให้ปริมาณการผลิตประมงลดลง
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยเปิดเผยว่าจากปัญหาราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้เรือประมงนอกน่านน้ำของไทยที่เคยจับปลาในอินโดนีเซีย 350 ลำ ต้องหยุดและจอดเรือไว้บนฝั่งและเหลือเรือจับสัตว์น้ำได้ขณะนี้เพียง 90 ลำ ทำให้ผลผลิตที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบสินค้าประมงของไทยลดลงร้อยละ 60 เทียบกับช่วงเดียวกัน ส่งผลให้การส่งออกสินค้าประมงของไทยในปีนี้ลดลงตามไปด้วย สาเหตุที่ทำให้การนำเข้าปลาที่จับได้ในน่านน้ำอินโดนีเซียลดลง นอกจากน้ำมันแพงแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะมาตรการการใช้กฎหมายที่เข้มงวดของทางการอินโดนีเซีย ทำให้ผู้ประกอบการบางรายถอนการลงทุนกลับไทย ผลผลิตที่ลดลง ประกอบกับจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตประมงรายใหญ่ มีปัญหาต้นทุนน้ำมันเช่นเดียวกัน ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15 ผู้ประกอบการไทยสามารถต่อรองราคา เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ โดยจีนนิยมสั่งซื้อสินค้าแช่เย็นแช่แข็ง ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าแปรรูป นอกจากความวุ่นวายทางการเมือง ยังทำให้การแก้ไขปัญหาด้านประมงต้องหยุดชะงักลงตามไปด้วย ก่อนหน้านี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำที่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานได้เสนอให้ ครม.พิจารณามาตรการช่วยเหลือ แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้น ครม.ได้เห็นชอบให้ช่วยเหลือน้ำมันม่วงในอัตราลิตรละ 3 บาท แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากปัญหาในระบบขั้นตอนการปฏิบัติที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหานอกน่านน้ำจะต้องพิจารณาอีกครั้ง ส่วนมาตรการระยะกลาง ที่จะให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างปะการังเทียมและปรับเปลี่ยนเครื่องมือการจับปลาทะเล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณา และมาตรการระยะยาวที่จะให้เรือประมงเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานใช้ก๊าซLNG กับ E85 ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21-27 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 985.03 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.67 ตัน สัตว์น้ำจืด 445.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.79 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.73 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.94 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 19 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 กันยายน 2551--
-พห-
การผลิต
ราคาน้ำมันแพงส่งผลให้ปริมาณการผลิตประมงลดลง
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยเปิดเผยว่าจากปัญหาราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้เรือประมงนอกน่านน้ำของไทยที่เคยจับปลาในอินโดนีเซีย 350 ลำ ต้องหยุดและจอดเรือไว้บนฝั่งและเหลือเรือจับสัตว์น้ำได้ขณะนี้เพียง 90 ลำ ทำให้ผลผลิตที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบสินค้าประมงของไทยลดลงร้อยละ 60 เทียบกับช่วงเดียวกัน ส่งผลให้การส่งออกสินค้าประมงของไทยในปีนี้ลดลงตามไปด้วย สาเหตุที่ทำให้การนำเข้าปลาที่จับได้ในน่านน้ำอินโดนีเซียลดลง นอกจากน้ำมันแพงแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะมาตรการการใช้กฎหมายที่เข้มงวดของทางการอินโดนีเซีย ทำให้ผู้ประกอบการบางรายถอนการลงทุนกลับไทย ผลผลิตที่ลดลง ประกอบกับจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตประมงรายใหญ่ มีปัญหาต้นทุนน้ำมันเช่นเดียวกัน ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15 ผู้ประกอบการไทยสามารถต่อรองราคา เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ โดยจีนนิยมสั่งซื้อสินค้าแช่เย็นแช่แข็ง ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าแปรรูป นอกจากความวุ่นวายทางการเมือง ยังทำให้การแก้ไขปัญหาด้านประมงต้องหยุดชะงักลงตามไปด้วย ก่อนหน้านี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำที่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานได้เสนอให้ ครม.พิจารณามาตรการช่วยเหลือ แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้น ครม.ได้เห็นชอบให้ช่วยเหลือน้ำมันม่วงในอัตราลิตรละ 3 บาท แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากปัญหาในระบบขั้นตอนการปฏิบัติที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหานอกน่านน้ำจะต้องพิจารณาอีกครั้ง ส่วนมาตรการระยะกลาง ที่จะให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างปะการังเทียมและปรับเปลี่ยนเครื่องมือการจับปลาทะเล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณา และมาตรการระยะยาวที่จะให้เรือประมงเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานใช้ก๊าซLNG กับ E85 ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21-27 ส.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 985.03 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.67 ตัน สัตว์น้ำจืด 445.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.12 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.79 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.73 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.94 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 19 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 กันยายน 2551--
-พห-