1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
นโยบายพลังงานช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้ง
นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายแกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้เปิดเผยว่าขณะนี้กำลังเร่งประสานไปยังเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รีบแจ้งความจำนงสมัครเข้าร่วมโครงการจำหน่ายน้ำมันกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประมงอำเภอ หลังจากที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีมติเห็นชอบให้จัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโรงกลั่นโดยมีราคาต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 3 บาท มาจำหน่ายให้กับเกษตรกรจำนวน 7 ล้านลิตรต่อเดือน ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 เดือน สำหรับผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและมีพื้นที่เลี้ยงไม่เกิน 50 ไร่ ส่วนในรายที่ไม่มีรายชื่อในทะเบียนนของกรมประมง เกษตรกรจะต้องมาขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อยก่อน โดยจะจ่ายน้ำมันให้รายละไม่เกิน 80 ลิตรต่อเดือน
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่าการที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือผู้เลี้ยงรายย่อยในเรื่องของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยปรับลดราคาน้ำมันลงดังกล่าว ส่วนตัวเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือได้เพียงเล็กน้อย ทางออกที่ดีที่จะช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งน่าจะขยายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่การเลี้ยงกุ้งให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยขอเสนอให้รัฐบาลนำงบประมาณที่ช่วยเหลือเรื่องน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยมาเป็นงบประมาณเพื่อขยายไฟฟ้าลงสู่พื้นที่การเลี้ยงกุ้งทั่วประเทศจะกี่ล้านบาทก็ขยายไป เป็นการช่วยเหลือระยะยาวมากกว่า ที่สำคัญตอนนี้เกษตรกรรายย่อยที่ยกเลิกการเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มาจากวิกฤติน้ำมัน แต่หากเลี้ยงกุ้งที่ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นการลงทุนระยะยาว ส่วนการช่วยเหลือตอนนี้ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่จับกุ้งกันแล้วปริมาณกุ้งที่เลี้ยงมีน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงมรสุม
นายประเทือง ทิพยมาศ นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ เปิดเผยว่า มาตรการการสนับสนุนน้ำมันราคาถูกของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งเห็นว่าเป็นมาตรการที่รัฐบาลแทบไม่ได้ทำอะไรเลย พิจารณาจากพื้นที่เลี้ยงกุ้งบ่อละ 5 ไร่ จะใช้เครื่องยนต์ 6 ตัว จะใช้น้ำมันต่อเครื่องตัวละ 15 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อคำนวณต่อเดือนจะใช้น้ำมันถึง 2,700 ลิตรต่อบ่อ ดังนั้นน้ำมันที่นำมาจำหน่ายให้ในราคาถูกรวม 80 ลิตรต่อเดือน จึงก่อให้เกิดผลต่างที่น้อยมาก สิ่งที่ควรทำและช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในตอนนี้คือ การพยุงอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งให้อยู่ได้ด้วยการขยายเขตบริการไฟฟ้าเพื่อการเกษตร จะให้เกษตรกรลงทุนในการขยายเขตไฟฟ้าเองคงไม่ได้เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ส.ค.-3 ก.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 921.40 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 603.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 317.64 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.79 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.00 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 18.51 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 55.62 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 26 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22 - 28 กันยายน 2551--
-พห-
การผลิต
นโยบายพลังงานช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้ง
นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายแกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้เปิดเผยว่าขณะนี้กำลังเร่งประสานไปยังเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รีบแจ้งความจำนงสมัครเข้าร่วมโครงการจำหน่ายน้ำมันกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประมงอำเภอ หลังจากที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีมติเห็นชอบให้จัดสรรน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโรงกลั่นโดยมีราคาต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 3 บาท มาจำหน่ายให้กับเกษตรกรจำนวน 7 ล้านลิตรต่อเดือน ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 เดือน สำหรับผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและมีพื้นที่เลี้ยงไม่เกิน 50 ไร่ ส่วนในรายที่ไม่มีรายชื่อในทะเบียนนของกรมประมง เกษตรกรจะต้องมาขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อยก่อน โดยจะจ่ายน้ำมันให้รายละไม่เกิน 80 ลิตรต่อเดือน
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่าการที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือผู้เลี้ยงรายย่อยในเรื่องของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยปรับลดราคาน้ำมันลงดังกล่าว ส่วนตัวเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือได้เพียงเล็กน้อย ทางออกที่ดีที่จะช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งน่าจะขยายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่การเลี้ยงกุ้งให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยขอเสนอให้รัฐบาลนำงบประมาณที่ช่วยเหลือเรื่องน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยมาเป็นงบประมาณเพื่อขยายไฟฟ้าลงสู่พื้นที่การเลี้ยงกุ้งทั่วประเทศจะกี่ล้านบาทก็ขยายไป เป็นการช่วยเหลือระยะยาวมากกว่า ที่สำคัญตอนนี้เกษตรกรรายย่อยที่ยกเลิกการเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มาจากวิกฤติน้ำมัน แต่หากเลี้ยงกุ้งที่ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นการลงทุนระยะยาว ส่วนการช่วยเหลือตอนนี้ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่จับกุ้งกันแล้วปริมาณกุ้งที่เลี้ยงมีน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงมรสุม
นายประเทือง ทิพยมาศ นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ เปิดเผยว่า มาตรการการสนับสนุนน้ำมันราคาถูกของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งเห็นว่าเป็นมาตรการที่รัฐบาลแทบไม่ได้ทำอะไรเลย พิจารณาจากพื้นที่เลี้ยงกุ้งบ่อละ 5 ไร่ จะใช้เครื่องยนต์ 6 ตัว จะใช้น้ำมันต่อเครื่องตัวละ 15 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อคำนวณต่อเดือนจะใช้น้ำมันถึง 2,700 ลิตรต่อบ่อ ดังนั้นน้ำมันที่นำมาจำหน่ายให้ในราคาถูกรวม 80 ลิตรต่อเดือน จึงก่อให้เกิดผลต่างที่น้อยมาก สิ่งที่ควรทำและช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในตอนนี้คือ การพยุงอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งให้อยู่ได้ด้วยการขยายเขตบริการไฟฟ้าเพื่อการเกษตร จะให้เกษตรกรลงทุนในการขยายเขตไฟฟ้าเองคงไม่ได้เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ส.ค.-3 ก.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 921.40 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 603.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 317.64 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.79 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.00 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 18.51 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 55.62 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 26 ก.ย.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22 - 28 กันยายน 2551--
-พห-