สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เร่งสำรวจข้อมูลพืชฤดูฝน ปีเพาะปลูก 2551/52 โดยใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informatics : GI) เพื่อประมาณการผลผลิตที่จะได้รับและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านการเกษตรต่อไป คาดปริมาณผลผลิตจะลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข. 3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศข. 3 กำลังเร่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทางการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณการเพาะปลูกและผลผลิตของพืชฤดูฝน ปีเพาะปลูก 2551 / 52 เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรด ยางพารา มะพร้าว ลำไย ส่วนสินค้ารอง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปอแก้วและพืชผัก ฯลฯ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ระหว่างปลายเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนตุลาคม 2551
จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตอย่างไรนั้น การใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informatics : GI) ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (Remote sensing : RS) มาช่วยในการประมวลผลของเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต จะทำให้ทราบข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุแหล่งเพาะปลูก หรือเนื้อที่เพาะปลูกด้วยภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Survey) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางพื้นดิน แล้วนำไปแปลงผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประมาณการเพาะปลูกรวมทั้งปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในปีเพาะปลูกนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น โดยนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านการเกษตรต่อไป
ทั้งนี้ สศข. 3 คาดว่าปริมาณผลผลิตจะลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม (ในช่วงเดือนสิงหาคม) และพายุโซนร้อน “ซินลากอ” ที่มีกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากครอบคลุมบริเวณหลายพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู เลย นครพนมและมุกดาหาร ส่งผลให้เนื้อที่เพาะปลูกพืชเกิดความเสียหาย นายสุรศักดิ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข. 3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศข. 3 กำลังเร่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทางการเกษตรเกี่ยวกับปริมาณการเพาะปลูกและผลผลิตของพืชฤดูฝน ปีเพาะปลูก 2551 / 52 เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรด ยางพารา มะพร้าว ลำไย ส่วนสินค้ารอง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปอแก้วและพืชผัก ฯลฯ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ระหว่างปลายเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนตุลาคม 2551
จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตอย่างไรนั้น การใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informatics : GI) ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (Remote sensing : RS) มาช่วยในการประมวลผลของเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต จะทำให้ทราบข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุแหล่งเพาะปลูก หรือเนื้อที่เพาะปลูกด้วยภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Survey) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางพื้นดิน แล้วนำไปแปลงผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประมาณการเพาะปลูกรวมทั้งปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในปีเพาะปลูกนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น โดยนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านการเกษตรต่อไป
ทั้งนี้ สศข. 3 คาดว่าปริมาณผลผลิตจะลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม (ในช่วงเดือนสิงหาคม) และพายุโซนร้อน “ซินลากอ” ที่มีกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากครอบคลุมบริเวณหลายพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู เลย นครพนมและมุกดาหาร ส่งผลให้เนื้อที่เพาะปลูกพืชเกิดความเสียหาย นายสุรศักดิ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-