สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 นครราชสีมา ออกโรงเตือนเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง ระวังด้วงแมลงนูนระบาด กัดกินหัวมัน สร้างความเสียหายให้ผลผลิต เผยสุ่มถอนต้นมันพบตัวด้วงเฉลี่ย 60 ตัว / ต้น แนะเกษตรกรถอนต้นที่ได้รับผลผกระทบขึ้นมาขายหัวมันสดก่อน
นายยรรยงค์ แสนสิงห์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เข้าสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของด้วงแมลงนูนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเกตเห็นลักษณะของต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยว ใบเหลืองร่วงหล่น เมื่อทำการขุดถอนต้นมันพบว่ามีตัวด้วงแมลงนูนอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งด้วงดังกล่าวจะกัดกินรากฝอยของหัวมันกิน เป็นเหตุที่ทำให้ใบมันร่วง หรือบางพื้นที่ตัวด้วงนี้อาจจะกัดกินจนถึงหัวมันสำปะหลัง เฉลี่ยอยู่ใต้ดิน ประมาณ 40 — 95 ตัว / ต้น กระจายอยู่เป็นหย่อมๆ จากการสังเกตด้วงจะมีมากในพื้นที่ดินแดง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอปะคำ และอาจจะลามไปถึงอำเภอโนนสุวรรณด้วย
สำหรับผลการศึกษาปรากฎว่าเป็นด้วงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงจรชีวิตของแมลงนูน จึงได้สรุปหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้เกษตรกรผู้ปลูกมัน โดยให้ถอนต้นมันที่ได้รับผลกระทบขึ้นมาขายหัวมันสดก่อน (ส่วนใหญ่เป็นมันอายุประมาณ 5 — 6 เดือน) และที่สำคัญให้กำจัดหรือทำลายด้วงแมลงนูนที่อยู่ในดินทิ้งไป นายยรรยงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งประสานเพื่อหาทางแก้ไข ส่วนเกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่พบปัญหาดังกล่าว และยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ ให้ติดต่อสอบถามได้ที่เกษตรอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ หรือ ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044 — 465081 ในวันและเวลาราชการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายยรรยงค์ แสนสิงห์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เข้าสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของด้วงแมลงนูนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเกตเห็นลักษณะของต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยว ใบเหลืองร่วงหล่น เมื่อทำการขุดถอนต้นมันพบว่ามีตัวด้วงแมลงนูนอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งด้วงดังกล่าวจะกัดกินรากฝอยของหัวมันกิน เป็นเหตุที่ทำให้ใบมันร่วง หรือบางพื้นที่ตัวด้วงนี้อาจจะกัดกินจนถึงหัวมันสำปะหลัง เฉลี่ยอยู่ใต้ดิน ประมาณ 40 — 95 ตัว / ต้น กระจายอยู่เป็นหย่อมๆ จากการสังเกตด้วงจะมีมากในพื้นที่ดินแดง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอปะคำ และอาจจะลามไปถึงอำเภอโนนสุวรรณด้วย
สำหรับผลการศึกษาปรากฎว่าเป็นด้วงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงจรชีวิตของแมลงนูน จึงได้สรุปหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้เกษตรกรผู้ปลูกมัน โดยให้ถอนต้นมันที่ได้รับผลกระทบขึ้นมาขายหัวมันสดก่อน (ส่วนใหญ่เป็นมันอายุประมาณ 5 — 6 เดือน) และที่สำคัญให้กำจัดหรือทำลายด้วงแมลงนูนที่อยู่ในดินทิ้งไป นายยรรยงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งประสานเพื่อหาทางแก้ไข ส่วนเกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่พบปัญหาดังกล่าว และยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ ให้ติดต่อสอบถามได้ที่เกษตรอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ หรือ ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044 — 465081 ในวันและเวลาราชการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-