1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนการผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52 ณ เดือน กันยายน 2551 ว่าจะมี พื้นที่เพาะปลูกประมาณ
57.839 ล้านไร่ ผลผลิต 24.045 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 416 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ
0.79, 3.16 และ 2.46 ตามลำดับ โดยคาดว่า ผลผลิตข้าวนาปี ปี2551/52 จะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือน สิงหาคม นี้ และจะออกสู่ตลาดมากสุด
ในเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 ประมาณร้อยละ 75.76 ของผลผลิตทั้งหมด ในเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.255
ล้านตัน หรือร้อยละ 5.22 ของผลผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52
ตาราง ร้อยละและผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน ระดับประเทศ : ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2551/52
ร้อยละและปริมาณผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน
ปี รายการ ส.ค. 51 ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.52 ก.พ. มี.ค. เม.ย. รวม
2551 ร้อยละ 4.38 5.22 6.63 48.42 27.3 4.32 2.3 1.08 0.31 100
ปริมาณ(ล้านตัน) 1.053 1.26 1.59 11.64 6.57 1.039 0.55 0.26 0.08 24.41
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 4.5 ล้านตัน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 และ 16 กันยายน 2551 รวมวงเงินรับจำนำ 58,000 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ตั้งเป้าไว้ 2.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การดำเนินงานด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิม คือ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม 14,000
(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ
100 บาท)
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 1 ต.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 290,530 ราย ปริมาณ
ข้าวเปลือก 3,934,876 ตัน คิดเป็นร้อยละ 87.44 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี
2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ
16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาค
ใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย เนื่องจากในช่วงนี้ผลผลิตข้าวนาปีกำลังทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่พ่อค้าส่วนใหญ่มีข้าวในสต็อกเพียงพอ
กับความต้องการบ้างแล้วจึงชะลอการสั่งซื้อลง ประกอบกับข้าวมีความชื้นสูงเพราะการเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงฝนตกและที่นาบางพื้นที่โดนน้ำท่วม
ต้องเก็บเกี่ยวในน้ำ ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 8.104 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น
จาก 5.821 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.22 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,234 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 13,120 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,932 บาท ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,167 บาท ราคาลดลงจากตันละ 6,489 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,000 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,330 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 852 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,786 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 865 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,046 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,260 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 719 ดอลลาร์สหรัฐฯ(24,292 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 733 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,461 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,169 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,664 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,876 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,212 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 731 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,698 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 746 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,913 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,215 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.7864
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
พม่าเริ่มปลูกข้าวอีกครั้งหลังถูกพายุนาร์กีสถล่ม
ตัวแทนองค์การอาหารโลก (FAO) ประจำประเทศพม่า ได้เปิดเผยว่า สถานทูตสิงคโปร์ในเมืองย่างกุ้งได้มอบปุ๋ยจำนวน
38,000 กระสอบ ให้กับรัฐบาลพม่าในโอกาสเฉลิมฉลองสถานทูตฯ เพื่อปลูกข้าวแต่ปริมาณปุ๋ยนี้จะมีเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวเป็นพื้นที่
387,500 ไร่เท่านั้น ในขณะนี้พื้นที่ร้อยละ 97 ของพื้นที่เสียหายจากพายุไซโคลนนาร์กีสแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้มีการปลูกข้าวอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของพม่าก็ได้ยืนยันว่า พื้นที่เสียหายดังกล่าวนั้นบัดนี้รัฐบาลพม่าได้มีการฟื้นฟู
เกือบทั้งหมดแล้ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรด้วยกัน อย่างไรก็ตาม
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือพม่ายังคงมีความวิตก เนื่องจากเกรงว่าการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงการเพาะปลูกรอบ 2 ของปีนี้อาจจะมี
ความเสียหายเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากภัยธรรมชาติอื่น ซึ่งจะทำให้กลายเป็นภาระที่หนักในการให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประเทศพม่า
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก
อนึ่ง กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ประมาณการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ผลผลิตข้าวของพม่าปีนี้ จะออกมาน้อยกว่า
ที่ประมาณการไว้ เนื่องจากพายุนาร์กีสนั้นได้พัดน้ำทะเลมาท่วมพื้นที่ปลูกข้าวบางส่วน รวมทั้งสร้างความเสียหายให้แก่เขื่อนและเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วย
นอกจากนี้ยังมีคนตายหรือหายสาบสูญอีกประมาณ 134,000 คน ส่งผลให้พายุลูกนี้กลายเป็นหนึ่งในพายุที่สร้างความเสียหายให้กับ
ทวีปเอเชียเป็นอย่างมาก
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 กันยายน - 5 ตุลาคม 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนการผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52 ณ เดือน กันยายน 2551 ว่าจะมี พื้นที่เพาะปลูกประมาณ
57.839 ล้านไร่ ผลผลิต 24.045 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 416 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ
0.79, 3.16 และ 2.46 ตามลำดับ โดยคาดว่า ผลผลิตข้าวนาปี ปี2551/52 จะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือน สิงหาคม นี้ และจะออกสู่ตลาดมากสุด
ในเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 ประมาณร้อยละ 75.76 ของผลผลิตทั้งหมด ในเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.255
ล้านตัน หรือร้อยละ 5.22 ของผลผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52
ตาราง ร้อยละและผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน ระดับประเทศ : ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2551/52
ร้อยละและปริมาณผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน
ปี รายการ ส.ค. 51 ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.52 ก.พ. มี.ค. เม.ย. รวม
2551 ร้อยละ 4.38 5.22 6.63 48.42 27.3 4.32 2.3 1.08 0.31 100
ปริมาณ(ล้านตัน) 1.053 1.26 1.59 11.64 6.57 1.039 0.55 0.26 0.08 24.41
1.2 การตลาด
1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 4.5 ล้านตัน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 และ 16 กันยายน 2551 รวมวงเงินรับจำนำ 58,000 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ตั้งเป้าไว้ 2.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การดำเนินงานด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิม คือ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม 14,000
(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ
100 บาท)
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กำหนดไถ่ถอนภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิย - 1 ต.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 290,530 ราย ปริมาณ
ข้าวเปลือก 3,934,876 ตัน คิดเป็นร้อยละ 87.44 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา: ธ.ก.ส.)
2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 เห็นชอบกรอบโครงการรับจำนำข้าวนาปี
2551/2552 โดยตั้งเป้าหมายรับจำนำปริมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก ราคารับจำนำข้าวขาวสูงสุดที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวหอมมะลิสุงสุดที่ตันละ
16,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 9,000-10,000 บาท โดยจะเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาค
ใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28 พฤษภาคม 2552
ภาวะการซื้อขาย เนื่องจากในช่วงนี้ผลผลิตข้าวนาปีกำลังทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่พ่อค้าส่วนใหญ่มีข้าวในสต็อกเพียงพอ
กับความต้องการบ้างแล้วจึงชะลอการสั่งซื้อลง ประกอบกับข้าวมีความชื้นสูงเพราะการเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงฝนตกและที่นาบางพื้นที่โดนน้ำท่วม
ต้องเก็บเกี่ยวในน้ำ ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 กันยายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 8.104 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น
จาก 5.821 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.22 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,234 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 13,120 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,932 บาท ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,167 บาท ราคาลดลงจากตันละ 6,489 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,000 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,330 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 852 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,786 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 865 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,046 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,260 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 719 ดอลลาร์สหรัฐฯ(24,292 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 733 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,461 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,169 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,664 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,876 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,212 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 731 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,698 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก
ตันละ 746 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,913 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,215 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.7864
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
พม่าเริ่มปลูกข้าวอีกครั้งหลังถูกพายุนาร์กีสถล่ม
ตัวแทนองค์การอาหารโลก (FAO) ประจำประเทศพม่า ได้เปิดเผยว่า สถานทูตสิงคโปร์ในเมืองย่างกุ้งได้มอบปุ๋ยจำนวน
38,000 กระสอบ ให้กับรัฐบาลพม่าในโอกาสเฉลิมฉลองสถานทูตฯ เพื่อปลูกข้าวแต่ปริมาณปุ๋ยนี้จะมีเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวเป็นพื้นที่
387,500 ไร่เท่านั้น ในขณะนี้พื้นที่ร้อยละ 97 ของพื้นที่เสียหายจากพายุไซโคลนนาร์กีสแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้มีการปลูกข้าวอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของพม่าก็ได้ยืนยันว่า พื้นที่เสียหายดังกล่าวนั้นบัดนี้รัฐบาลพม่าได้มีการฟื้นฟู
เกือบทั้งหมดแล้ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรด้วยกัน อย่างไรก็ตาม
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือพม่ายังคงมีความวิตก เนื่องจากเกรงว่าการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงการเพาะปลูกรอบ 2 ของปีนี้อาจจะมี
ความเสียหายเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากภัยธรรมชาติอื่น ซึ่งจะทำให้กลายเป็นภาระที่หนักในการให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประเทศพม่า
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก
อนึ่ง กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ประมาณการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ผลผลิตข้าวของพม่าปีนี้ จะออกมาน้อยกว่า
ที่ประมาณการไว้ เนื่องจากพายุนาร์กีสนั้นได้พัดน้ำทะเลมาท่วมพื้นที่ปลูกข้าวบางส่วน รวมทั้งสร้างความเสียหายให้แก่เขื่อนและเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วย
นอกจากนี้ยังมีคนตายหรือหายสาบสูญอีกประมาณ 134,000 คน ส่งผลให้พายุลูกนี้กลายเป็นหนึ่งในพายุที่สร้างความเสียหายให้กับ
ทวีปเอเชียเป็นอย่างมาก
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 กันยายน - 5 ตุลาคม 2551--
-พห-