สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย ทิศทางการผลิตถั่วเหลืองของไทยยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น ทำให้ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าเกือบร้อยละ 90 แนะเร่งพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองไทยให้มีความยั่งยืน เพื่อลดอัตราการพึ่งพิงการนำเข้าในอนาคต
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองของประเทศ ว่ามีเพียงร้อยละ 12 ของความต้องการใช้ ทำให้ต้องพึ่งพาถั่วเหลืองนำเข้าทั้งในรูปของเมล็ด กาก และน้ำมัน ปริมาณรวมไม่ต่ำกว่าปีละ 3.5 ล้านตัน หรือเกือบร้อยละ 90 สูญเสียเงินตราต่างประเทศปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท และจากสถานการณ์ราคาถั่วเหลืองตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม ความต้องการบริโภคยังมีมาก ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและในช่วงไตรมาสที่สาม ราคาถั่วเหลืองตลาดโลกปรับตัวลดลงทำให้คาดว่าปริมาณความต้องการใช้ถั่วเหลืองในประเทศจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และมูลค่านำเข้าไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร และรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองปี 2550/51 ในแหล่งปลูกสำคัญของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ พบว่า พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิต ลดลงจากปีก่อนเกือบร้อยละ 20 สาเหตุจากต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาปราบศัตรูพืช และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับความขาดแคลนเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์ดี ทำให้ผลตอบแทนสุทธิโดยเปรียบเทียบต่ำกว่าพืชแข่งขันอื่น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปรัง และอ้อยโรงงาน ซึ่งดูแลรักษาง่ายและให้ผลตอบแทนสูงกว่า แม้ว่าการผลิตถั่วเหลืองปีนี้จะมีผลตอบแทนที่สูงกว่าปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ยังไม่สามารถจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต
โดยหากพื้นที่ปลูกและผลผลิตยังคงมีแนวโน้มลดลงเช่นนี้ จะทำให้ไทยสูญเสียความมั่นคงด้านวัตถุดิบและอาหาร ดังนั้น เพื่อลดอัตราการพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงกำหนดนโยบายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสื่อกลางพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองอย่างมืออาชีพ ผลิตถั่วเหลืองมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยสร้างเครือข่ายการเกษตรแบบพันธสัญญา (contract farming) เพื่อลดขั้นตอนการตลาดในระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ตลอดจนรณรงค์ให้เกษตรกรทราบถึงประโยชน์ของการปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้การปลูกถั่วเหลืองเป็นอาชีพที่มีความยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองของประเทศ ว่ามีเพียงร้อยละ 12 ของความต้องการใช้ ทำให้ต้องพึ่งพาถั่วเหลืองนำเข้าทั้งในรูปของเมล็ด กาก และน้ำมัน ปริมาณรวมไม่ต่ำกว่าปีละ 3.5 ล้านตัน หรือเกือบร้อยละ 90 สูญเสียเงินตราต่างประเทศปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท และจากสถานการณ์ราคาถั่วเหลืองตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม ความต้องการบริโภคยังมีมาก ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและในช่วงไตรมาสที่สาม ราคาถั่วเหลืองตลาดโลกปรับตัวลดลงทำให้คาดว่าปริมาณความต้องการใช้ถั่วเหลืองในประเทศจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และมูลค่านำเข้าไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร และรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองปี 2550/51 ในแหล่งปลูกสำคัญของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ พบว่า พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิต ลดลงจากปีก่อนเกือบร้อยละ 20 สาเหตุจากต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาปราบศัตรูพืช และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับความขาดแคลนเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์ดี ทำให้ผลตอบแทนสุทธิโดยเปรียบเทียบต่ำกว่าพืชแข่งขันอื่น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปรัง และอ้อยโรงงาน ซึ่งดูแลรักษาง่ายและให้ผลตอบแทนสูงกว่า แม้ว่าการผลิตถั่วเหลืองปีนี้จะมีผลตอบแทนที่สูงกว่าปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ยังไม่สามารถจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต
โดยหากพื้นที่ปลูกและผลผลิตยังคงมีแนวโน้มลดลงเช่นนี้ จะทำให้ไทยสูญเสียความมั่นคงด้านวัตถุดิบและอาหาร ดังนั้น เพื่อลดอัตราการพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงกำหนดนโยบายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสื่อกลางพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองอย่างมืออาชีพ ผลิตถั่วเหลืองมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยสร้างเครือข่ายการเกษตรแบบพันธสัญญา (contract farming) เพื่อลดขั้นตอนการตลาดในระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ตลอดจนรณรงค์ให้เกษตรกรทราบถึงประโยชน์ของการปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้การปลูกถั่วเหลืองเป็นอาชีพที่มีความยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-