1.สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างซบเซา ประกอบสถานศึกษาต่างๆ ปิดภาคเรียนและกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ไก่ไทย แม้ว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของไทยจะประสบกับภาวะต้นทุนการเลี้ยงไก่จากราคาอาหารสัตว์ และปัจจัยทางด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กจำเป็นต้องลดปริมาณการเลี้ยงทำให้ปริมาณไก่ในระบบลดลง 10-15% อย่างไรก็ตามการส่งออกไก่ของไทยในปียังคงสดใส จากยอดการส่งออก 8 เดือนที่ผ่านมีปริมาณการส่งออกมีมูลค่าการส่งออก 32,208 ล้านบาท คาดการส่งออกโดยรวมปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 จากปีก่อน ขณะที่ราคาส่งออกสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศจีนประสบปัญหาเรื่องความปลอดภัยอาหาร ทำให้หลายประเทศหันมาสนใจนำเข้าเนื้อไก่จากไทยมากขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาประเทศไทยได้พัฒนาระบบอาหารปลอดภัยทั้งระบบ ผลจากการกำหนดมาตรฐานฟาร์ม และโรงงานเพื่อการส่งออกอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเข้มงวดกับสินค้าที่ส่งออกต้องผ่านระบบการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตจากประเทศไทย เป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานสากล จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากนานาประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้
ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.63 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 36.58 บาท
ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.73 บาท
และภาคใต้ไม่มีรายงานในสัปดาห์นี้ ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 13-19 ตุลาคม 2551--