ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday November 12, 2008 14:24 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนการผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52 ณ เดือน กันยายน 2551 ว่าจะมี พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 57.839 ล้านไร่ ผลผลิต 24.045 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 416 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.79, 3.16 และ 2.46 ตามลำดับ

โดยผลผลิตแยกชนิดข้าวและรายภาค ดังนี้

หน่วย : ล้านตันข้าวเปลือก

            ชนิดข้าว                รวมทั้งประเทศ     ภาคเหนือ      ตะวันออกเฉียงเหนือ      ภาคกลาง    ภาคใต้
ข้าวรวมทั้งหมด :-                      24.045          6.91            10.588           5.729     0.818
   ข้าวเจ้า :-                        17.654         5.205            5.927            5.706     0.816
         -  ข้าวดอกมะลิ 105            5.69          0.913            4.342            0.428     0.007
         -  กข 15                    0.62          0.142            0.456            0.002     0.021
         -  ชัยนาท 1                  1.139          0.05            0.003            0.298     0.788
         -  อื่นๆ                     10.206         4.102            1.126            4.977     0.001
   ข้าวเหนียว :-                       6.389         1.705            4.661            0.023     0.001

ผลผลิตข้าวนาปี ปี2551/52 เริ่มออกสู่ตลาดในเดือน สิงหาคม และจะออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 ประมาณ 18.216 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 75.76 ของผลผลิตทั้งหมด

ตาราง ร้อยละและผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน ระดับประเทศ ปีเพาะปลูก 2551/52 ==========================================================================================================

     |      รายการ       | -----------------  ร้อยละและปริมาณผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน -------------------
 ปี   |                   | ส.ค.51    ก.ย.    ต.ค.    พ.ย.     ธ.ค.   ม.ค.52    ก.พ.    มี.ค.    เม.ย.    รวม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2551 | ร้อยละปริมาณ(ล้านตัน) |   4.38   5.22    6.63    48.42    27.3      4.32    2.3     1.1     0.31     100
     |                   |  1.053   1.26    1.59    11.64    6.57     1.039   0.55     0.3     0.08   24.41
==========================================================================================================

1.2 การตลาด

1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 (สิ้นสุดการรับจำนำ 31 ต.ค.51)

ธกส. รายงานผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 เบื้องต้น ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้

                                               ปริมาณ              มูลค่า
                                          (ล้านตัน)     ร้อยละ     (ล้านบาท)
          - เป้าหมายการรับจำนำ               4.500       100          -
          - ผลการรับจำนำทั้งหมด : -           4.137      92.73     54,639.3
          * อ.ต.ก.                         1.140      25.33     16,514.3
          * อคส.                           3.033      67.40     38,125.0
  • เกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 318,844 ราย

2. โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก นาปี ปี2551/2552 ตามมติ กขช. วันที่ 8 กันยายน 2551 ที่กำหนดเป้าหมายจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้ปรับราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/2552 ใหม่ให้เหมาะสมกับตลาดเพื่อให้ธุรกิจการค้าข้าวในตลาดสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวในตลาดโลกลดลงมาก โดย กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือก ณ ความชื้น 15% ดังนี้

  • ราคารับจำ
                  -  ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ  ชนิด 42 กรัม         ราคาจำนำตันละ   15,000  บาท
                  -  ข้าวเปลือกเจ้า                           ราคาจำนำตันละ   12,000  บาท
                  - ข้าวเปลือกเหนียวคละ                       ราคาจำนำตันละ    9,000  บาท
                  - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด  ชนิด 42 กรัม           ราคาจำนำตันละ   13,000  บาท

หากจำนำยุ้งฉางจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกตันละ 1,000 บาท

  • ระยะเวลารับจำนำ ให้เริ่มรับจำนำวันที่ 1 พฤศจิกายน — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28
พฤษภาคม 2552 เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำทั้งจำนำใบประทวน และจำนำยุ้งฉาง
  • ผลการรับจำนำ อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูล

ภาวะการซื้อขาย ในสัปดาห์นี้ราคาข้าวยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นประกอบกับผลผลิตที่ เก็บเกี่ยวในช่วงนี้ประสบปัญหาฝนตกหนัก รวมทั้งการระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพลทำให้น้ำท่วมนาข้าว บางพื้นที่ต้องเกี่ยวน้ำทำให้ความชื้นสูง เกษตรกรไม่สามารถตากลดความชื้นได้ต้องขายทันทีส่งผลให้โรงสีกดราคาต่ำเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกเพราะโครงการรับจำนำข้าว เปลือกนาปี ปี 2551/52 ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ประกอบกับพ่อค้าส่งออกชะลอการรับซื้อข้าวจากโรงสีเนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ได้ เปิดการประมูลข้าวในคลังรัฐบาลเมื่อ 5 พย.51ที่ผ่านมานี้

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 5 พฤศจิกายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 9.004 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 7.279 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.60 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,124 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 5.14

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,778 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,083 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.03

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,942 บาท ราคาลดลงจากตันละ 6,160 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.54

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง) ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,657 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,050 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.91

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,250 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (เก่า) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 784 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,242 บาท/ตัน) ราคาลดลง จากตันละ 799 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,615 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 373 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,154 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,048 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.7 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 894 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 467 ดอลลาร์สหรัฐฯ(16,227 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,763 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 536 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,015 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,945 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.4 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 930 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7474

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ผลผลิตข้าวอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเป็น 60.3 ล้านตัน

รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าผลผลิตข้าวรวมของปีนี้จะออกมาประมาณ 60.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์เมื่อตอนต้นปีที่มีจำนวน 59.9 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 57.2 ล้านตัน ร้อยละ 5.4 ส่งผลให้ปีนี้อินโดนีเซียไม่จำเป็นต้องนำเข้าข้าวอีก นอกจากนี้ ผลผลิตข้าว โพดและถั่วเหลืองของประเทศก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยข้าวโพดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ 14.9 เป็น 15.9 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 สำหรับถั่ว เหลืองเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่จำนวน 592,530 ตัน เป็น 761,210 ตัน ร้อยละ และเพิ่มขึ้นจากที่ได้คาดการณ์ไว้ตอนต้นปีว่าจะมีจำนวนเพียง 723,540 ตัน การที่ผลผลิตสินค้าเกษตรทั้งสามชนิดที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องมาจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยและปีนี้ความเสียหายจากการเก็บเกี่ยวมีน้อย

2.2 พม่าคงมาตรการห้ามการส่งออกข้าว

รัฐบาลพม่ายังคงมาตรการห้ามการส่งออกข้าวนาน 6 เดือนนับจากเหตุการณ์พายุไซโคลน นาร์กีสถล่มเมื่อวันที่ 2 — 3 พฤษภาคมที่ผ่าน มา ซึ่งได้สร้างความเสียหายร้อยละ 85 ให้แก่พื้นที่เพาะปลูกข้าวในแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดีซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่ม สต็อกข้าวของประเทศให้มีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตามทางการพม่าจะอนุญาตบางบริษัทที่จะสามารถส่งออกได้ ถ้าหากบริษัท เหล่านั้นมีข้าวเพียงพอต่อการส่งออกและมีผู้ต้องการรับซื้อข้าว แต่ทางการพม่าไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดของบริษัทที่สามารถส่งออกข้าวเหล่านั้น

อนึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้เปิดเผยว่า จำเป็นต้องใช้เงินถึง 51 ล้าน เหรียญสหรัฐฯเพื่อใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ปลูกข้าวที่เสียหายในแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดี นอกจากนี้นานาประเทศยังได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือพม่า แต่ชาวนาก็ยังไม่ สามารถที่จะเริ่มต้นเพาะปลูกข้าวได้เนื่องจากชาวนาเหล่านั้นยังประสบปัญหากับการไร้ที่อยู่อาศัยและอาหาร รวมทั้งสัตว์เลี้ยงที่จำเป็นต่อการทำนา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 3-9 พฤศจิกายน 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ