1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ส่งเสริมการเลี้ยงปลาช่อนทะเลชายฝั่งหรือปลาน้ำลึก
นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาช่อนทะเล ซึ่งมีการทดลองเลี้ยง จำนวน 3 กระชังใหญ่ เป็นโครงการนำร่องโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลนอร์เวย์ แต่ละกระชังจะปล่อยปลาที่มีขนาด 40 กรัม ลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่น 1 หมื่นตัว จากนั้นเมื่อมีขนาดโต 0.8 — 1 กิโลกรัมจะแยกเลี้ยงแต่ละกระชัง กระชังละ 5,000 ตัว ระยะเวลาการเลี้ยง 7-8 เดือน มีน้ำหนัก 3-4 กิโลกรัมจึงจับขายได้ เพราะหากปล่อยนานกว่านั้น ปลาจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ซึ่งจะทำให้เป็นภาระในการจำหน่าย นายปรีชายังได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชัง หากมองในส่วนของชาวบ้านคงไม่สามารถทำโดยลำพังได้ แต่จะต้องมีการรวมกลุ่มกัน เพราะจะต้องมีการหาตลาดรองรับ และต้องเป็นในรูปของอุตสาหกรรม ดังนั้น จะต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเรื่องการหาตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ดังนั้น จะต้องมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐที่ต้องเข้าไปส่งเสริมการเลี้ยง การรวมตัวของชาวบ้าน และภาคเอกชนในการนำผลผลิตออกจำหน่าย
นายทวี จินดามัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต กล่าวว่าปัจจุบันการเลี้ยง ปลาช่อนทะเลยังมีไม่มากนัก ขณะนี้นอกจากการทดลองเลี้ยงแล้วยังได้มีการศึกษาว่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเลี้ยง เพื่อให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมได้อย่างไร ที่สำคัญคือ เรื่องของตลาดต้องให้มีความมั่นใจก่อน ทางกรมประมงพร้อมที่จะเข้าไปส่งเสริมและให้ความรู้ ส่วนตลาดนั้นมีทั้งประเทศเยอรมัน ยุโรป และสิงคโปร์ ซึ่งปีที่แล้วได้ส่งออก ไปแล้วประมาณ 82 ตัน เบื้องต้นเป็นตลาดเปิด ต่อจากนั้นก็จะได้ส่งเสริมในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออก ส่วนตลาดในประเทศนั้นยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จัก โดยที่มีการวางจำหน่ายจะเป็น ในส่วนของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น แม็คโคร โลตัส ภัตตาคารใหญ่ ร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 - 22 ต.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 887.13 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 564.53 ตัน สัตว์น้ำจืด 322.60 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.94 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.73 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 103.58 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.56 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.76 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 110.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.69 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 103.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.83 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.37 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 8—14 พ.ย.2551)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2551--