ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday December 9, 2008 13:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การผลิต

แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/52 ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะเลขานุการอนุกรรมการวางแผนและส่งเสริมการปลูก พืชฤดูแล้ง ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงแรมชัยนาทธานี อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นั้น คณะอนุกรรมการวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ได้คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/52 ทั้งประเทศ 14.411 ล้านไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง 11.615 ล้านไร่ และพืชผัก 2.796 ล้านไร่ โดยมีรายละเอียดแยกเป็นรายภาค ดังนี้

หน่วย : ไร่

  ภาค                     นาปรัง                             พืชไร่-พืชผัก                      รวมทั้งหมด
                     ในเขต      นอกเขต         รวม       ในเขต       นอกเขต       รวม
                   ชลประทาน    ชลประทาน               ชลประทาน     ชลประทาน
เหนือ              1,767,200   2,233,600   4,000,800    275,700    1,188,400  1,464,100     5,464,900
ตะวันออกเฉียงเหนือ     741,500     423,900   1,165,400    164,500      629,300    793,800     1,959,200
กลาง              3,061,600      35,700   3,097,300     25,900       30,300     56,200     3,163,500
ตะวันออก             617,600      42,400     660,000     24,900       21,700     46,600       706,600
ตะวันตก            2,259,000      35,100   2,294,100    236,100       56,100    292,200     2,586,300
ใต้                  343,400      53,700     397,100     28,700      114,600    143,300       540,400
รวมทั้งหมด          8,790,300   2,824,400  11,614,700    755,800    2,040,400  2,796,200    14,410,900

1.2 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก นาปี ปี2551/2552 ตามมติ กขช. วันที่ 8 กันยายน 2551 ที่กำหนดเป้าหมายจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้ปรับราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี2551/2552 ใหม่ให้เหมาะสมกับตลาดเพื่อให้ธุรกิจการค้าข้าวในตลาดสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวในตลาดโลกลดลงมาก โดยกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือก ณ ความชื้น 15% ดังนี้

  • ราคารับจำนำ
                    - ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ชนิด 42 กรัม          ราคาจำนำตันละ   15,000 บาท
                                        ชนิด 40 กรัม          ราคาจำนำตันละ   14,800 บาท
                                        ชนิด 38 กรัม          ราคาจำนำตันละ   14,600 บาท
                                    ต่ำสุดชนิด 36 กรัม          ราคาจำนำตันละ   14,400 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 100% (ชนิดที่เป็นข้าวสาร 100%) ราคาจำนำตันละ 12,000 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 5% (ชนิดที่เป็นข้าวสาร 5%) ราคาจำนำตันละ 11,800 บาท
                    - ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว                  ราคาจำนำตันละ   10,000 บาท
                    - ข้าวเปลือกเหนียว 10 % ชนิดคละ             ราคาจำนำตันละ    9,000 บาท
                    - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด  ชนิด 42 กรัม          ราคาจำนำตันละ   13,000 บาท

หากจำนำยุ้งฉางจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกตันละ 1,000 บาท

  • ระยะเวลารับจำนำ ให้เริ่มรับจำนำวันที่ 1 พฤศจิกายน — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ยกเว้นภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 28
พฤษภาคม 2552 เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำทั้งจำนำใบประทวน และจำนำยุ้งฉาง
  • ผลการรับจำนำ อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูล

ภาวการณ์ซื้อขาย ในสัปดาห์นี้ตลาดค่อนข้างซบเซา เนื่องจากความต้องการข้าวของตลาดต่างประเทศมีน้อยส่งผลให้พ่อค้าออกมารับซื้อเท่า ที่ต้องการส่งมอบให้ลูกค้าเท่านั้น รวมทั้งพ่อค้าโรงสีส่วนใหญ่ไม่ซื้อข้าวเพื่อสต็อกสำหรับการค้าปกติ เพราะมีโครงการรับจำนำที่รับจำนำในราคาสูงและ ทำหน้าที่สต็อกข้าวแทนพ่อค้าแล้ว ประกอบกับผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดมากและเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวดข้าวมีความชื้นสูง พ่อค้าโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วม โครงการรับจำนำกับภาครัฐจึงรับซื้อข้าวในราคาต่ำ

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 พฤศจิกายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 9.403 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 8.447 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.32 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,599 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,672 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.57

ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,554 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,552 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 0.34

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,547 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,020 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 4.73

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,543 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 6,485 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.89

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง) ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,909 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,310 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 801 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,314 บาท/ตัน) ราคาลด ลงจากตันละ 803 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,143 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 171 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 712 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,168 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 714 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,024 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 144 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ(20,113 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 571 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,012 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 101 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,225 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,157 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 68 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,572 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,467 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 105 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3479

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ข้าวกัมพูชาเตรียมออกสู่ตลาด

ผลผลิตข้าวของกัมพูชาปีนี้มีส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศประมาณ 2.8 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 300,000 ตัน หรือ ร้อยละ 12 เมื่อ เทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลกัมพูชาวางแผนจะส่งออกข้าวปีหน้าอย่างน้อย 2 ล้านตัน ไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป และแอฟริกา

2.2 ประเทศโมซัมบิก งดการนำเข้าข้าวในอีก 3 ปีข้างหน้า

โมซัมบิกเป็นประเทศนำเข้าข้าวจากไทยปีละประมาณ เกือบ 2 แสนตัน มีรายงานข่าวว่า รัฐบาลโมซัมบิกตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวให้ มากขึ้นและจะงดการนำเข้าข้าวในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเพาะปลูกข้าว ในการนี้รัฐบาลโมซัมบิก ได้คิดค้นมาตรการและกลยุทธ์ ต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศให้มากขึ้น รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณถึง 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (134.32 พันล้านบาท) ซึ่งมากเป็นอันดับสามรองจากงบประมาณด้านการศึกษาและการสาธารณสุข เพื่อเพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการฝึกอบรมให้ความรู้กับชาวนา ทั้งทางด้านเทคนิคการผลิต ด้านการใช้เครื่องมือต่าง ๆ และการสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งจะทำให้ ประเทศลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวและข้าวสาลีจากต่างประเทศได้ โดยในแต่ละปีโมซัมบิกได้มีการนำเข้าธัญพืชซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวและข้าวสาลี ประมาณ 500,000 ตัน นอกจากนี้ รัฐบาลโมซัมบิกยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ผลผลิตธัญพืชของประเทศปี 2551/52 ทั้งหมดประมาณ 2.6 ล้านตัน ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 300,000 ตัน หรือร้อยละ 17

2.3 นักวิจัยสหรัฐฯ ค้นพบยีนที่ทำให้ข้าวทนต่อน้ำท่วมได้

นักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกา 3 คน ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบยีนที่จะช่วยให้ข้าวทนต่อสภาวะน้ำท่วมได้หลังจากใช้เวลาค้นคว้านาน ถึง 13 ปี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agriculture : USDA) เป็นเงินประมาณ 1.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(51.25 ล้านบาท) และจากกระทรวงความร่วมมือในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศเยอรมัน ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ตระหนักว่า ภัยน้ำท่วมนั้นสามารถสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น น้ำท่วมในบังกลาเทศและอินเดียสร้างความเสียหายต่อข้าวรวม แล้วมากกว่า 4 ล้านตันต่อปี ซึ่งข้าวจำนวนนี้จะเพียงพอในการบริโภคของประชากรถึง 30 ล้านคน โดยทีมวิจัยดังกล่าวประกอบด้วยศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย(University of California , Davis) 2 คน คือ พาเมล่า โรนัลด์ ศาสตราจารย์ด้านการวินิจฉัยโรคพืชและจู เลีย เบลลี-เซเรส ศาสตราจารย์ด้านพันธุกรรมศาสตร์ ร่วมกับนายเดวิด แมกกิล ประจำสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ(International Rice Research Institute : IRRI) ที่ตั้งอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยทั้งหมดได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตร สหรัฐฯประจำปี 2551 (the 2008 U.S. Department of Agriculture National Research Initiative Discovery Award) เนื่อง จากได้ค้นพบยีนที่เรียกว่า Sub1A ที่สามารถทำให้ข้าวมีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วม ซึ่งการค้นพบครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่ สามารถทนทานต่อน้ำท่วมและให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามข้าวพันธุ์ใหม่นี้จะสามารถมอบให้กับชาวนานำไปทำการเพาะปลูกได้ในอีก 2 ปีข้าง หน้า

อนึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการค้นพบยีนในข้าวที่จะทำให้ข้าวนั้นมีความทนทานต่อน้ำท่วม ไม่ได้เป็นการตัดต่อพันธุกรรมของข้าวแต่อย่างใด ดังนั้น ข้าวพันธุ์ใหม่นี้จึงมีความปลอดภัยต่อการบริโภค นอกจากนี้ การค้นพบครั้งนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงแนวคิดที่ว่า วิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ