1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนมกราคม 2552 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าผลผลิตข้าวนาปี ปี 2551/52 จะออกสู่ตลาด 1.024 ล้านตัน หรือร้อยละ 4.32 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 84.19
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 51 - 10 ม.ค. 51 ปริมาณข้าวเปลือกรับจำนำ 3,223,627 ตัน คิดเป็นร้อยละ 40.42 ของเป้าหมายที่รับจำนำ แบ่งเป็น
- ข้าวหอมมะลิ 526,466 ตัน - ข้าวหอมจังหวัด 153,883 ตัน - ข้าวเจ้า 2,119,812 ตัน - ข้าวปทุมธานี 322,418 ตัน - ข้าวเหนียว 111,048 ตัน
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวการณ์ซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เนื่องจากพ่อค้าส่งออกได้ออกมารับซื้อข้าวเพื่อเตรียมส่งมอบให้ลูกค้ามากขึ้น ในขณะที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดน้องลง เพราะเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ปี 2551/52 ประกอบกับผลของโครงการรับจำนำข้าวนาปี ปี 2551/52 ที่ดึงอุปทานส่วนเกินของตลาด จึงส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรสูงขึ้น
การส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 — 8 มกราคม 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 76,874 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 205,009 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 62.50 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,955 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,824 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,900 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,700 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,985 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,697 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.97
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,977 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 6,884 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง) ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,091 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,924 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,200 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,307 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 839 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,118 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,189 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 753 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,111 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 733 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,439 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 672 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,078 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,435 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 634 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,471 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,861 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 610 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 651 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,574 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 617 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,413 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,161 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.6764
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มอีก 1 ล้านตันปีนี้
นายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นของประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่า ปีนี้ผลผลิตข้าวของกัมพูชามีปริมาณมากพอที่จะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอีก 1 ล้านตัน ซึ่งได้ส่งออกเพียง 2 ล้านตัน โดยกัมพูชาได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะส่งออกข้าวให้ได้ประมาณ 3 — 4 ล้านตันต่อปีและจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตันให้ได้ในปี 2558
2.2 ฝนตกหนักนาข้าวฟิลิปปินส์เสียหาย
กระทรวงเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ขณะนี้นาข้าวของประเทศได้รับความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม โดยพื้นที่ปลูกข้าวหลักของประเทศอย่างจังหวัดคามารีนซูรเสียหายแล้วกว่า 8,000 เฮกแตร์ หรือ ประมาณ 50,000 ไร่ นอกจากนี้นาข้าวยังได้รับความเสียหายอีก 237 เฮกแตร์ หรือ ประมาณ 1,480 ไร่ ในจังหวัดสุริเกาเดลนอร์ท ในการนี้ กระทรวงเกษตรเตรียมที่จะเสนอให้รัฐบาลวางแผนการนำเข้าข้าวของปีนี้ เนื่องจากฝนที่ยังคงตกหนักสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งอาจจะทำให้ผลผลิตข้าวของประเทศไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายประเทศ อนึ่ง ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก โดยนำเข้าข้าวเป็นปริมาณ 1.9 และ 2.3 ล้านตันในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2552--