ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Tuesday January 20, 2009 14:34 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(20-26 ธ.ค.2551)สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,033.81 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 632.42 ตัน สัตว์น้ำจืด 401.39 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                   2.92     ตัน
          1.2  ปลาช่อน            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                   4.44     ตัน
          1.3  กุ้งทะเล            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 102.80     ตัน
          1.4  ปลาทู              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  15.39     ตัน
          1.5  ปลาหมึก            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  69.43     ตัน

การตลาด

ผลกระทบการส่งออกทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็งของไทย

นายศุภเสกข์ ลีลางกูร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.บี.ฟิชเชอร์รี่ โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกทูน่ากระป๋อง มีตลาดหลักที่สหภาพยุโรป(อียู) และตะวันออกกลางเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังประสบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าได้ขอชะลอการรับมอบสินค้าในออเดอร์เก่าที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม — กันยายน 2551 ซึ่งขณะนั้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และราคาวัตถุดิบปลาทูน่าอยู่ที่ระดับ 1,700 — 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ปัจจุบันราคาน้ำมัน และวัตถุดิบได้ลดลงค่อนข้างมาก โดยน้ำมันอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และราคาวัตถุดิบอยู่ที่ระดับราคา 850 — 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากต้นทุนน้ำมันของเรือหาปลาถูกลง จากปัจจัยดังกล่าวคู่ค้าได้ใช้เป็นเหตุผลไม่ยอมรับมอบสินค้า อีกทั้งยังได้ขอต่อรองราคาลงจากราคาเดิมกว่า 40% ซึ่งได้สร้างความหนักใจให้กับบริษัทอย่างมาก เพราะหากลดราคาให้ตามที่ขอก็จะประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตในออเดอร์เก่าค่อนข้างสูง แต่หากไม่ลดก็จะเสียลูกค้า เราอยู่ในสถานะลำบาก เวลานี้บริษัทมีภาระสต๊อกวัตถุดิบปลาที่ซื้อไว้ช่วงน้ำมันแพงกว่า 2,000 ตัน และมีสต๊อกทูน่ากระป๋องที่รอส่งมอบอีก 70 — 80 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 2,000 ตัน ซึ่งเราจะใช้วิธีเจรจากับลูกค้าแบบพบกันครึ่งทาง คือ ทั้งสองฝ่ายต้องอยู่รอด คงไม่ใช่วิธีฟ้องร้อง เพราะเรื่องจะยาวและจะเสียลูกค้าต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ บริษัทได้คุยกับแบงค์เจ้าหนี้แล้ว โดยแบงค์ได้ยอมรับจำนำสต๊อกสินค้าของบริษัทในวงเงินประมาณ 80% ของมูลค่าสินค้า โดยให้เวลา 3 เดือนหากขายได้แล้วให้นำเงินมาคืนทั้งต้นและดอก แต่หากขายไม่ได้คงมีปัญหาตามมาแน่นอน

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.54 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 5-9 ม.ค.2552)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.10 ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2552--

-พห-

แท็ก ปลาดุก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ