1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(5 - 11 ม.ค.2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 881.19 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 609.79 ตัน สัตว์น้ำจืด 271.40 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.82 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.41 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 106.86 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.92 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.83 ตัน
การตลาด
การผลิตปลานิลไทยไม่พอส่งออกต่างประเทศ
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าปัจจุบันความต้องการปลานิลในตลาดโลกยังสูงมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ขณะที่ความต้องการบริโภคปลานิลภายในประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นตลอด ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง ประกอบกับการส่งออกยังมีข้อจำกัดที่จะต้องไม่มีกลิ่นโคลน จึงจะเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ สศก.จึงได้ลงพื้นที่ทำการศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดของปลานิล เพื่อหาช่องทางในการขยายตลาดให้มากขึ้นในอนาคต และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
จากผลการศึกษา พบว่าการเลี้ยงปลานิลของเกษตรกรมี 2 แบบ คือ การเลี้ยงปลานิลในกระชัง และ การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน การเลี้ยงปลานิลในกระชังมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกระชังละ 24,713 บาท ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.64 บาท และมีกำไรกิโลกรัมละ 8.34 บาท สำหรับการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 20,975 บาท ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.11 บาท และมีกำไรกิโลกรัมละ 5.26 บาท
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและรองโฆษก สศก.เปิดเผยถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบว่าจุดแข็ง คือ ปลานิลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงง่าย และมีอัตรา การเจริญเติบโตสูง ขยายพันธุ์ได้เร็ว พ่อแม่พันธุ์ได้รับการพัฒนาและมีปริมาณเพียงพอ มีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจร ตลอดจนมีระบบการเลี้ยงที่มีมาตรฐาน ด้านจุดอ่อน คือ มีต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าอาหาร ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินมีปัญหาเรื่องของกลิ่นโคลน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์นี้
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.72 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 24-30 ม.ค.2552)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.06 ของสัปดาห์ก่อน 2.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2552--