1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(12 - 18 ม.ค.2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 804.82 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 562.08 ตัน สัตว์น้ำจืด 342.74 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.83 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.48 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 102.17 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.36 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.10 ตัน
การตลาด
สหรัฐอเมริกาออกกฎเหล็กคุมเข้มสินค้าเกษตรต้องติดฉลาก
นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ออกระเบียบสุดท้ายว่าด้วยการติดฉลากภาคบังคับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกษตรหรือฟาร์มบิลล์ ปี 2549 และปี 2552 หรือที่เรียกว่า ระเบียบ COOL ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นไป หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯได้ออกเป็นระเบียบชั่วคราว ซึ่งได้ทยอยบังคับใช้กับสินค้าบางประเภทมาก่อนหน้านี้เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ระเบียบนี้ได้มีการเพิ่มรายการสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ ระเบียบที่ประกาศใหม่ดังกล่าวต้องมีการติดฉลากระบุถึงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าแต่ละประเภท ได้แก่ เนื้อวัว แกะ ไก่ แพะ และสุกร สินค้าประมง สินค้าเกษตรเน่าเสียง่าย โดยเฉพาะพืชผัก ผลไม้สด และแช่แข็งเมล็ดมะคาเดเมีย ถั่วพีแคน โสม และถั่วลิสง เป็นต้น สำหรับสินค้าประมงต้องมาจากการเพาะเลี้ยงหรือจากการจับ ยกเว้นสินค้าแปรรูปจากสินค้าดังกล่าวที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และเคมีแล้ว เช่น รมควัน หรือการนำผสมกับสินค้าอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในสหรัฐฯ และผู้จัดหาสินค้าต้องจัดเก็บรายละเอียดรวบรวมข้อมูลไว้ 1 ปี เพื่อสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังเตรียมเรื่องการบังคับใช้ระเบียบนี้ โดยทำความตกลงกับ 42 มลรัฐของสหรัฐฯ แล้ว เพื่อติดตามเฝ้าระวังการค้าปลีก ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯ เช่น ผักผลไม้ สินค้าประมง ต้องศึกษาข้อกำหนดใหม่อย่างดี เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าเหล่านั้นจะเป็นไปตามเงื่อนไข และข้อกำหนดที่สหรัฐฯ วางไว้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.76 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.- 6 ก.พ.2552)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2552--