1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังปี 2552 แล้ว โดยคาดว่าในเดือนนี้ ผลผลิตข้าวจะออกสู่ตลาดประมาณ 0.278 ล้านตัน หรือร้อยละ 3.58 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วง เดือน พค.- มิย. ประมาณ 2.809 ล้านตัน หรือร้อยละ 36.22 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
- ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 11 ก.พ. 52 ปริมาณข้าว เปลือกที่รับจำนำ 4,681,791 ตัน คิดเป็นร้อยละ 58.52 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ------------------------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) -------------------------- ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 17 จังหวัด 1,230,552 161,521 159,379 20,559 172,062 1,744,073 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด 24,489 1,054,043 - - 120,600 1,181,132 ภาคกลาง 21 จังหวัด 1,394,800 - 7,431 353,850 - 1,756,081 ภาคใต้ 1 จังหวัด 505 - - - - 505 รวม 58 จังหวัด 2,650,346 1,215,564 166,810 374,409 274,662 4,681,791
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ตลาดยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในทุกตลาดเช่น กัน เนื่องจากพ่อค้าส่งออกไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหญ่เข้ามา ขณะที่ปริมาณข้าวสารในสต๊อกยังมีมากเพียงพอต่อการส่งมอบจึงไม่ออกมารับซื้อข้าวใน ตลาด มีเพียงผู้ส่งออกรายย่อยเท่านั้นที่ออกมารับซื้อเท่าที่ต้องการส่งมอบ ส่งผลให้พ่อค้าโรงสีชะลอการซื้อข้าวเปลือกของเกษตรกรเช่นกัน ประกอบกับ ผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2552 ได้เริ่มออกสู่ตลาดบางแล้ว
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 11 กุมภาพันธ์ 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 868,080 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 1,366,865 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.49 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,839 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,507 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66
ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,916 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,015 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,055 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.40
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,233 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,167 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.81
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง) ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,691 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,719 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,525 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,050 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 869 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,250 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 875 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,373 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 123 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 764 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,595 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 769 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ( 26,694 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 99 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 591 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,573 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,619 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 46 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,674 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 482 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,731 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 57 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 678 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,601 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 681 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (23,639 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8102
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ว่าจะมี 439.74 ล้านตันข้าวสาร (655.5 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 431.87 ล้านตันข้าวสาร (644.2 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 1.82 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อิ ยิปต์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และสหัฐฯ
2.2 การค้าของโลกบัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 439.74 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.82 การใช้ในประเทศจะมี 435.12 ล้านตันข้าว สาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.60 การส่งออก/นำเข้าจะมี 29.52 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.56 และสต็อกปลายปีคง เหลือ 84.60 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.12
2.3 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนาม
โฆษกขององค์การอาหารแห่งชาติ(National Food Authority : NFA)ของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำสัญญาซื้อ ข้าวจากประเทศเวียดนามงวดแรกเป็นจำนวน 500,000 ตัน โดยในจำนวนนี้เวียดนามจะทำการส่งมอบข้าวให้ฟิลิปปินส์ประมาณ 40,000 ตันภายใน ครึ่งเดือนแรกของเดือนกุมภาพันธ์และจะทยอยส่งมอบข้าวจนครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคมนี้
อนึ่ง ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก โดยในปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวของประเทศอยู่ที่ 16.82 ล้านตัน ซึ่ง ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าถึง 2.3 ล้านตัน สำหรับ ปีนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์คาดว่าผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.8 หรือได้ปริมาณทั้งสิ้น 17.8 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเกรงว่าข้าวจำนวนนี้จะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ของประเทศ จึงได้ทำสัญญาซื้อข้าวจากเวียดนามเป็นจำนวน 1.5 ล้านตัน
2.4 กานาต้องการนำเข้าข้าวกว่า 500,000 ตัน
ทางการกานา เปิดเผยว่า ความต้องการบริโภคข้าวของประเทศในปีนี้อยู่ที่ 700,000 ตัน แต่เกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้เพียง 150,000 ตัน ซึ่งทำให้ประเทศต้องนำเข้าข้าวสูงถึง 550,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการระบุประเทศและชนิดของข้าวที่จะนำเข้า ในการ นี้ รัฐบาลกานาได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการรวม 4 วันเมื่อวันที่ 6 — 9 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อเป็นการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับ กรรมวิธีและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศในอนาคต
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2552--