ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday March 11, 2009 14:29 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 สศก. พยากรณ์ข้าวนปีและนาปรัง ปี 2552

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้พยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรัง ปี 2552 ณ เดือนมีนาคม 2552 ดังนี้

1) ข้าวนาปี ปี 2552/53 คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.292 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 23.564 ล้านตันข้าวเปลือก ทั้งพื้นที่และผลผลิตลดลงจาก ปี 2551/52 ร้อยละ 0.95 และ 0.61 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆ แทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาข้าวยังอยู่ในเกณฑ์สูงทำให้พื้นที่ลดลงไม่มาก แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ได้ 411 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 1 กก./ไร่ เนื่องจากเกษตรกรมีการดูแลรักษาดีขึ้นรวมทั้งสภาพอากาศเอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา

2) ข้าวนาปรัง ปี 2552 คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 11.292 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 7.674 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 680 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิต และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.79, 12.70 และ 1.02 ตามลำดับ และผลผลิตยังลดลงจากที่ ประมาณการไว้ 7.756 ล้านตันข้าวเปลือก เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 1.06 ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐไม่สนับสนุนทำนาปรังรอบ 2 ในพื้นที่ นอกเขตชลประทาน เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับบางส่วนเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส ส่วนผลผลิตลดลง เนื่องจาก คาดว่าสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงต้นปี ส่งผลให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโตในระยะออกดอก ข้าวไม่ผสมเกสร เมล็ดข้าวลีบ ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่ลดลง ส่งผลให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศลดลง

1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

          - ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี  ปี 2551/52    ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 5 มี.ค. 52    ปริมาณข้าว
เปลือกที่รับจำนำ 5,280,543  ตัน   คิดเป็นร้อยละ 66.01 ของเป้าหมายที่รับจำนำ  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

   จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ           --------------------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)----------------------
                                       ข้าวเจ้า    ข้าวหอมมะลิ    ข้าวหอมจังหวัด    ข้าวปทุมธานี    ข้าวเหนียว   รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ                  17 จังหวัด    1,318,611     182,187        162,962      2 1,034     219,118    1,903,912
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ       19 จังหวัด      2 5,219   1,133,212             10            -     156,599    1,315,040
ภาคกลาง                  21 จังหวัด    1,670,739           -          7,431      381,230           -    2,059,400
ภาคใต้                     2 จังหวัด       2 ,191           -              -            -           -        2,191
 รวม                     59 จังหวัด    3,016,760   1,315,399        170,403      402,264     375,717    5,280,543

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากผู้ส่งออกเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาหลังจากเวียดนามประกาศนห้ามส่งออก ข้าว 4 เดือนนับจากประกาศในสัปดาห์ที่ผานมา เนื่องจากประสบปัญหา เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดกระทบผลผลิตข้าวได้รับความเสียหาย จึงต้องสำรองเพื่อบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศของไทยมีราคาสูงขึ้น ทั้งราคาข้าวนาปี เช่น ข้าวหอมมะลินาปี ข้าวปทุมธานี ข้าว 5% และข้าวนาปรัง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1,271,773 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 2,072,546 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.64 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,227 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,819 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.18

ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,918 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,916 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.02

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,388 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,023 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 3.65

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,548 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,639 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.19

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง) ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,380 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.04

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,670 บาท ราคาลดลงจากตันละ 18,850 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,777 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 851 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,224 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 553 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 755 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,114 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 748 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ( 26,566 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 548 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,620 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 592 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,025 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 595 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,418 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,870 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 548 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 657 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,595 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 663 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (23,547 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 48 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.9130 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์แนวโน้มราคาอาหารปีนี้

นายโจเซฟ เกลาเบอร์ หัวหน้าทีมเศรษฐศาสตร์ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (The US Department of Agriculture : USDA) ได้กล่าวในการประชุมประจำปีของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ณ เมืองวอชิงตันว่า ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลก จะส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามราคาสินค้าเกษตรปีนี้ โดยเฉพาะพืชอาหารหลักอย่าง ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลือง ก็ยังคงสูงกว่าราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยในรอบ 8 ปีนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างหนักกับประเทศที่ยาก จนและพึ่งพาการนำเข้าอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ นายคริสโตเฟอร์ เดลกาโด ที่ปรึกษาด้านนโยบายเกษตรของธนาคาร โลก ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่าเมื่อพิจารณาจากราคาเฉลี่ยปี 2546 — 2549 พบว่า ข้าวโพดมีราคาสูงขึ้นอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์และราคาข้าวเพิ่มสูง ขึ้นกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการแสดงถึงวิกฤติอาหารยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พร้อมนี้ได้เรียกร้องในที่ประชุมให้หามาตรการแก้ไขเพื่อที่จะทำให้ ราคาสินค้าอาหารนั้นถูกลง โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนประชากรที่หิวโหยของโลกเพิ่มขึ้นเกือบจะ 1 พันล้านคน เนื่องจาก ความกังวลของวิกฤติอาหาร โลกทำให้แต่ละประเทศเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงอาหารให้กับประเทศของตนเอง เช่น มาตรการห้ามการส่งออกอาหารในประเทศผู้ผลิตหลัก เมื่อ 18 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นไปอีก

สำหรับปีนี้ ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศไทยได้ประกาศเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาถึง มาตรการห้ามการส่งออกข้าวนาน 4 เดือนเพื่อการสำรองข้าวสำหรับการบริโภคภายในประเทศของตน นอกจากนี้พบว่าการผลิตข้าวของจีนในปีนี้น่าจะ ลดลงเนื่องจากการผลิตในช่วงฤดูการผลิตนี้ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง ผลผลิตอาจได้รับความเสียหายแม้ว่าจีนจะทำฝนเทียมแล้วก็ตาม ดังนั้นจึง คาดว่าจีนอาจจะมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าราคาข้าวน่าจะขยับสูงขึ้นอีก

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2-8 มีนาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ