ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday March 19, 2009 13:19 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 กขช. กำหนดราคารับจำนำข้าวนาปรัง ปี 2552

ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็น ประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังประจำปี 2552 เท่ากับราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ดังนี้ ข้าว เปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือก เจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 10% (คละ) ราคาตันละ 9,000 บาท โดยจะ เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52) รวมจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก

1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

          -  ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี  ปี 2551/52    ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 12 มี.ค. 52    ปริมาณข้าว
เปลือกที่รับจำนำ 5,286,737  ตัน   คิดเป็นร้อยละ 66.08 ของเป้าหมายที่รับจำนำ  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

     จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ                           ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)
                                        ข้าวเจ้า     ข้าวหอมมะลิ      ข้าวหอมจังหวัด      ข้าวปทุมธานี       ข้าวเหนียว    รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ                  17 จังหวัด    1,320,165     181,587 1          163,968       21,034 2        220,287      1,907,041
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ       19 จังหวัด       28,235     1,131,470                -              -        156,709      1,316,414
ภาคกลาง                  21 จังหวัด    1,671,517             -            7,636        381,589             37      2,060,779
ภาคใต้                     2 จังหวัด       2 ,503             -                -              -              -          2,503
 รวม                     59 จังหวัด    3,022,420     1,313,057          171,604        402,623        377,033      5,286,737

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีมาก หลังจาก ที่เวียดนามประกาศเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2552 ให้หยุดการส่งออกข้าว 4 เดือน ดังนั้นลูกค้าข้าวจึงหันมาซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น ทำให้พ่อค้าส่งออกได้ ออกมารับซื้อข้าวจากโรงสีมากขึ้น ประกอบกับขณะนี้ข้าวนาปีได้สิ้นสุดการเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตในท้องตลาดมีน้อยรวมทั้งข้าวส่วนใหญ่อยู่ในโครงการับ จำนำข้าวเปลือกนาปี แม้ข้าวนาปรังทยอยออกสู่ตลาดแต่ยังมีไม่มากนัก รวมทั้งรัฐบาลได้ออกประกาศรับจำนำข้าวนปรัง ปี 2552 ในราคาเท่ากับ ข้าวนาปี ปี 2551/52 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศสูงขึ้น

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1,440,116 ตัน ข้าวสาร ลดลงจาก 2,287,561ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.05 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,265 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,227 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29

ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,868 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,918 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 0.46

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,564 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,388 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.69

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,586 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,548 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.50

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,532 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,260 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.65

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 18,670 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,829 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,778 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 759 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,177 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 755 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ( 27,115 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 62 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 605 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,663 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,620 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,438 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,418 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 20 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 660 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,632 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 657 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (23,595 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 37 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8064 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ผลผลิตข้าวโลก

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนมีนาคม 2552 ว่าจะมี 440.95 ล้านตัน ข้าวสาร (657.3 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 432.13 ล้านตันข้าวสาร (644.6 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 2.04 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อิยิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และสหัฐฯ

2.2 การค้าของโลก

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนมีนาคม 2552 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 440.95 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.04 การใช้ในประเทศจะมี 433.43 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.16 การส่ง ออก/นำเข้าจะมี 29.44 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.07 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 86.07 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน มาร้อยละ 9.57

2.3 ข่าวต่างประเทศ

ผลผลิตข้าวปีนี้ของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตข้าวของประเทศปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.1 เนื่องจากขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวและผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยพื้นที่การเพาะปลูกข้าวปี นี้เพิ่มขึ้นเป็น 12.5 ล้านเฮกแตร์หรือประมาณ 78 ล้านไร่ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 11.8 ล้านเฮกแตร์หรือประมาณ 73.75 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.93 เนื่องจากการพัฒนาระบบ ชลประทานในประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้ชาวนามีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว และผลผลิตข้าวต่อไร่ก็เพิ่มขึ้นด้วย โดยผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 736 กิโลกรัมในปี 2550 เป็น 768 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ4.35 นอกจากนี้ยังสามารถเพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้งจากเดิม ที่เพาะปลูกข้าวปีละครั้งเท่านั้น

อนึ่ง ในปีนี้รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไว้ที่ 800 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากอินโดนีเซียมีการใช้กรรมวิธีในการเพาะ ปลูก การใช้ปุ๋ยและการปรับปรุงคุณภาพดินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันข้าวอินโดนีเซียมีคุณภาพดีขึ้นเป็นที่ต้องการของตลาดสิงคโปร์และตลาด อื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางแผนที่จะลดปริมาณการส่งออกข้าวปีนี้จากปริมาณที่ตั้งเป้าหมายไว้ล้าสุด 2 ล้านตัน เหลือเพียง 1 ล้านตัน เพื่อเพิ่มปริมาณการสำรองข้าวสำหรับการบริโภคภายในประเทศให้เท่ากับ 3 ล้านตัน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 — 15 มีนาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ