ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday April 1, 2009 13:48 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 25 มี.ค. 52 ปริมาณข้าวเปลือก

ที่รับจำนำ 5,291,033 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66.14 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ          -------------    ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)  ---------------------
                                   ข้าวเจ้า    ข้าวหอมมะลิ    ข้าวหอมจังหวัด  ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว  รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ             17 จังหวัด    1,319,671      177,530        161,930     21,034    215,275    1,895,440
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  19 จังหวัด       27,905    1,149,908              -          -    153,134    1,330,947
ภาคกลาง             21 จังหวัด    1,672,478            -          7,613    381,589         33    2,061,713
ภาคใต้                2 จังหวัด        2,933            -              -          -          -        2,933
 รวม                59 จังหวัด    3,022,987    1,327,438        169,543    402,623    368,442    5,291,033

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ราคาตลาดส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการในตลาดยังคงมีอยู่ แต่ราคาเกษตรกรขาย ได้กลับลดลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ผู้ส่งออกมีข้าวเพียงพอต่อการส่งมอบจึงไม่ออกมารับซื้อข้าวในตลาด ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2552 ได้ทะยอ ยออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันโครงการรับจำนำยังดำเนินการไม่เต็มที่ เพราะโรงสีที่เข้าร่วมโครงการบางแห่งยังดำเนินการไม่ได้เพราะยังสีข้าว โคงการรับจำนำนาปี ปี 2551/52 ส่งโกดังกลางไม่เสร็จ

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 20 มีนาคม 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1,782,604 ตัน ข้าวสาร ลดลงจาก 2,777,463 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.82 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,085 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,181 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73

ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,368 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,868 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.60

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,285 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,485 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.91

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,553 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,560 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.09

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,364 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,451 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,530 บาท ราคาลดลงจากตันละ 18,230 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.84

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 875 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,756 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,889 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 133 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 771 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,100 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 765 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ( 27,224 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 124 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,582 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 610 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,708 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 126 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 491 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,258 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,366 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 108 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 670 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,550 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 666 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (23,701 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 151 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1494 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

ซาอุดิอาระเบียร่วมลงทุนปลูกข้าวในอินโดนีเซีย ทางการอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ภายในปีนี้จะมีการร่วมลงทุนในการเพาะปลูกข้าวกับ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นพื้นที่ 2 ล้านเฮกแตร์ หรือ ประมาณ 12.5 ล้านไร่ โดยหลาย ๆ จังหวัดของอินโดนีเซียได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง ในการร่วมกันลงทุนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวติดอันดับของโลกได้ในปีนี้ โดยปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มซาอุดิ บิน ลาดิน (Saudi Binladin Group) ได้วางแผนการลงทุนอย่างน้อย 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (151,142.42 ล้านบาท) ในการผลิตข้าวบน เนื้อที่ 500,000 เฮกแตร์ หรือ ประมาณ 3.125 ล้านไร่ ในจังหวัดปาปัว

อนึ่ง ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นประเทศนำเข้าข้าว 1 ใน 10 ของโลก มีแผนการลงทุนด้านเกษตรกรรมในต่างประเทศเพื่อผลิต อาหารและนำเข้าประเทศซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยภายใต้แผนการลงทุนดังกล่าวซาอุดิอาระเบียจะนำเข้าสินค้าและจะลงนามในข้อตกลงซื้อ ขายกับรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา ประเทศซาอุดิอาระเบียนำเข้าข้าวมากกว่า 1 ล้านตัน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 — 29 มีนาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ