ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday April 9, 2009 11:56 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

  • เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก
  • ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
  • ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า
10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 10%
(คละ) ราคาตันละ 9,000 บาท
  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-1 เม.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับ

จำนำ 413,884 ตัน คิดเป็นร้อยละ 16.56 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ        -------  ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)  --------
                                           ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว      รวมข้าวทุกชนิด
          ภาคเหนือ        7 จังหวัด          164,991          412          -          165,403
          ภาคกลาง       12 จังหวัด          211,708       36,773          -          248,481
           รวม          19 จังหวัด          376,699       37,185          -          413,884

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 2 เม.ย. 52 ปริมาณข้าวเปลือก

ที่รับจำนำ 5,292,266 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66.15 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ           -------------------  ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) ------------------------
                                     ข้าวเจ้า     ข้าวหอมมะลิ    ข้าวหอมจังหวัด    ข้าวปทุมธานี    ข้าวเหนียว   รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ            17 จังหวัด       1,319,671       177,530        161,930       21,034     215,275     1,895,440
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด          27,905     1,149,908              -            -     153,134     1,330,947
ภาคกลาง            21 จังหวัด       1,672,478             -          7,613      381,589          33     2,061,713
ภาคใต้               2 จังหวัด           4,166             -              -            -           -         4,166
 รวม               59 จังหวัด       3,024,220     1,327,438        169,543      402,623     368,442     5,292,266

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ราคา การซื้อขายมีปริมาณน้อย ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีข้าวเพียงพอกับความต้องการบ้างแล้ว จึงชะลอการ สั่งซื้อลง ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวโดยรวมในทุกตลาดปรับตัวลดลง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 1 เมษายน 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2,051,242 ตัน ข้าวสาร ลดลงจาก 3,243,059 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.75 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,154 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,085 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53

ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,308 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,368 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 0.53

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,237 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,285 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.46

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,531 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,553 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.29

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,065 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,364 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.88

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,530 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 875 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,825 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 69 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,633 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 771 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ( 27,100 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 467 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,574 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,582 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,008 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 482 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,980 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 491 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,258 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 278 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 626 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,053 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 670 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (23,550 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.57 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,497 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.2286 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 เวียดนามส่งออกข้าวกว่าร้อยละ 70 ในไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศเวียดนามรายงานว่า ไตรมาสแรกของปีนี้เวียดนามได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.74 ล้านตัน คิดเป็น มูลค่า 785 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.3 และ 76.2 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีที่ผ่านมา โดยในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ตันเป็น 700,000 ตัน และมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เป็น 315 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ความ ต้องการข้าวที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกอาจทำให้ราคาธัญพืชในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสูงขึ้นแต่จะมีผลในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น รวมถึงปัญหา/อุปสรรคของผู้ส่ง ออกข้าวเวียดนามในการส่งออกข้าวไปยังตลาดเฉพาะ (Niche Market) กล่าวคือ คุณภาพของข้าวของเวียดนามในตลาดขณะนี้ยังไม่ตรงกับความ ต้องการของตลาดโลก ทำให้ผู้ส่งออกข้าวหลายรายพยายามปรับปรุงคุณภาพข้าวของตนเองเพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดให้ได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าขณะนี้เวียดนามจะยังคงไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในตลาดเฉพาะ (Niche Market) ได้ แต่เวียดนามก็มีศักยภาพในการส่งออก ข้าวแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในตลาดทั่วไปได้ เนื่องจากคุณภาพข้าวเวียดนามมีการพัฒนาขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับในปีนี้เวียดนาม ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้เวียดนามตั้งเป้าที่จะผลิตข้าวปีนี้ให้ได้ถึง 38 ล้านตัน ใน จำนวนนี้ 18.2 ล้านตัน จะมาจากแปล่งปลูกข้าวหลักของเวียดนามในแถบลุ่มแม่น้ำจูหลง (Cuu Long Delta Region) และตั้งเป้าการส่งออกข้าวให้ ได้ถึง 4.5 — 5 ล้านตัน

2.2 อูกันดาเปิดศูนย์การวิจัยข้าวระดับโลก

อูกันดาเปิดศูนย์การวิจัยข้าวระดับโลก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ ที่จะมุ่งวิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ของแอฟริกา ที่มีชื่อพันธุ์ว่า “ Nerica ” ซึ่งมีการเปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศกินีเมื่อปี 2540 และได้รับการขนานนามกัน อย่างกว้างขวางว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้กล่าวถึงข้าวพันธุ์ Nerica ว่า มีส่วนช่วยทำให้ เกษตรกรใน

แอฟริกามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตที่สูงทำให้เกษตรกรมีข้าวที่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนและได้กำไรจาก การจำหน่ายส่วนที่เหลือ โดยข้าวพันธุ์ Nerica สามารถปลูกได้ดีในทวีปแอฟริกาเนื่องจากเป็นข้าวลูกผสม (Hybrid) ระหว่างข้าวที่มีความทนทาน สูงของแอฟริกาพันธุ์ Oryza glaberrima กับข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงของเอเชียพันธุ์ O. sativa. โดยข้าวพันธุ์ Nerica นี้จะได้รับส่วนดีของ ทั้งสองสายพันธุ์ กล่าวคือ จะมีความทนทานต่อความแห้งแล้งและวัชพืช ออกรวงเร็ว ผลผลิตต่อไร่สูงแม้ว่าจะขาดน้ำหรือขาดปุ๋ย อีกทั้งยังให้โปรตีน สูงกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น

อนึ่ง ประชาชนอูกันดาบริโภคข้าวประมาณ 160,000 ตันต่อปี ซึ่งทำให้รัฐบาลอูกันดาตระหนักถึงความสำคัญของข้าวจึงได้มีการ ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยศูนย์การวิจัยฯ นี้จะช่วยในการเพิ่มผลผลิตข้าวและพัฒนาคุณภาพของข้าวซึ่งจะใช้ในการ เพาะปลูกในแอฟริกาตะวันออก นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้การสนับสนุนในการพัฒนาสาธารณูปโภคในประเทศอูกันดา โดยในปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังศึกษา ความเป็นไปได้ในการสร้างสะพานเพิ่มและสร้างเขื่อนพลังน้ำให้กับประชาชนอูกันดา

2.3 ยูเอสทีอาร์กระตุ้นให้ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวตามข้อตกลงของ WTO

รายงานทางการค้าของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ หรือ ยูเอสทีอาร์ (U.S.Trade Representative : USTR) ได้ระบุว่า ญี่ปุ่น ละเมิดที่จะนำเข้าข้าวตามโควตาที่ระบุไว้ในปีดำเนินงาน 2550 - มีนาคม 2551 เนื่องจากข้าวนั้นมีราคาสูงกว่าราคาทั่วไปในตลาดโลก โดยข้อตกลง ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ได้ระบุไว้ว่า ญี่ปุ่นจะต้องนำเข้าข้าวเปลือกในปริมาณ 770,000 ตัน แต่ญี่ปุ่นกลับ นำเข้าข้าวเปลือกเพียง 70,000 ตันเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดไว้มาก ดังนั้น ยูเอสทีอาร์ จึงได้กระตุ้นในญี่ปุ่นให้นำเข้าข้าวในปริมาณขั้นต่ำตามที่ได้ ระบุไว้ในข้อตกลงของ WTO โดยรัฐบาลสหรัฐฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าญี่ปุ่นจะนำเข้าข้าวให้ครบตามปริมาณโควตา TRQ (Tariff Rate Quota) ตามปริมาณที่กำหนดไว้ของปีดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ จะจับตาดูการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 มี.ค. — 5 เม.ย. 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ