1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(20 - 26 มี.ค. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 973.37 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 570.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 402.97 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.82 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.21 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 91.65 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.14 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 88.92 ตัน
การตลาด
อุตสาหกรรมการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องปี 2552
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยข้อมูลอุตสาหกรรมการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในช่วงเดือนมกราคม 2552ว่า ลดลงเหลือเพียง 104.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 แล้วลดลงถึงร้อยละ 24.6 เป็นผลมาจากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เพื่อรอดูแนวโน้มราคาปลาทูน่าในตลาดโลกที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อย่างไรก็ตาม ราคาปลาทูน่าในตลาดโลกเริ่มปรับตัวขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เนื่องจากมาตรการลดปริมาณการจับปลาทูน่า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ประเทศผู้ซื้อปลาทูน่ากระป๋องจะกลับมาซื้อปลาทูน่ากระป๋องตามปกติ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเทศผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องที่สำคัญของไทยใช้กลยุทธปรับลดราคาจำหน่ายปลีกปลาทูน่ากระป๋องเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่ายภายในประเทศ ทำให้หันมาต่อรองราคารับซื้อปลาทูน่ากระป๋องจากไทย คาดว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณมากกว่าราคา การส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา แต่คาดว่าอัตราการขยายตัวจะชะลดลง เมื่อเทียบกับปี 2551 ทั้งปริมาณและมูลค่า กล่าวคือ ในปี 2552 เป็นการขยายตัวทางด้านปริมาณ ขณะที่ราคาหดตัว ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 7.9 จากที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.4 ในปี 2551 นอกจากนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังต้องปรับตัวรับมือกับปัจจัยเสี่ยงจากการที่ต้องแบกรับภาระสต็อกวัตถุดิบปลาทูน่าและปลาทูน่ากระป๋องที่ผลิตแล้วรอส่งมอบที่ซื้อและผลิตไว้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งราคาปลาทูน่าในขณะนั้นอยู่ในเกณฑ์สูง และยังต้องรับมือกับการขอชะลอการส่งมอบ รวมถึงการต่อรองราคาของประเทศคู่ค้าอีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 126.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.62 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 128.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.66 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 18 - 24 เม.ย.2552) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.20 ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 — 26 เม.ย. 2552--