ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 51.91 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออก ยางของไทยเริ่มคึกคักขึ้นในไตรมาสที่ 2 หลังจากประเทศจีนประกาศการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีตัวเลข GDP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 โดย อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ได้มีสัญญาณการขยายตัวตามอุตสาหกรรมรถยนต์ ประกอบกับสต๊อกยางเริ่มลดลง โดยเฉพาะในตลาดเซี่ยงไฮ้ ทำให้มีการสั่ง ซื้อยางพาราเพิ่มขึ้น และยังนับเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย การไม่ต่ออายุมาตรการระยะสั้นในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ตามมติที่ประชุมสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ (IRTC) ที่ไทยจะต้องลดการส่งออกช่วงไตรมาสแรก(ม.ค.-มี.ค.) อันทำให้การส่งออกล่า ช้า เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบสต๊อกยางของผู้ส่งออก และควบคุมการออกใบผ่านด่านไม่ให้ส่งออกยางในปริมาณเกินที่กำหนดแต่ละเดือน ส่งผลให้ไตร มาสแรกมีปริมาณการซื้อขายยางลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ในด้านปริมาณการผลิตยาง ตั้งแต่กลางเดือนเมษายนนี้ จะเป็นช่วงเปิดหน้ายางและเริ่มเข้า สู่ฤดูกาลกรีดยาง เป็นผลให้ปริมาณยางเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อผู้ขายในตลาดจริง เริ่มรับซื้อยางและวางแผนการผลิตรอบใหม่ ปัจจัยดัง กล่าวน่าจะผลักดันให้ราคายางในตลาดจริงเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.78 บาท สูงขึ้นจาก 47.77 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.01 บาท หรือร้อยละ 4.21
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.28 บาท สูงขึ้นจาก 47.27 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.01 บาท หรือร้อยละ 4.25
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.78 บาท สูงขึ้นจาก 46.77 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.01 บาท หรือร้อยละ 4.30
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท สูงขึ้นจาก 46.57 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.43 บาท หรือร้อยละ 3.07
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.23 บาท สูงขึ้นจาก 45.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.42 บาท หรือร้อยละ 3.10
6. ยางแผ่นดิบคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.59 บาท สูงขึ้นจาก 46.24 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือ ร้อยละ 0.76
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.05 บาท สูงขึ้นจาก 21.05 บาท ของสัปดาห์ที่ แล้วกิโลกรัมละ 1.00 บาท หรือ ร้อยละ 4.75
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.74 บาท สูงขึ้นจาก 18.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.34 บาท หรือ ร้อยละ 7.28
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.73 บาท สูงขึ้นจาก 49.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.06 บาท หรือ ร้อยละ 0.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2552
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.37 บาท สูงขึ้นจาก 58.67 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 1.19
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.22 บาท สูงขึ้นจาก 57.52 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 1.22
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.34 บาท ลดลงจาก 44.93 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.59 บาท หรือร้อยละ 1.31
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.12 บาท สูงขึ้นจาก 58.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 1.20
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.97 บาท สูงขึ้นจาก 57.27 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 1.22
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.09 บาท ลดลงจาก 44.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.59 บาท หรือร้อยละ 1.32
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
Bernard Dompok รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและผลิตภัณฑ์สินค้ามาเลเซีย กล่าวว่ามาเลเซียพยามยามพัฒนา
ให้พื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา ดีขึ้น โดยพิจารณาถึงการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรรายย่อย โดยมองว่ามีโอกาสจะเพิ่มปริมาณผลผลิต ต่อไร่ ภายใน 1 ปี มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกรรายย่อย 1.4 ตัน/เฮกแตร์ (224 กก./ไร่) และจะพัฒนาศักยภาพการผลิต เป็น 2 เท่า ตามข้อมูลของรัฐบาลค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่ของผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็น 1.6 ตัน/เฮกแตร์ (256 กก./ไร่) แต่ใน มาเลเซียผู้ปลูกยางส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรายย่อยถึงร้อยละ 95 ขณะที่ผลผลิตต่อไร่ของมาเลเซียต่ำ แต่เมื่อ 5 ปีที่แล้วผลผลิตยางก็มีมากถึง 1.1 — 1.3 ล้านตัน จากพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1.25 ล้านเฮกแตร์ (7,812,500 ไร่)
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2552
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.78 เซนต์สหรัฐ (56.47 บาท) ลดลงจาก 165.50 เซนต์สหรัฐ (58.28 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.72 เซนต์สหรัฐหรือ ร้อยละ 3.46 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.24 เยน ( 54.11 บาท) ลดลงจาก 166.07 เยน (58.08 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 14.83 เยน หรือร้อยละ 8.93
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 — 26 เม.ย. 2552--