ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday May 7, 2009 13:49 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 มติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กนช.)

กนช. มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ดังนี้

1) รัฐเพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียวนาปรัง ปี2552 มติ กขช. ให้ปรับเพิ่มราคาข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ณ ความชื้น ไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 10,000 บาท เนื่องจากข้าวเหนียวที่ปลูกในจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นข้าวเหนียวเมล็ด ยาวคุณภาพดี ซึ่งจากเดิมตั้งเป้าหมายราคาจำนำข้าวเหนียวนาปรัง เฉพาะข้าวเหนียวชนิดคละ ในราคา ณ ความชื้น 15% ตันละ 9,000 บาท

2) วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ มติ กขช. เห็นชอบกำหนดวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” เพื่อแสดงให้ เห็นถึงความสำคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักของประชาชนทั้งประเทศ และยกย่องชาวนาซึ่งปลูกข้าวให้คนไทยได้มีอาหารกินอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดมา เหตุที่ใช้วันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เพราะเป็นวันที่รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ทรงงานด้านข้าว

1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

  • เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก
  • ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
  • ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า
10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 10%
(คละ) ราคาตันละ 9,000 บาท
  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-29 เม.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับ

จำนำ 2,254,819 ตัน คิดเป็นร้อยละ 90.19 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ        -------  ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม(ตัน)  --------
                                 ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว      รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ             8 จังหวัด     933,960      13,582           -          947,542
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  4 จังหวัด       2,943           -         209            3,152
ภาคกลาง            16 จังหวัด     916,468     387,657           -        1,304,125
รวม                28 จังหวัด   1,853,371     401,239         209        2,254,819

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

1.3 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52

  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 29 เม.ย. 52 ปริมาณข้าวเปลือกที่

รับจำนำ 5,309,361 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66.37 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ------------------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) ------------------------
                                  ข้าวเจ้า   ข้าวหอมมะลิ    ข้าวหอมจังหวัด    ข้าวปทุมธานี    ข้าวเหนียว   รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ             17 จังหวัด   1,319,671     177,530        161,930       21,034     215,275     1,895,440
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  19 จังหวัด      27,905   1,149,908              -            -     153,134     1,330,947
ภาคกลาง             21 จังหวัด   1,672,478           -          7,613      381,589          33     2,061,713
ภาคใต้                3 จังหวัด      21,261           -              -            -           -        21,261
รวม                 60 จังหวัด   3,041,315   1,327,438        169,543      402,623     368,442     5,309,361

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวยังคงทรงตัวใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกรายใหญ่ไม่ออกมารับซื้อข้าว เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อ Lot ใหญ่ๆ เข้ามา มีเพียงผู้ส่งออกรายย่อยออกมารับซื้อเท่าที่พอส่งมอบ ประกอบกับข้าวนาปรังยังคงออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ ความต้องการข้าวเปลือกของโรงสีข้าวนึ่ง ลดลงอีกทั้งเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวดทำให้ข้าวเปลือกมีความชื้นสูงราคาจึงถูกกดต่ำลง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 27 เมษายน 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2,602,447 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 3,909,911 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.44

(ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.4 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,281 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,093 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,025 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,333 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,453 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.61

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,837 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,823 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 878 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,884 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,824 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 729 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,643 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 723 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (25,528 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 115 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 542 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,065 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 552 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,490 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 425 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,075 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,348 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 273 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,542 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 580 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (20,479 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1754 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

อินโดนีเซียส่งออกข้าวหอม 10,000 ตัน ให้สิงคโปร์

ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซีย ปีนี้ มากเป็นประวัติการณ์ส่งผลให้อินโดนีเซียสามารถส่งออกข้าวได้ ซึ่งรัฐบาลได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวปีนี้จะ ออกสู่ตลาดประมาณ 63.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ ประมาณ 40 ล้านตันข้าวสาร ใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 36.2 ล้านตัน จะมีผลผลิตส่วน เกินที่สามารถส่งออกได้ 3.8 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งขณะนี้อินโดนีเซียได้ตกลงจะส่งออกข้าวหอม (Aromatic Rice)ประมาณ 10,000 ตันไปยังประเทศ สิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคม นี้

อนึ่ง ผู้อำนวยการบูล็อค(Bulog) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ประเทศฟิลิปปินส์ได้แสดงความสนใจที่จะนำเข้าข้าวคุณภาพปานกลางของ อินโดนีเซีย โดยทั้ง 2 ประเทศได้วางแผนที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ก่อนเดือนมิถุนายนนี้

นอกจากนี้ ประเทศมาเลเซีย ติมอร์ตะวันออก รวมทั้งประเทศบรูไนก็ให้ความสนใจที่จะนำเข้าข้าวอินโดนีเซีย ด้วย แต่ไม่มีการเปิดเผย ประเภทและปริมาณข้าวที่ต้องการนำเข้า นอกจากข้าวคุณภาพปานกลางแล้ว อินโดนีเซียได้ตั้งโควตาการส่งออกข้าวคุณภาพสูง(Premium-quality rice) ที่ปริมาณ 100,000 ตัน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้อนุมัติให้ส่งออกในเบื้องต้นเพียง 54,000 ตันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยถึงประเทศที่ อินโดนีเซียจะส่งออกข้าวคุณภาพสูง

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 27 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ