1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
- เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
- ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10%
- ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 6 พ.ค.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับ
จำนำ 2,628,305 ตัน คิดเป็นร้อยละ 105.13 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ---------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) --------- ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 8 จังหวัด 1,071,795 15,429 44 1,087,268 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด 13,296 - 1,157 14,453 ภาคกลาง 16 จังหวัด 1,078,950 447,634 - 1,526,584 รวม 28 จังหวัด 2,164,041 463,063 1,201 2,628,305
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
- ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 6 พ.ค. 52 ปริมาณข้าวเปลือกที่
รับจำนำ 5,317,159 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66.46 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 17 จังหวัด 1,319,671 177,530 161,930 21,034 215,275 1,895,440 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด 27,905 1,149,908 - - 153,134 1,330,947 ภาคกลาง 21 จังหวัด 1,672,478 - 7,613 381,589 33 2,061,713 ภาคใต้ 3 จังหวัด 29,059 - - - - 29,059 รวม 60 จังหวัด 3,049,113 1,327,438 169,543 402,623 368,442 5,317,159
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนในทุกตลาด เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตข้าวนาปรังยังคง ออกสู่ตลาดมาก ช่วงเก็บเกี่ยวโดนฝนข้าวความชื้นสูง ประกอบกับผู้ส่งออกรายใหญ่ยังคงรอการประมูลข้าวของรัฐบาลที่จะประมูล 3 ล้านตัน จึงไม่ออก มารับซื้อข้าวในตลาดเพื่อสต็อกไว้ส่งออก คงเหลือแต่เฉพาะการค้าเพื่อบริโภคภายในเท่านั้น ส่งผลให้ราคาอ่อนตัวตามภาวะตลาด
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 27 เมษายน 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2,602,447 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 3,909,911 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.44 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,098 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,281 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,969 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,025 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.56
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,408 บาท ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 7,333 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,924 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,837 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 874 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,554 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 878 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,884 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 330 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 725 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,345 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 729 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (25,643 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 298 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,969 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 542 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,065 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,096 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,277 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,075 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 798 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,402 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 584 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (20,542 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,140 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.9591 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ปากีสถานขยายการส่งออกข้าวในแอฟริกาใต้
รายงานข่าวจาก Rice Online เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ว่า ผู้แทนของสมาคมส่งออกข้าวของปากีสถาน (Rice Exporters Association of Pakistan :REAP) จำนวน 18 คน นำโดยนายอับดุล ราฮิม จานู ซึ่งเป็นประธาน ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นเวลา 7 วัน เพื่อหารือการส่งออกข้าวของปากีสถานกับหอการค้าของโจฮันเนสเบอร์กและผู้นำเข้าข้าวของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ผลการหารือดัง กล่าวคาดว่าจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของข้าวปากีสถานในตลาดของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นจากเดิม 30,000 ตัน เป็น 100,000 ตันภายใน 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ปากีสถานได้เตรียมส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่ง (White and Parboiled Rice) ไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
2.2 ฟิลิปปินส์เตรียมนำเข้าข้าวอีก
รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ได้ตั้งเป้าที่จะนำเข้าข้าวปีนี้ประมาณ 1.8 ล้านตันข้าวสาร โดยได้ทำสัญญาซื้อข้าวจากเวียดนาม แล้ว 1.5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งขณะนี้เวียดนามได้ทยอยนำส่งข้าวให้กับฟิลิปปินส์ การส่งมอบข้าวทั้งหมดคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้
นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องการนำเข้าข้าวอีก 350,000 ตัน เพื่อให้มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและรักษาเสถียรภาพ ของราคาข้าวภายในประเทศ โดยได้เปิดโอกาสให้เอกชนนำเข้าข้าวในปริมาณดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยชนิดของข้าวและประเทศที่ ต้องการนำเข้าข้าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม - 10 พฤษภาคม 2552--