1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
- เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 4 ล้านตันข้าวเปลือก
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
- ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า
- ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 27 พ.ค.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับ
จำนำ 3,592,583 ตัน คิดเป็นร้อยละ 89.82 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ----------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) -------------- ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 13 จังหวัด 1,453,413 21,319 8,734 1,483,466 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด 115,268 - 6,515 121,783 ภาคกลาง 19 จังหวัด 1,439,070 548,264 - 1,987,334 รวม 41 จังหวัด 3,007,751 569,583 15,249 3,592,583
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
- ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 27 พ.ค. 52 ปริมาณข้าวเปลือก
ที่รับจำนำ 5,347,129 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66.84 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ -------------------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) ------------------------ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 17 จังหวัด 1,319,671 177,530 161,930 21,034 215,275 1,895,440 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด 27,905 1,149,908 - - 153,134 1,330,947 ภาคกลาง 21 จังหวัด 1,672,478 - 7,613 381,589 33 2,061,713 ภาคใต้ 3 จังหวัด 59,029 - - - - 59,029 รวม 60 จังหวัด 3,079,083 1,327,438 169,543 402,623 368,442 5,347,129
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกมีความต้องการข้าว เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าต่างประเทศ ในขณะที่ข้าวในท้องตลาดมีไม่เพียงพอ ประกอบกับข้าวสารจากการประมูลในโกดังกลางของรัฐยังไม่สามารถระบาย ออกมาได้ ทำให้ผู้ส่งออกจึงต้องเสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม— 22 พฤษภาคม 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3,300,207 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 4,683,835 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.54 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,126 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,167 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,992 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,025 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.32
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,326 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,309 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.23
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,898 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,937 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,550 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 894 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,873 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 891 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,512 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 361 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 773 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,695 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 755 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (25,855 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 840 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 541 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,683 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 524 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,944 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 739 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,575 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,171 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 404 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,099 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 575 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (19,691 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 408 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5431 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 เวียดนามสร้างอาคารสำรองข้าวเพิ่มขึ้น
ทางการเวียดนามเปิดเผยว่า ขณะนี้เวียดนามกำลังสร้างอาคารสำหรับสำรองข้าว 1 แห่งในจังหวัดดองธาป (Dong Thap) ซึ่งอยู่ทาง ตอนใต้ของเวียดนามภายใต้คำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยอาคารจะสามารถสำรองข้าวได้ถึง 45,000 ตัน นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มีการวางแผนที่ จะสร้างอาคารสำรองข้าวอีก 2 แห่งในจังหวัดอังเกียงและเกียนเกียง (An Giang และ Kien Giang) ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนใต้เช่นกัน หาก อาคารสำรองข้าวทุกแห่งแล้วเสร็จจะทำให้เวียดนามสามารถสำรองข้าวทั้งประเทศได้สูงสุดถึง 500,000 ตัน
2.2 มาเลเซียเตรียมนำเข้าข้าว
กระทรวงเกษตรของประเทศมาเลเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลมาเลเซียกำลังวางแผนที่จะนำเข้าข้าวร้อยละ 15 เนื่องจากต้องการ บรรเทาการขาดแคลนข้าวขาวของตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวไม่ได้ระบุปริมาณและประเทศที่มาเลเซียจะนำเข้าข้าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 - 31 พฤษภาคม 2552--