ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday June 16, 2009 14:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

  • เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 6 ล้านตันข้าวเปลือก
  • ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
  • ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า
10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10%
(คละ) ตันละ 9,000 บาท และจากมติ กขช. เมื่อวันที่ 29 เมย. 52 เพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ราคาตันละ
10,000 บาท (ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดีส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เป็นต้น)
  • ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 11 มิ.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่

รับจำนำ 3,903,460 ตัน คิดเป็นร้อยละ 65.06 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

     จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ                       ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)
                                             ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว    รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ                  14 จังหวัด          1,562,963     23,259     15,625      1,601,847
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ       10 จังหวัด            150,425          -      7,846        158,271
ภาคกลาง                  20 จังหวัด          1,579,257    564,085          -      2,143,342
 รวม                     44 จังหวัด          3,292,645    587,344     23,471      3,903,460

          1.2          โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี  ปี 2551/52
  • เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 8 ล้านตันข้าวเปลือก
          - ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี  ปี 2551/52    ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 11 มิ.ย. 52    ปริมาณข้าว
เปลือกที่รับจำนำ 5,358,032  ตัน  คิดเป็นร้อยละ 66.98 ของเป้าหมายที่รับจำนำ  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

     จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ                              ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)

ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด

ภาคเหนือ                  17 จังหวัด      1,319,671      177,530    161,930     21,034    215,275    1,895,440
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ       19 จังหวัด         27,905    1,149,908          -          -    153,134    1,330,947
ภาคกลาง                  21 จังหวัด      1,672,478            -      7,613    381,589         33    2,061,713
ภาคใต้                      3 จังหวัด        69,932            -          -          -          -       69,932
 รวม                     60 จังหวัด      3,089,986    1,327,438    169,543    402,623    368,442    5,358,032

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวะการซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้

ราคาข้าวเปลือกนาปรังในประเทศยังคงลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2552 จะขยาย เพิ่มปริมาณแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของผู้ส่งออกมีน้อยเพราะไม่มีคำสั่งซื้อ lot ใหญ่เข้ามา ประกอบกับข้าวที่ผู้ส่งออกประมูลจาก รัฐบาลนั้นยังไม่สามารถระบายออกมาได้ทำให้ผู้ส่งออกไม่มั่นใจในการจะเคาะราคาขายในตลาดซึ่งทำให้เสียโอกาส แม้ราคาข้าวในตลาดส่งออกจะ กระเตื้องแล้วก็ตาม ยกเว้นข้าวเปลือกหอมมะลินาปีปี 2551/52 ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากปริมาณข้าวเปลือกออกสู่ตลาดน้อยเพราะ ข้าวเปลือกส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีของภาครัฐและพ่อค้าโรงสี

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม— 31พฤษภาคม 2552 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3,558,450 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 5,031,235 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.27 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,072 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,898 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,023 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,964 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.60

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,207 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,244 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 0.51

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,858 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,883 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 27,050 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,370 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,470 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.46

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 902 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,623 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่า กับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 795 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,990 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 779 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (26,426 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 564 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,842 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 546 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,522 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 320 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,583 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,435 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 148 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,676 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,252 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 424 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9502 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2552/53 ประจำเดือนมิถุนายน 2552 ว่าจะมี 448.51 ล้านตันข้าวสาร (669.10 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 443.90 ล้านตันข้าวสาร (661.80 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2551/52 ร้อยละ 1.04 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น พม่า กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สหรัฐอเมริกา

2.2 การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2552/53 ณ เดือนมิถุนายน 2552 ว่าผลผลิต ปี 2552/53 จะมี 448.51 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.04 การใช้ในประเทศจะมี 443.43 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมา ร้อยละ 2.03 การส่งออก/นำเข้าจะมี 29.62 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.26 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 94.99 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.65

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา อียิปต์และอินเดีย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ปากีสถาน เวียดนาม และอียู

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก อิรัก จีน มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ อียู และสหรัฐ อเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ คิวบา และฟิลิปปินส์

2.3 รัฐบาลเวียดนามกระตุ้นผู้ส่งออกข้าวให้ส่งออกข้าวเพิ่ม

รองนายกรัฐมนตรีนาย Hoang Trung Hai ได้กระตุ้นผู้ส่งออกให้เร่งทำสัญญาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกที่รัฐบาล ตั้งไว้ที่ 5 ล้านตัน พร้อมทั้งได้เน้นย้ำว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการส่งออกข้าว โดยรองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ประกาศหลังจากตัวแทนชาวนา จากลุ่มแม่น้ำโขง(Cuu Long or Mekong Delta) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญที่สุดของประเทศเข้าพบและเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มปริมาณโควตา การส่งออกข้าวของเอกชนและรับซื้อข้าวเพิ่มเติมเพื่อการสำรองข้าวของประเทศ ในการนี้รองนายกรัฐมนตรีได้หารือกับกระทรวงเกษตรและพัฒนา ชนบทและกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเกี่ยวกับการรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับชาวนา เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าว เปลือกภายในประเทศอยู่ที่ 2,263 — 2,850 เวียดนามด่องต่อกิโลกรัม หรือ 0.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม หรือ 4.07 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมี ราคาลดลงจากเดือนเมษายน 500 เวียดนามด่องต่อกิโลกรัม หรือ 1.02 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ชาวนาในแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้ทำการเก็บ เกี่ยวข้าวของฤดูกาลเพาะปลูกฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิเสร็จเรียบร้อยแล้วและได้มีการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อทำการเพาะปลูกข้าวฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ ร่วง โดยปีนี้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวเปลือกจะอยู่ที่ 20.7 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณ 10.4 ล้านตันข้าว เปลือก หรือ ประมาณ 5.2 ล้านตันข้าวสารจะเป็นข้าวที่เวียดนามสามารถส่งออกได้ อนึ่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2552 ผู้ส่งออกข้าวของ เวียดนามได้ทำสัญญาขายข้าวกับประเทศต่าง ๆ แล้วมากกว่า 4.1 ล้านตัน ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจกับรัฐบาลว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 3.6 ล้านตันตามแผนที่วางไว้และการส่งออกข้าวปีนี้ของเวียดนามมีแนวโน้มที่จะมากกว่า 5 ล้านตันซึ่งสูงกว่า เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้

2.4 ฟิลิปปินส์ทดลองปลูกข้าวพันธุ์ใหม่

สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Reserve Institute : IRRI) ได้วิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ให้กับชาวนา ฟิลิปปินส์ อันได้แก่ พันธุ์ข้าวที่ทนต่อน้ำท่วม พันธุ์ข้าวที่ทนต่อความเค็มและพันธุ์ข้าวที่ทนต่อความแห้งแล้ง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 400,000 เฮกแตร์ หรือ ประมาณ 2.5 ล้านไร่จะได้รับผลกระทบจากน้ำเค็มและในทุก ๆ ปี พื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 370,000 เฮกแตร์ หรือ ประมาณ 2.313 ล้านไร่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้นาข้าวเสียหายมากทุกปี นอกจากนี้ รายงานขององค์การเกษตร และอาหารของสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization of The United Nations : UN — FAO) ได้ระบุถึง อัตรา การบริโภคข้าวของประชากรฟิลิปปินส์เฉลี่ยแล้วมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้นของฟิลิปปินส์ทำให้ความต้องการบริโภคข้าวสูงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ฟิลิปปินส์ต้องนำเข้าข้าวมากขึ้นกว่าเดิม โดยสถาบันวิจัยข้าวนานา ชาติได้มอบข้าวพันธุ์ใหม่ทั้ง 3 พันธุ์นี้ให้กับสถาบันวิจัยข้าวของฟิลิปปินส์ (Philippine Rice Research Institute : PhilRice) ซึ่งได้มีการ นำไปแจกจ่ายให้กับชาวนาบางส่วนเพื่อทดลองปลูก โดยสถาบันวิจัยข้าวทั้ง 2 สถาบันคาดหวังว่า พันธุ์ข้าวใหม่ทั้งสามพันธุ์นี้จะช่วยให้ชาวนาสามารถ ปลูกข้าวได้ในสภาวะต่าง ๆ ดังนั้น ผลผลิตข้าวของประเทศฟิลิปปินส์ก็จะเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้ประเทศฟิลิปปินส์สามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าว ได้

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 มิถุนายน 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ